Display mode (Doesn't show in master page preview)

16 มีนาคม 2561

เศรษฐกิจไทย

พ.ร.ก.จัดเก็บภาษีจากทรัพย์สินดิจิทัล ปูทางสู่การเติบโตอย่างมีเสถียรภาพในระยะยาว (มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3732)

คะแนนเฉลี่ย

​​

จัดประเภททรัพย์สินดิจิทัล มีความชัดเจน สอดคล้องกับสากล โดยร่างกฎหมายจะจำแนกประเภททรัพย์สินออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

  1. คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) ซึ่งมีมูลค่าอันถือเอาได้ ไม่ต้องมีการอ้างอิงเงินตราอื่นใด และใช้ซื้อ-ขายสินค้าและบริการต่างๆ โดยทั่วไปได้
  2. โทเคนดิจิทัล (Digital Tokens) ซึ่งให้สิทธ์แก่ผู้ถือในการแลกเปลี่ยนโทเคนกับสินค้า บริการ หรือสิทธิอื่นตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ระหว่างผู้ออกและผู้ถือโทเคน
  3. ทรัพย์สินในรูปหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อื่นใดที่ทางกระทรวงการคลังจะกำหนดในอนาคต

กฎหมายมีการระบุถึงการเก็บภาษีบนรายได้จากทรัพย์สินดิจิทัล โดยร่างกฎหมายได้เพิ่มประเภทย่อยของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4) โดยให้รวมถึงรายได้จากทรัพย์สินดิจิทัลสองประการ ประการแรก เงินส่วนแบ่งกำไร หรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้จากทรัพย์สินดิจิทัล และ ประการที่สอง รายได้จากการซื้อขายทรัพย์สินซึ่งมากกว่าเงินลงทุน ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบกับหุ้นแล้ว

สำหรับรายได้จากทรัพย์สินทั้งสองชนิดนี้ กฎหมายได้กำหนดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่นักลงทุนต้องจ่าย อยู่ที่อัตรา 15% โดยหัก ณ ที่จ่าย และนักลงทุนยังต้องนำไปรวมในการคำนวณฐานเงินได้สุทธิประจำปีเพื่อเสียภาษีในภายหลังด้วย เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ จะพบความสอดคล้องกันของเกณฑ์ด้านภาษีตรงที่มีการเพ่งเล็งไปที่การซื้อขายเก็งกำไรระยะสั้นเป็นสำคัญ

อย่างไรก็ตาม รายละเอียดข้างต้นนี้ยังมีโอกาสเปลี่ยนแปลง ขึ้นกับกฎหมายสุดท้ายที่ผ่านขั้นตอนต่างๆแล้ว รวมถึงกฎกระทรวงที่อาจมีการประกาศตามมาในภายหลัง ขณะที่กระทรวงการคลังยังมีแนวทางกำหนดอัตราภาษีเงินได้ในกรณีนิติบุคคล ซึ่งคงต้องรอความชัดเจนเช่นกัน​​

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจไทย