Display mode (Doesn't show in master page preview)

23 พฤษภาคม 2562

Econ Digest

ในอีก 5 ปีข้างหน้า ความต้องการเซ็นเซอร์รถยนต์ไฟฟ้าจะสูงแตะ 30 ล้านชิ้น

คะแนนเฉลี่ย

แม้ว่า ความต้องการเซ็นเซอร์สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ของไทยมีแนวโน้มเติบโตชะลอลงจากปี 2561 เนื่องจากปริมาณการผลิตรถยนต์ที่คาดว่าจะเติบโตไม่สูงนัก แต่ความต้องการเซ็นเซอร์รถยนต์ในปีนี้จะยังคงได้รับแรงหนุนจากการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ที่เน้นด้านระบบความปลอดภัย และการเปิดตัวรถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้าของหลายค่ายรถซึ่งมีการใช้เซ็นเซอร์เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ในปี 2562 อุตสาหกรรมรถยนต์ไทยจะมีความต้องการใช้เซ็นเซอร์ประมาณ 134.9 ล้านชิ้น เติบโตราว 4.3% ชะลอลงจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัว 13.9%

อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ปี 2562 จะเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนทิศทางความต้องการเซ็นเซอร์ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ของไทยให้มุ่งสู่เซ็นเซอร์ที่ใช้ในรถยนต์พลังงานไฟฟ้ามากขึ้นเนื่องจากค่ายรถแต่ละค่ายในไทยจะเร่งลงทุนและเปิดตัวรถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้า โดยเฉพาะการผลิตรถยนต์ไฮบริด (HEV) และรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) ขณะที่การลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV) อาจต้องใช้ระยะเวลาอีกซักพัก เมื่อโครงข่ายสถานีชาร์จไฟฟ้ามีความพร้อมมากขึ้น แต่ไม่นานไปกว่าปี 2564 ตามเงื่อนไขที่บีโอไอกำหนดให้ต้องมีการผลิตรถยนต์ขึ้นจริงในภายใน 3 ปี หลังจากได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่าในระยะ 5 ปีนับจากนี้ (ปี 2562–2566) แนวโน้มความต้องการเซ็นเซอร์ในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจะสูงขึ้นเฉลี่ย 58% ต่อปี ตามปริมาณการผลิตรถยนต์ HEV/PHEV ที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ในปี 2566 คาดว่าจะมีความต้องการเซ็นเซอร์ในการผลิตรถยนต์ HEV พุ่งขึ้นแตะ 23 ล้านชิ้น รองลงมาเป็นรถยนต์ PHEV ที่ 6 ล้านชิ้น ขณะที่ความต้องการเซ็นเซอร์สำหรับรถยนต์ BEV จะมีเพียง 0.9 ล้านชิ้น


#รถยนต์ ##รถยนต์ไฟฟ้า #เซ็นเซอร์รถ

Scan QR Code


QR Code

หมายเหตุ

รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น

Econ Digest