1. การส่งออกจีนจะเริ่มมีทิศทางชะลอลง หลังสหรัฐฯ ปรับขึ้นภาษีนำเข้าจีนล่าสุดที่ 145% ซึ่งในอัตราภาษีนี้คาดส่งออกจีนไปสหรัฐฯ ปรับลดลงกว่าครึ่งหนึ่งของการส่งออกเดิม โดยการยกเว้นภาษี Reciprocal tariff สำหรับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ คิดเป็น 22% สินค้าที่สหรัฐฯ นำเข้าจากจีน เช่น smartphone และคอมพิวเตอร์ จะช่วยลดทอนผลกระทบได้บางส่วน (ยังคงถูกเก็บเพิ่มขึ้นที่ 20% จากข้อหาที่จีนส่งเฟนทานิลไปสหรัฐฯ) ขณะที่การยกเว้นภาษี Reciprocal tariffs 90 วันให้กับประเทศอื่น ๆ นอกจากจีนอาจส่งผลให้การส่งออกจีนไปประเทศใน ASEAN ยังเพิ่มขึ้น แต่ไม่เพียงพอชดเชยผลกระทบจากการส่งออกไปสหรัฐฯ (ส่งออกจีนไปสหรัฐฯ คิดเป็น 2.8% ของเศรษฐกิจจีน)
2. ความไม่แน่นอนจากการเจรจาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และประเทศอื่น ๆ ที่อาจส่งผลให้มีประเทศที่ปรับขึ้นภาษีจีนเพิ่มขึ้นนอกจากสหรัฐฯ ซึ่งจะยิ่งเป็นอุปสรรคต่อการหาตลาดใหม่ของจีน
3. ความเสี่ยงเงินฝืดสูงขึ้น อุปสงค์ในประเทศยังมีแนวโน้มชะลอตัวจากความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังคงอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่ระดับราคายังได้รับปัจจัยกดดันจากปัญหากำลังการผลิตส่วนเกินที่มีมากขึ้นจากความเสี่ยงสงครามการค้ารอบใหม่ นอกจากนี้ผลผลิตอุตสาหกรรมในประเทศมีทิศทางชะลอลงจากการชะลอตัวของการส่งออก ซึ่งจะทำให้การจ้างงาน และรายได้ในประเทศมีทิศทางชะลอลงซ้ำเติมปัญหาเงินฝืดที่จีนเผชิญอยู่
4. ภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนจะยังเป็นปัจจัยกดดันความเชื่อมั่นในประเทศ