Display mode (Doesn't show in master page preview)

8 กรกฎาคม 2562

Econ Digest

ญี่ปุ่น VS เกาหลี ปะทะ...การค้าครั้งใหม่ ค่ายมือถือกระเทือน ?

คะแนนเฉลี่ย

​​        รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศมาตรการควบคุมการส่งออกเคมีภัณฑ์ที่ใช้ในการผลิตหน้าจอและชิปไฮเทคของสมาร์ทโฟนไปยังเกาหลีใต้ ซึ่งมีผลบังคับใช้วันที่ 4 กรกฎาคม 2562 เพื่อตอบโต้กรณีที่ศาลเกาหลีใต้สั่งให้บริษัทญี่ปุ่นจ่ายเงินชดเชยเหยื่อที่ถูกบังคับใช้แรงงานในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมาตรการดังกล่าวจะทำให้ผู้ส่งออกในญี่ปุ่นจะต้องยื่นขออนุญาตทุกครั้งก่อนจะส่งออกสินค้าแต่ละล็อตไปยังเกาหลีใต้ โดยจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 90 วัน

                ในเบื้องต้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในระยะสั้น มาตรการควบคุมดังกล่าวจะทำให้การผลิตชิ้นส่วนไฮเทคของสมาร์ทโฟนในเกาหลีใต้ชะงักชั่วคราว เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ที่ถูกควบคุมดังกล่าวมากกว่าร้อยละ 70 ของการผลิตในโลก ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่ผู้ผลิตชิ้นส่วนในเกาหลีใต้จะแสวงหาวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์ในประเทศอื่นในระยะสั้น ส่งผลให้ประเทศที่อยู่ในห่วงโซ่การประกอบสมาร์ทโฟนที่ใช้ชิ้นส่วนไฮเทคจากเกาหลีใต้จะได้รับผลกระทบ เช่น เวียดนามซึ่งเป็นฐานการประกอบสมาร์ทโฟนของค่ายเกาหลีใต้ และจีนซึ่งเป็นฐานการประกอบสมาร์ทโฟนของค่ายอเมริกาซึ่งใช้ชิ้นส่วนหน้าจอที่ผลิตในเกาหลีใต้ เป็นต้น สำหรับประเทศไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า กรณีดังกล่าวน่าจะส่งผลกระทบต่อไทยในวงจำกัด เนื่องจากในปัจจุบันมีเพียงค่ายญี่ปุ่นที่มีฐานการผลิตสมาร์ทโฟนในไทย ซึ่งใช้ชิ้นส่วนไฮเทคจากห่วงโซ่อุปทานญี่ปุ่นเป็นหลัก

                 สำหรับมาตรการชั่วคราวที่ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนที่ได้รับผลกระทบโดยเฉพาะค่ายเกาหลีใต้อาจจะใช้ คือ การใช้ชิ้นส่วนทดแทนจากค่ายจีนและไต้หวัน ในระหว่างที่รัฐบาลเกาหลีใต้กำลังดำเนินการเจรจากับรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งคาดว่าอาจจะไม่ยืดเยื้อนัก เนื่องจากผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ญี่ปุ่นก็ได้รับผลกระทบจากกรณีดังกล่าวเช่นกัน โดยผู้ผลิตในเกาหลีใต้มีการนำเข้าเคมีภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องราวร้อยละ 10-20 ขอ

่น

อย่างไรก็ดี ในระยะยาว ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ไฮเทคในเกาหลีใต้มีแนวโน้มที่จะหาทางลดการพึ่งพาเคมีภัณฑ์จากประเทศญี่ปุ่น โดยทำการวิจัยและพัฒนาเคมีภัณฑ์ใหม่ๆ และใช้เป็นตัวเลือกในการทดแทนเคมีภัณฑ์เดิมซึ่งมีสิทธิบัตรเป็นของค่ายญี่ปุ่น

              สำหรับกรณีที่ผู้ผลิตชิ้นส่วนไฮเทคอย่างหน้าจอสมาร์ทโฟนของเกาหลีใต้ จะทำการย้ายฐานการผลิตออกจากเกาหลีใต้ไปยังประเทศอื่นน่าจะเป็นไปได้น้อย เนื่องจากชิ้นส่วนดังกล่าวมักเป็นชิ้นส่วนเทคโนโลยีหลักของผลิตภัณฑ์ (Core Technology) ซึ่งมักต้องเก็บเป็นความลับเชิงธุรกิจ ในขณะที่การตั้งโรงงานต้องการเงินลงทุนสูงถึงระดับแสนล้านบาท ประกอบกับเทคโนโลยีของชิ้นส่วนไฮเทคก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาระดับการแข่งขัน ทำให้ต้องอาศัยเม็ดเงินลงทุนในการยกระดับเทคโนโลยีอยู่เสมอ ส่งผลให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนไฮเทคมักเลือกลงทุนสร้างโรงงานผลิตให้กระจุกตัวอยู่ในประเทศแม่ เพื่อผลิตเป็นจำนวนมากให้ได้การประหยัดเชิงขนาด


​​

Scan QR Code


QR Code

หมายเหตุ

รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น

Econ Digest