จากกรณีการขับเคลื่อน ร่าง พ.ร.บ. การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ที่คาดว่าจะประกาศใช้ได้ในช่วงปลายปี 2568 เพื่อให้บังคับใช้กับรถไฟฟ้า BTS และ MRT ในทุกสายนั้น คาดว่าจะมีผลดีด้านความยั่งยืน นอกเหนือจากการลดภาระค่าครองชีพของประชาชน และลดปริมาณ PM2.5 เหมือนครั้งการให้บริการฟรีในช่วงก่อนหน้านี้
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาท ตลอดสาย จะลดการปล่อย CO2 ต่อคนได้มากกว่าการสนับสนุนการใช้รถยนต์ 3-5 เท่า และมากกว่ารถเมล์ดีเซลประมาณ 2 เท่า ซึ่งจะเป็นก้าวสำคัญในการลดการปล่อย CO2 ของภาคการขนส่งของไทย จากการช่วยลดจำนวนรถยนต์บนถนน และลดการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล
อย่างไรก็ดี นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย อาจต้องมีการดำเนินการด้านอื่นๆ เพื่อผลักดันภาคการขนส่งให้สามารถก้าวสู่ความยั่งยืนได้เพิ่มเติม เช่น เพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าที่มาจากพลังงานหมุนเวียน การเพิ่มประสิทธิภาพการเดินรถเพื่อรองรับและกระตุ้นปริมาณคนใช้งาน รวมถึงภาครัฐต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับการเดินทางต่อเนื่อง เช่น จุดเชื่อมต่อรถเมล์ไฟฟ้า การเช่าจักรยาน เพื่อทำให้คนไม่ต้องพึ่งรถยนต์ส่วนตัว เป็นต้น
Scan QR Code
หมายเหตุ
รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น