Display mode (Doesn't show in master page preview)

28 มิถุนายน 2562

Econ Digest

สะดุด? เงิน Libra ของ Fackbook

คะแนนเฉลี่ย

        Libra...ก้าวแรกของการตอบโจทย์การเข้าถึงทางการเงิน เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2562 Facebook ได้เปิดตัวคริปโทเคอร์เรนซีของตน ภายใต้ชื่อโครงการ Libra สำหรับการทำธุรกรรมโอน/ชำระเงินผ่านเครือข่ายแอปพลิแคชันของ Facebook โดยมีแผนจะเปิดให้บริการในปี 2563

       Libra คืออะไร ต่างจาก คริปโทเคอร์เรนซีอื่นเช่นไร? ทาง Facebook ระบุว่า Libra จะเป็น Stablecoin ที่ถูกออกแบบมาให้มีมูลค่าคงที่ โดยมีจุดประสงค์หลักคือ การขยายการเข้าถึงการบริการทางการเงินของกลุ่มประชากรรายได้น้อยทั่วโลก 1 ทาง Facebook มีแผนจัดตั้งกองทุนสำรอง Libra Reserve ที่จะรองรับมูลค่าของเหรียญด้วยสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำในสกุลเงินหลักเช่น ดอลลาร์ฯ 2 และ Facebook ได้จัดตั้งกิจการค้าร่วม สำหรับการบริหาร

       โครงการ Libra โดยได้มี 27 บริษัทสำคัญ เช่น Visa Mastercard และ Uber ตกลงร่วมลงทุนรายละ 10 ล้านดอลลาร์ฯ ซึ่งการมีแนวร่วมสำคัญจะทำให้ Libra ได้รับการยอมรับเหนือ Stablecoin อื่นๆ โครงการ Libra จะต้องตอบโจทย์ทางการให้ได้เสียก่อน อุปสรรคสำคัญที่สุดสำหรับการที่โครงการ Libra จะประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย คือการกำกับของรัฐบาลทั่วโลก การที่ Libra จะถูกบริหารด้วยองค์กรที่ระบุตัวได้ชัดเจน เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้ Libra มีโอกาสได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย แต่ ในขณะเดียวกันก็หมายความว่า หากทางการประสงค์จะระงับการทำธุรกรรมด้วย Libra ก็สามารถทำได้ง่าย ซึ่งหลังจากที่ได้มีประกาศเรื่อง Libra ธนาคารกลางจากประเทศสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาก็ได้ออกมาเตือนว่า การที่ทางโครงการจะเริ่มให้บริการ Libra ได้นั้น จะต้องผ่านการพิจารณาของทางการก่อน

        ก่อนที่ Libra จะได้รับความยินยอมจากทางการ ทีมบริหารคงต้องตอบคำถามเกี่ยวกับการปกป้องและตรวจสอบข้อมูลการทำธุรกรรม ที่จะต้องทั้งรักษาสิทธิส่วนบุคคล และการป้องกันการฟอกเงิน รวมถึงประเด็นเสถียรภาพของระบบ ซึ่งครอบคลุมถึงทั้งระบบเทคโนโลยี และกลไกการตั้งกองทุนสำรองเสียก่อน ยกตัวอย่าง ในกรณีที่นักลงทุนขาดความมั่นใจและต้องการจะแลก Libra กลับเป็นสกุลต่างๆพร้อมกัน ระบบจะสามารถรองรับได้หรือไม่ ทีมจะมีการดูแลสภาพคล่องและมีกลไกที่จะสามารถรักษาราคา Libra ไว้ในกรอบอย่างไร เพื่อให้กลุ่มคนที่ใช้ที่ Libra เป็นสกุลหลักในการค้าขายไม่ประสบปัญหา ทั้งนี้ด้วยระบบนิเวศขนาดใหญ่ยักษ์ของ Facebook ซึ่งมีผู้ใช้อยู่ 2.5 พันล้านคน 7 โครงการดังกล่าวถือได้ว่ามีความสำคัญเชิงระบบ และสมควรกับที่ได้รับการกำกับดูแลและตรวจสอบจากทางการ แม้ว่าทางการในบางประเทศจะยินยอมให้ Libra เปิดให้บริการ ด้วยเป้าหมายที่ทีมงานระบุไว้ว่า ต้องการให้ Libra ขยายการเข้าถึงการบริการทางการเงินทั่วโลก 8 ดั้งนั้น หากประเทศที่มีประเด็นการเข้าถึงบริการเหล่านั้นไม่ได้ยอมรับให้ Libra เป็น Legal Tender หรือเงินตราที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย Libra ก็จะไม่อาจบรรลุถึงเป้าหมายได้อย่างแท้จริง

       สำหรับประเทศไทย กฎเกณฑ์สำคัญที่เกี่ยวข้องก็คือ พ.ร.บ. สินทรัพย์ดิจิทัล รวมถึงกฎเกณฑ์ข้อยกเว้นในการกำหนดลักษณะการให้บริการสินทรัพย์ดิจิทัลต่างๆ และหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจบริหารโอนเงินด้วยวิธีการอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้ พ.ร.บ. ระบบชำระเงินของธปท. เนื่องจากการที่โครงการ Libra จะเปิดให้บริการทำธุรกรรมได้ จะต้องมีช่องทางการแลกเปลี่ยน Libra เป็นสกุลบาท และการโอนเงินก็ต้องอยู่ในกรอบกฎหมายธุรกรรมการเงินอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป โดยทางทีม Libra จะต้องคำนึงถึงประเด็นทางปฏิบัติสำคัญหลายประเด็น ยกตัวอย่าง เช่น แม้ พ.ร.บ. สินทรัพย์ดิจิทัลจะยกเว้นให้ผู้ออกเหรียญไม่ถูกจัดเป็นนายหน้าหรือผู้ค้าสินทรัพย์ ดิจิทัล หากเหรียญนั้นมีมูลค่าคงที่กับเงินบาทและมีกลไกชัดเจนในการคงมูลค่า 9 กรณีของ Libra ก็ยังไม่ได้ชัดเจนว่าจะเข้าข่ายดังกล่าวหรือไม่ เนื่องจากตัวรองรับ Libra จะไม่ได้เป็นสกุลเงินหนึ่งใด แต่เป็นหลายสกุลและหลักทรัพย์อื่นๆอีกด้วย

        ซึ่งหาก Libra เข้าข่ายได้รับการยกเว้นให้เป็นเพียงศูนย์แลกเปลี่ยนฯ ขั้นตอนการได้รับอนุญาตจำหน่าย Libra และเริ่มให้บริการ อาจทำได้ง่ายและรวดเร็วกว่ากรณีที่ทางการไทยตัดสินว่า โมเดลธุรกิจของ Libra เป็นการจำหน่ายสินทรัพย์ดิจิทัลเทียบเท่ากับการออก ICO ซึ่งมีขั้นตอนขอใบอนุญาตที่ยุ่งยากกว่า ทั้งหมดทำให้เห็นได้ว่า การเปิดตัวของ Libra ในวันนี้ ยังเป็นเพียงก้าวแรกที่ยังต้องมีการพิจารณาและพูดคุยระหว่างทางทีมบริหารและท างการและผู้กำกับทั่วโลกตามมาไม่น้อย สมควรที่ผู้อ่านจะจับตามองเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด

ที่มา: BBC; CNBC; Financial Times; Forbes; Investopedia; SEC Facebook


Scan QR Code


QR Code

หมายเหตุ

รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น

Econ Digest