Display mode (Doesn't show in master page preview)

27 มีนาคม 2566

Econ Digest

วิกฤตธนาคารของโลก ส่งผลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวกว่าเดิม ขณะที่ผลกระทบแบงก์ไทย...มีจำกัด

คะแนนเฉลี่ย

        สำหรับปัญหาภาคธนาคารของหลายประเทศในโลก ณ ขณะนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าเป็นสถานการณ์ที่ยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิด แต่จากข้อมูลที่มีอยู่ ณ ขณะนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าโอกาสที่จะลุกลามจนเป็นวิกฤตโลกน่าจะไม่เกิดขึ้น แต่วิกฤตที่พอจะเทียบเคียงได้น่าจะเป็นวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ซึ่งสหรัฐฯ มีการปิดธนาคารถึงกว่า 150 แห่งในปี 2010 ซึ่งถ้าเทียบเคียงกับสถานการณ์ดังกล่าว ขณะนี้ยังมองว่ายังไม่ไปถึงจุดนั้นเช่นกัน และยังให้น้ำหนักกับความพยายามของเฟด ที่จะใช้ทุกเครื่องมือในการดูแลปัญหา และพลิกฟื้นความเชื่อมั่น ในขณะที่ ธนาคารกลางของหลายประเทศในโลก ก็มีความร่วมมือในเรื่อง Swap Line เพื่อเตรียมพร้อมรองรับเหตุการณ์ฉุกเฉินเหล่านี้ ซึ่งถือว่าเป็นการเตรียมพร้อมที่เร็ว  อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าเหตุการณ์นี้จะไม่จบและยังคงยืดเยื้อ เนื่องจากปัญหาธนาคารสหรัฐฯ ในรอบนี้เป็นปัญหาที่สืบเนื่องจากมาจากการไม่สมดุลของงบดุล ซึ่งประเด็นนี้ยังคงต้องใช้เวลา ประเด็นที่สอง เนื่องจากเหตุการณ์ยังไม่นิ่ง การจัดการกับธนาคารที่ปิดและรอให้ผู้ซื้อใหม่มาเองก็ยังต้องใช้เวลา ส่วนประเด็นที่สาม ทางการสหรัฐฯ ฝั่งที่ดูแลเรื่องสภาพคล่องจะใช้เครื่องมือเต็มที่ ขณะที่ฝั่งที่ใช้ทรัพยากรอื่นๆ ทางการสหรัฐฯ จะหลีกเลื่ยงการใช้เงินภาษี และสหรัฐฯ ก็กำลังอยู่ในช่วงที่จะเข้าสู่การเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2567 เพราะฉะนั้นอาจส่งผลให้การตัดสินใจต่างๆ ในการแก้ปัญหาน่าจะต้องใช้เวลาเช่นเดียวกัน ซึ่งระหว่างทางนี้ ธนาคารที่เป็นเป้าหมายหรือถูกตั้งข้อสังเกต อาจต้องดูแลเรื่องสภาพคล่อง และอาจจะเผชิญปัญหาการถอนเงินฝากจากผู้ฝากออกไปสู่แบงก์ที่ใหญ่กว่าได้ นอกจากนี้ในระยะกลาง สหรัฐฯ อาจจะมีการปรับกติกาต่างๆ ให้เข้มขึ้น ซึ่งหมายความว่าธนาคารที่จะต้องปฏิบัติตามกติกาที่เข้มขึ้นนี้ อาจเผชิญเรื่องของการปล่อยสินเชื่อได้ไม่เต็มที่ อาจมีประเด็นเรื่องผลการดำเนินงานในช่วงที่มีการปรับตัว ซึ่งจะเป็นโจทย์ระยะกลางถึงระยะยาว ที่กดดันภาคธนาคารพาณิชย์ และกดดันเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในภาพรวมด้วย

        อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศไทยสถานการณ์มีความแตกต่างกัน เนื่องจากสถาบันการเงินไทยมีโครงสร้างงบดุลที่มีความสมดุลมากกว่า มีเงินฝากที่กระจายตัว ทั้งรายย่อย รายกลาง รายใหญ่ และธุรกิจ นอกจากนี้ยังมีสินเชื่อที่ใหญ่กว่าเงินลงทุน ทำให้แบงก์ไทย ยังมีสภาพคล่องหรือมีกระแสรายรับมาหล่อเลี้ยงธุรกิจได้ และที่สำคัญในเรื่องความมั่นคงต่างๆ เช่น สินทรัพย์สภาพคล่อง มีการเผื่อรองรับการไหลออก 30 วันกว่า 180% หรือ 1.8 เท่า และมีเงินกองทุนอยู่ในระดับที่สูงกว่าสหรัฐฯ และเทียบเคียงได้กับยุโรป เพราะฉะนั้นมั่นใจได้ว่าแบงก์ไทยสามารถที่จะดูแลประเด็นเหล่านี้ได้ ส่วนประเด็น Mark to Market ต่อกำไรก็มีน้อย สัดส่วนเพียง 6% ซึ่งถือว่าไม่สูง ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่าประเด็นเหล่านี้จะมีผลกระทบที่จำกัดต่อภาคธนาคารไทย

 


Click
 ชมคลิป วิกฤตธนาคารของโลก ส่งผลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวกว่าเดิม ขณะที่ผลกระทบแบงก์ไทย...มีจำกัด

Scan QR Code


QR Code

หมายเหตุ

รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น