18 กันยายน 2567
เศรษฐกิจไทย
... อ่านต่อ
FileSize KB
26 เมษายน 2566
30 มีนาคม 2566
บรรยากาศเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวกระทบภาพรวมการส่งออกไทยปี 2566 มีแนวโน้มหดตัวเพิ่มขึ้นที่ -1.2% ... อ่านต่อ
19 สิงหาคม 2562
ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2562 ชะลอตัวลงต่ำสุดในรอบ 5 ปี อยู่ที่ร้อยละ 2.3 (ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี) ส่งผลให้ครึ่งปีแรก GDP ไทยขยายตัวร้อยละ 2.6 จากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ค่าเงินบาทที่แข็งค่า ส่งผลต่อการส่งออกและท่องเที่ยวให้ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่การใช้จ่ายครัวเรือนยังสามารถเป็นแรงหนุนต่อเศรษฐกิจได้แม้ว่าจะชะลอตัวลงบ้างก็ตาม... อ่านต่อ
15 พฤศจิกายน 2561
นับตั้งแต่ที่ภาครัฐประกาศแผนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ระยะเร่งด่วน (Action Plan) ในปี 2559-2561 รวมถึงการเร่งรัดผลักดันโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งครอบคลุมจำนวนโครงการเป็นจำนวนมาก และมีเงินลงทุนรวมเป็นหลักหลายล้านล้านบาท ปัจจุบันหลายโครงการมีความคืบหน้า ทั้งโครงการที่สร้างเสร็จแล้ว และบางโครงการอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง ขณะที่ในปี 2562 โครงการที่ได้รับการอนุมัติแล้ว อาทิ โครงการที่เกี่ยวเนื่องกับพื้นที่ EEC โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มและสายสีม่วง รวมถึงรถไฟทางคู่สายใหม่เส้น เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ที่คาดว่าจะสามารถก่อสร้างได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2562 ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขของการเลือกตั้ง และการดำเนินงานของรัฐบาลชุดใหม่ไม่กระทบต่อความคืบหน้าของการดำเนินโครงการต่างๆ อย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงขั้นตอนการหาผู้ชนะการประกวดราคาของโครงการที่ได้รับการอนุมัติแล้วเป็นไปตามกำหนดที่วางไว้ คาดว่าจะเห็นความคืบหน้าของโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ (Mega Projects) เป็นจำนวนมาก โดยหากพิจารณาความเป็นไปได้ของเม็ดเงินเบิกจ่ายที่จะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจจากโครงการที่กำลังก่อสร้างและโครงการใหม่ที่คาดว่าจะเริ่มก่อสร้าง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในปี 2562 การเบิกจ่ายเงินของภาครัฐจาก Mega Projects สำคัญ อาจมีความเป็นไปได้ที่จะสูงกว่าปี 2561 โดยการเร่งตัวของการเบิกจ่ายน่าจะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2562 หรือหลังผ่านการเลือกตั้งในช่วงครึ่งปีแรกแล้ว ... อ่านต่อ
1 มิถุนายน 2561
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพ.ค. 2561 เร่งตัวขึ้นมาอยู่ที่ 1.49% จากราคาพลังงานในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดิบโลก ซึ่งหากในช่วงที่เหลือของปี 2561 ราคาน้ำมันดิบโลกยังประคองตัวเคลื่อนไหวอยู่ในระดับ 70-80 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรล และค่าเงินบาทเคลื่อนไหวใกล้เคียงกับระดับปัจจุบัน ก็ยังจะเป็นปัจจัยส่งผลต่อราคาพลังงานในประเทศให้เพิ่มขึ้น แต่ด้วยฐานที่สูงในช่วงไตรมาสที่ 4/2560 ก็น่าจะทำให้เงินเฟ้อทั่วไปในช่วงที่เหลือของปี 2561 ขยายตัวเป็นบวกในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนพ.ค. ... อ่านต่อ
4 พฤษภาคม 2561
ท่ามกลางภาพรวมของตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยที่เติบโตดี แต่มีตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติจากภูมิภาคตะวันออกกลางที่จำนวนนักท่องเที่ยวหลายประเทศเดินทางมาเที่ยวไทยหดตัวลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ขณะที่ทิศทางตลาดนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคตะวันออกกลางเที่ยวไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ตลาดนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคตะวันออกกลางเที่ยวไทยอาจจะยังติดลบ แม้คาดว่าราคาน้ำมันที่ปรับขึ้นน่าจะเป็นแรงขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจมีการเติบโต แต่ยังมีปัจจัยเฉพาะที่ต้องติดตามอย่างความต่อเนื่องของการฟื้นตัวของราคาน้ำมัน ผลกระทบจากการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่ม GCC สถานการณ์ค่าเงินเรียล (Rial) ของอิหร่านที่อ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เป็นต้น ... อ่านต่อ
29 มีนาคม 2561
ดร.เชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ พร้อมคณะผู้บริหาร บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด แถลงประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยปี 2561 อยู่ที่ 4.0% แรงหนุนจากการส่งออก ท่องเที่ยว และการลงทุนทั้งรัฐและเอกชน ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงทางด้านการค้าโลก ในขณะที่การส่งออกยังคงขยายตัวได้เป็นบวกจากแรงหนุนของเศรษฐกิจโลกที่เติบโตต่อเนื่อง ณ ธนาคารกสิกรไทย อาคารพหลโยธิน เมื่อเร็วๆ นี้... อ่านต่อ
12 มีนาคม 2561
จากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจของครัวเรือนในเดือนก.พ. 2561 พบว่า ครัวเรือนไทยในเขตกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดยังมีมุมมองต่อภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพในช่วง 3 เดือนข้างหน้าไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดือนก่อน สะท้อนจากดัชนีภาวะเศรษฐกิจของครัวเรือนอีก 3 เดือนข้างหน้า (3-month Expected KR-ECI) ที่ยังทรงตัวอยู่ที่ระดับ 47.1 ในเดือนก.พ. 2561 โดยครัวเรือนยังมีมุมมองที่เป็นบวกต่อประเด็นเรื่องรายได้และการจ้างงานตามการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในเดือนเม.ย. 2561 ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรสำคัญบางรายการเริ่มปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น เช่น ข้าวหอมมะลิ มันสำปะหลัง อย่างไรก็ตาม ครัวเรือนกลับมีความกังวลต่อประเด็นเรื่องภาระหนี้สินมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากสภาวะการเป็นหนี้ในปัจจุบันของครัวเรือน ... อ่านต่อ
9 กุมภาพันธ์ 2561
ครัวเรือนไทยมีมุมมองต่อภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพเป็นบวกมากขึ้นในเดือนม.ค. 2561 จากภาวะการมีงานทำและรายได้ที่ปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับแรงกดดันทางด้านค่าใช้จ่าย (ไม่รวมภาระหนี้) ลดลงมากจากเดือนก่อนหน้า เมื่อมองไปในระยะ 3 เดือนข้างหน้า ครัวเรือนคาดการณ์ว่าจะมีภาระค่าใช้จ่าย (ไม่รวมหนี้สิน) เพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ อีกทั้งคาดการณ์ว่าระดับราคาสินค้าและบริการอาจจะปรับตัวสูงขึ้นในอนาคต ส่งผลให้ดัชนีภาวะเศรษฐกิจของครัวเรือนอีก 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลง... อ่านต่อ
10 พฤศจิกายน 2560
เมื่อมองไปในช่วงต้นปี 2561 ครัวเรือนไทยมีมุมมองต่อภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของตนเองไปในทิศทางที่เป็นบวกมากขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าตามการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจไทยที่ทยอยส่งผ่านผลบวกไปยังกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศทั้งในภาคการผลิต การค้าและการบริการ ซึ่งคาดว่าจะช่วยหนุนให้มีการจ้างงานในประเทศเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ครัวเรือนส่วนใหญ่มองว่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งเนื่องจากเป็นช่วงการปรับขึ้นเงินเดือนประจำปีและการจ่ายค่าตอบแทนพิเศษ (เงินโบนัส) ขององค์กรส่วนใหญ่ นอกจากนี้ ครัวเรือนเกษตรคาดหวังว่าเมื่อผ่านพ้นสถานการณ์น้ำท่วมไปแล้ว ปริมาณผลผลิตเกษตรน่าจะเพิ่มขึ้น ช่วยหนุนรายได้ครัวเรือนเกษตรให้ปรับตัวดีขึ้นได้ในส่วนหนึ่ง ... อ่านต่อ
9 ธันวาคม 2559
12 กุมภาพันธ์ 2559
11 ธันวาคม 2558
14 สิงหาคม 2558
13 กรกฎาคม 2558
9 มิถุนายน 2558
8 พฤษภาคม 2558
7 เมษายน 2558
6 มีนาคม 2558
6 กุมภาพันธ์ 2558
14 พฤศจิกายน 2557
10 ตุลาคม 2557
5 กันยายน 2557
5 สิงหาคม 2557
4 มิถุนายน 2557
2 พฤษภาคม 2557
27 มีนาคม 2557
4 มีนาคม 2557
31 สิงหาคม 2555
2 กุมภาพันธ์ 2552