Display mode (Doesn't show in master page preview)

14 ธันวาคม 2563

Econ Digest

ตลาดที่อยู่อาศัยปี 64 ผ่านพ้นจุดต่ำสุด แต่ยังมีความท้าทาย

คะแนนเฉลี่ย
​ในช่วงท้ายของปี 2563 ตลาดที่อยู่อาศัยเริ่มมีข่าวดีหลังที่จากการพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิดมีความคืบหน้ามากขึ้น และตัวเลขเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ออกมาดีกว่าคาด ซึ่งส่งผลด้านบวกต่อตลาดที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ดีการระบาดของโควิดทำให้จำนวนหน่วยเปิดตัวและยอดโอนที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลตลอดทั้งปี 2563 หดตัวลงอย่างมีนัยสำคัญ

สำหรับปี 2564 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าตลาดที่อยู่อาศัยจะปรับตัวในทิศทางที่ค่อยเป็นค่อยไป โดยน่าจะผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว แต่แนวโน้มข้างหน้ายังคงเผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ อาทิ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ กำลังซื้อ และสถานการณ์โควิด-19 ทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ แรงกดดันจากจำนวนที่อยู่อาศัยสะสมรอขายที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยประเภททาวน์เฮ้าส์ที่มีจำนวนสะสมเร่งตัวสูงขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการยังระมัดระวังในการเปิดโครงการเพิ่มเติม ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ปี 2564 การเปิดโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล น่าจะอยู่ที่ราว 7.2- 7.5 หมื่นหน่วย หดตัว 1.4% ถึงขยายตัวเล็กน้อย 2.7% (YoY) 

ขณะที่กำลังซื้อของผู้บริโภคชาวไทยและต่างชาติยังคงฟื้นตัวจำกัด ทำให้การจองซื้อที่อยู่อาศัยเปิดใหม่ยังไม่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า การจองซื้อที่อยู่อาศัยใน กทม. และปริมณฑล ปี 2564 จะมีจำนวนราว 7.1 – 7.6 หมื่นหน่วย หดตัว 5.3% ถึงขยายตัว 1.3% (YoY) จำนวนยอดโอนที่อยู่อาศัยจะอยู่ที่ราว 1.85 – 1.89 แสนหน่วย หดตัว 1.1% ถึงขยายตัว 1.1% (YoY) โดยต้องติดตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ที่อาจเข้ามาช่วยสร้างบรรยากาศเชิงบวกต่อธุรกิจที่อยู่อาศัยในระยะข้างหน้า อย่างไรก็ดี จากปัจจัยแวดล้อมของตลาดที่ยังไม่เอื้อ ทำให้ผู้ประกอบการยังต้องระมัดระวังการลงทุน และทำการตลาดอย่างหนักต่อเนื่อง 










                                                                                                                


                                                                                                                                                    ขอบคุณภาพจาก  Shutterstock.com​                     
  ​

Scan QR Code


QR Code

หมายเหตุ

รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น

Econ Digest