Display mode (Doesn't show in master page preview)

19 ธันวาคม 2556

เศรษฐกิจต่างประเทศ

เฟดเริ่มชะลอมาตรการ QE...จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของทิศทางนโยบายการเงินสหรัฐฯ (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 2442)

คะแนนเฉลี่ย

คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด มีมติที่เกือบเป็นเอกฉันท์ 9:1 เสียง ให้ลดวงเงินซื้อสินทรัพย์ต่อเดือนภายใต้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (มาตรการ QE) รวม 1.0 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ (แบ่งเป็นการชะลอซื้อหลักทรัพย์ที่หนุนหลังด้วยสินเชื่อจำนอง 5 พันล้านดอลลาร์ฯ และพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 5 พันล้านดอลลาร์ฯ) ซึ่งทำให้ขนาดของมาตรการ QE ปรับลดลงมาที่ 7.5 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ ต่อเดือนตั้งแต่เดือนม.ค. 2557 เป็นต้นไป (จากวงเงินเข้าซื้อสินทรัพย์ที่ 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ ต่อเดือน ซึ่งเฟดได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนม.ค. 2556 จนถึงปัจจุบัน) อย่างไรก็ดี เฟดยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Fed Funds Rate) ที่กรอบ 0.00-0.25% ต่อไปอีกระยะหนึ่ง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ตลาดการเงินตอบรับมติชะลอมาตรการ QE ของเฟดในรอบนี้อย่างเป็นระเบียบ ไม่ได้ตื่นตระหนกมากนัก โดยเงินดอลลาร์ฯ ปรับตัวแข็งค่าขึ้นทั้งเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักและสกุลเงินในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะเฟดยังคงยืนยันกับตลาดว่า อัตราดอกเบี้ย Fed Funds จะยังคงอยู่ในระดับต่ำต่อไป แม้อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ในปี 2557 มีโอกาสปรับลดลงต่อเนื่องไปอยู่ต่ำกว่าระดับ 6.5%

สำหรับผลกระทบต่อไทยนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ระดับทุนสำรองระหว่างประเทศ และเครื่องมือดูแลสภาพคล่องในระบบการเงินไทยของธปท. น่าจะสามารถรองรับสภาวะแวดล้อมทางการเงินที่อาจผันผวนไปตามแนวทางการชะลอมาตรการ QE ของเฟดในช่วงปีข้างหน้าได้ แม้คงต้องยอมรับว่า ทิศทางของตลาดการเงินไทยบางส่วน อาทิ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยและค่าเงินบาท อาจต้องเคลื่อนไหวไปตามภาพใหญ่ที่ถูกกำหนดมาจากตลาดการเงินของสหรัฐฯ ก็ตาม

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจต่างประเทศ