Display mode (Doesn't show in master page preview)

2 กรกฎาคม 2553

เศรษฐกิจไทย

ทิศทางเงินเฟ้อครึ่งหลังปี 2553 ... เงินเฟ้อทั่วไปทรงตัวสูง - เงินเฟ้อพื้นฐานขยับขึ้น(มองเศรษฐกิจฉบับที่ 2865)

คะแนนเฉลี่ย
ม้ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศจะปรับลดลงค่อนข้างมากในเดือนมิถุนายน 2553 แต่ทิศทางของอัตราเงินเฟ้อที่ประกาศโดยกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2553 ที่ผ่านมานั้น ยังคงสะท้อนถึง ภาพของการทยอยขยับขึ้นของระดับราคาสินค้าอย่างต่อเนื่องนับจากต้นปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ราคาสินค้าในหมวดอาหาร ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากภาวะภัยแล้งในขณะนี้
สำหรับแนวโน้มเงินเฟ้อในระยะข้างหน้า แม้มาตรการบรรเทาค่าครองชีพของประชาชน และมาตรการตรึงราคาก๊าซ LPG/NGV ออกไปอีก 6 เดือน จะสามารถช่วยลดแรงกดดันในช่วงขาขึ้นของอัตราเงินเฟ้อลงบางส่วนในช่วงเวลาที่เหลือของปี กระนั้นก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังคงประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อของไทยในช่วงครึ่งปีหลังยังมีแนวโน้มทรงตัวสูง-ปรับขึ้นสูงกว่าระดับในช่วงไตรมาส 2/2553 ที่ผ่านมา โดยคาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอาจมีค่าเฉลี่ยอยู่ในกรอบประมาณร้อยละ 3.3-3.7 ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอาจโน้มสูงขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปเข้าหาระดับประมาณร้อยละ 2.0 ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2553
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ภาพการทยอยขยับขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะในส่วนของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่มีโอกาสยืนในระดับที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงระหว่างไตรมาส 3/2553 ขณะที่ ความเสี่ยงทางการเมืองเริ่มลดระดับลงแล้วตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพฤษภาคม 2553 ที่ผ่านมา น่าที่จะเป็นสถานการณ์ที่เหมาะสมสำหรับการหมุนขั้วอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธปท.จากระดับร้อยละ 1.25 ที่ค่อนข้างผ่อนคลายอย่างมากในปัจจุบันเป็นเชิงคุมเข้มมากขึ้นเพื่อรักษาสมดุลเสถียรภาพของเศรษฐกิจไทย ซึ่งก็เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกันกับแนวโน้มการคุมเข้มนโยบายการเงินในวงที่กว้างขึ้นของธนาคารกลางในภูมิภาคเอเชียท่ามกลางแรงกดดันเงินเฟ้อ-ความเสี่ยงฟองสบู่ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น คงต้องจับตาการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน 2 รอบที่จะถึงนี้ (ในช่วงวันที่ 14 กรกฎาคมและ 25 สิงหาคม 2553) อย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีความเป็นไปได้สูงว่า วัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยอาจเริ่มต้นขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจไทย