6 พฤศจิกายน 2567
เศรษฐกิจต่างประเทศ
... อ่านต่อ
FileSize KB
12 กุมภาพันธ์ 2563
การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ฉุดรั้งเศรษฐกิจจีนให้เติบโตชะลอลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศในอาเซียนที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับจีน โดยผ่านทาง 3 ช่องทางหลัก ได้แก่ ช่องทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า หากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ยืดเยื้อยาวนานเกิน 3 เดือน (แต่ไม่เกิน 6 เดือน) เศรษฐกิจจีนอาจเติบโตต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ราวร้อยละ 1.0 และอาจลงไปแตะที่ระดับประมาณร้อยละ 4.7 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอาเซียนคิดเป็นมูลค่าประมาณ 2.4-3.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 0.07-0.11 ของ GDP อาเซียนทั้งหมด โดยในส่วนของประเทศไทย ผลกระทบอาจอยู่ในระดับปานกลาง โดยมูลค่าความเสียหายอาจจะอยู่ในระดับ 500-700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 0.09-0.13 ของ GDP ทั้งปีของไทย... อ่านต่อ
6 มกราคม 2563
สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่านได้ยกระดับสูงขึ้น หลังการลอบสังหารนายพลกัสเซ็ม โซไลมานี ของอิหร่านในวันที่ 3 ม.ค. 2563 โดยสถานการณ์ความขัดแย้งดังกล่าวยังเป็นประเด็นที่ต้องติดตามและมีทีท่าว่าจะไม่ยุติลงง่ายๆ ซึ่งผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจไทย ยังขึ้นอยู่กับระดับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น และระยะเวลาที่ราคาน้ำมันทรงตัวในระดับสูง โดยการประเมินในเบื้องต้น หากราคาน้ำมันดิบดูไบยืนที่ระดับ 80 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรล เป็นเวลา 6 เดือน คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อในประเทศเพิ่มขึ้นอีก 0.75% จากกรณีฐาน กล่าวคือ เงินเฟ้อทั่วไปจะขยับขึ้นมาเป็น 1.15%-1.65% ในขณะที่จะมีผลต่อ GDP ราว -0.08% ... อ่านต่อ
16 กันยายน 2562
เมื่อวันเสาร์ที่ 14 ก.ย. 2562 ที่ผ่านมา โรงกลั่นน้ำมันขนาดใหญ่ 2 แห่งของซาอุดีอาระเบียถูกโจมตีทางอากาศ (จากโดรน) ส่งผลกระทบให้ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ที่ซื้อขายในตลาดล่วงหน้าพุ่งสูงขึ้นเกือบร้อยละ 12 เนื่องจากนักลงทุนทั่วโลกหวั่นวิตกต่อปัญหาการขาดแคลนอุปทานน้ำมันดิบ นั่นเป็นเพราะซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบรายใหญ่อันดับ 1 ของโลก และความเสียหายที่เกิดขึ้นส่งผลให้ซาอุดีอาระเบียสูญเสียกำลังการผลิตน้ำมันดิบไป 5.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือคิดเป็นร้อยละ 58.2 ของกำลังการผลิตน้ำมันดิบทั้งหมดของซาอุดีอาระเบีย และคิดเป็นร้อยละ 5.7 ของกำลังการผลิตน้ำมันดิบทั่วโลก... อ่านต่อ
15 สิงหาคม 2561
ในปี 2561 เป็นปีที่เศรษฐกิจตุรกีอาจจะเผชิญกับแรงกดดันที่มาจากรอบด้าน ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจที่เข้ามารุมเร้า ทั้ง การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด ที่เร่งการไหลออกของเงินทุนตลอดจน กดดันให้ต้นทุนการกู้ยืมปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว การปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและการอ่อนค่าลงของเงิน Lira ที่ส่งผลให้แรงกดดันเงินเฟ้อทะยานขึ้น ทั้งนี้ คงต้องยอมรับว่าปัจจัยที่กระตุ้นให้ค่าเงิน Lira เผชิญกับวิกฤติรอบใหม่ นั้นมาจากปัจจัยการเมืองระหว่างตุรกีกับสหรัฐฯที่ตึงเครียดขึ้นอย่างมาก ทำให้มีความเสี่ยงที่สหรัฐฯ อาจจะดำเนินมาตรการกีดดันการค้าที่เข้มงวดขึ้นกับตุรกี ส่งผลให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจตุรกี ... อ่านต่อ
23 มีนาคม 2561
สหรัฐฯ เดินเกมกดดันการค้าเฉพาะเจาะจงกับจีนเป็นมูลค่าสูงสุดตั้งแต่เปิดเกมกดดันการค้า ซึ่งในช่วง 45 วันจากนี้ เป็นเวลาสำคัญที่ทั้งสองประเทศจะเจรจาเพื่อหาแนวทางร่วมกัน โดยรายการสินค้าที่สหรัฐฯ จะประกาศออกมาจะเป็นเงื่อนไขสำคัญที่สะท้อนแรงกดดันของสหรัฐฯ ที่มีต่อจีนว่าจะสามารถลดแรงกดดันการเกิดสงครามการค้าโลกได้แค่ไหน โดยสำหรับผลต่อไทย เบื้องต้นศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า จะกระทบต่อสินค้าส่งออกของไทยไปจีนในสินค้าขั้นกลางประเภทแผงวงจรไฟฟ้า อุปกรณ์โทรศัพท์ ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ และฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ ซึ่งอยู่ในห่วงโซ่การผลิตของจีน ซึ่งยังต้องจับการเจรจาระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ที่น่าจะนำมาสู่ข้อยุติที่ไม่ก่อให้เกิดสงครามการค้าในรอบต่อๆไป โดยอาจเป็นไปได้ว่ามาตรการนี้จะส่งผลแบบเลือกกีดกันเฉพาะบางกลุ่มสินค้าของจีน อาทิ สมาร์ทโฟน เสื้อผ้า และของเล่น จะไม่กระทบต่อการส่งออกของไทยมากนัก แต่ถ้าหากเป็นการกีดกันครอบคลุมถึงสินค้าอื่นๆ อาทิ แทบเล็ต คอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และยานยนต์ ก็อาจกระทบห่วงโซ่การผลิตของไทย อย่างไรก็ดี ธุรกิจไทยต้องเตรียมแผนงานรับมือกับผลกระทบที่เกิดขึ้น รวมทั้งติดตามรายงานนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศคู่ค้าสำคัญของสหรัฐฯ ที่จะเปิดเผยในเดือนเมษายนนี้ ซึ่งอาจส่งผลทางอ้อมให้ค่าเงินบาทแข็งค่าและผันผวนมากขึ้น อันจะเกิดผลกระทบต่อส่วนต่างกำไรของผู้ส่งออกที่คงจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงตามภาวะตลาดอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความผันผวนสูง ... อ่านต่อ
27 กันยายน 2555