สินเชื่อยั่งยืนในไทย ทางเลือกแหล่งเงินทุนใหม่สำหรับ SMEs และรายย่อย
สินเชื่อยั่งยืนและโครงการสีเขียวอาจจะช่วย SMEs และรายย่อยเข้าถึงเม็ดเงินลงทุนถูกได้
สินเชื่อยั่งยืน จะช่วยให้ธุรกิจ SMEs และรายย่อยได้รับอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าสินเชื่อทั่วไป เช่น อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านยั่งยืนต่ำกว่าสินเชื่อบ้านทั่วไปเฉลี่ย 0.7% ในบางธนาคาร อีกทั้งยังได้รับเทคนิคและความรู้ ทำให้ SMEs สามารถลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน และช่วยเพิ่มโอกาสในการแข่งขันในตลาดที่เน้นความยั่งยืนมากขึ้น
สินเชื่อยั่งยืนในไทยเติบโตกว่าสินเชื่อทั่วไปตั้งแต่ปี 2021
ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์ในไทย เร่งออกสินเชื่อยั่งยืนมากขึ้น จนสัดส่วนยอดคงค้างสินเชื่อยั่งยืนต่อสินเชื่อรวมเร่งขึ้นจากเฉลี่ย 1.6% ในปี 2021 เป็น 3.9% ในปี 2024 จากการเร่งบรรลุเป้าหมายการสนับสนุนการเงินยั่งยืน โดย ณ สิ้นปี 2024 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ของไทย 3 แห่ง บรรลุเป้าหมายการสนับสนุนการเงินยั่งยืนอย่างรวดเร็ว เฉลี่ย 74.1% จากเป้าหมาย 1.5 - 2.5 แสนล้านบาท ภายในปี 2025 – 2030
ศูนย์วิจัยกสิกรคาดว่าพอร์ตสินเชื่อของธนาคารจะทยอยเพิ่มสัดส่วนไปสู่ Green Portfolio มากขึ้นในระยะยาว จากแนวโน้มการขยายเป้าหมายวงเงินสนับสนุนการเงินยั่งยืน หลังใกล้บรรลุเป้าหมายเดิม
แม้สินเชื่อยั่งยืนยังกระจุกในบริษัทใหญ่ แต่การแข่งขันระหว่างธนาคารพาณิชย์จะเปิดโอกาสเข้าถึงสินเชื่อให้ SMEs และรายย่อย
ณ สิ้นปี 2024 สินเชื่อยั่งยืนกระจุกอยู่ในบริษัทขนาดใหญ่เกือบ 90% โดยเฉพาะภาคพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และพลังงาน จากการเร่งปรับตัวของอุตสาหกรรมที่ปล่อยคาร์บอนสูง ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วนน้อยที่สุดเพียง 2% จากข้อจำกัดด้านต้นทุนและความซับซ้อนในการเปลี่ยนผ่านไปสู่กระบวนการผลิตที่ยั่งยืน
แต่ในระยะข้างหน้า ช่องว่างตลาด (1.6 แสนล้านบาท) มีแนวโน้มกระจายมายัง SMEs และรายย่อยมากขึ้น จากการขยายฐานลูกค้าใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มที่ยังไม่ได้รับบริการเพียงพอ (underserved market) เพื่อลดความเสี่ยงจากการกระจุกตัวของสินเชื่อสำหรับธนาคารพาณิชย์
อีกทั้ง การแข่งขันทั้งในแง่ราคาและบริการจะเข้มข้นมากขึ้น จากการจำกัดอุตสาหกรรมที่ผ่านเกณฑ์ Thailand Taxonomy ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ต้องการเพิ่มการปล่อยสินเชื่อยั่งยืน ส่งผลให้ผู้ประกอบการ SMEs และรายย่อยมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อยั่งยืนได้มากขึ้น นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ในไทยอาจพิจารณาออกผลิตภัณฑ์ ‘ลดอัตราดอกเบี้ยตามการลดคาร์บอน’(Outcome-Based Rate) ถ้า SME ลดการปล่อย CO₂ ได้ตามแผน หรือเพิ่มบริการวัดคาร์บอนฟรี
แนวทางเตรียมตัวขอรับสินเชื่อยั่งยืนสำหรับ SMEs และรายย่อย
การเตรียมตัวเพื่อขอรับสินเชื่อยั่งยืน ต้องแสดงให้เห็นถึงผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม รวมทั้งความโปร่งใสในการดำเนินโครงการ โดย SMEs และรายย่อยอาจเตรียมตัวยื่นขอสินเชื่อยั่งยืนดังนี้
Scan QR Code
หมายเหตุ
รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น