Display mode (Doesn't show in master page preview)

บทวิเคราะห์ตลาดการเงินและสถาบันการเงิน

11 เมษายน 2566

สถาบันการเงิน

ธุรกิจแบงก์ไทยไตรมาส 1/2566...แม้รายได้หลักขยายตัวได้ แต่ยังต้องระวังปัญหาหนี้เสีย (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3403)

ธุรกิจแบงก์ไทยไตรมาส 1/2566...แม้รายได้หลักขยายตัวได้ แต่ยังต้องระวังปัญหาหนี้เสีย ... อ่านต่อ

21 กุมภาพันธ์ 2566

สถาบันการเงิน

ภาพรวมหนี้ครัวเรือนปี 2566 อาจชะลอลงมาที่กรอบ 84.0-86.5% ต่อจีดีพี...แต่ครัวเรือนยังมีภาระหนี้ที่ค่อนข้างสูงเป็นข้อจำกัดการเติบโตของการบริโภคในอนาคต (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3383)

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยทำการศึกษาผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของหนี้ครัวเรือนในบริบทของประเทศไทย พบข้อสรุปที่สอดคล้องกับการศึกษาของ BIS กล่าวคือ การเพิ่มขึ้นของหนี้ครัวเรือนส่งผลกระทบเชิงบวกต่อการบริโภคในระยะสั้น แต่จะลดศักยภาพการเติบโตของการบริโภคของครัวเรือนในระยะยาว ซึ่งหมายความว่า สัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยต่... อ่านต่อ

24 มกราคม 2566

สถาบันการเงิน

การประชุม กนง. นัดแรกของปี วันที่ 25 ม.ค. 66 คาด กนง. ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องจากปีก่อนอีกร้อยละ 0.25 (มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3988)

คาดกนง. ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องจากปีก่อนอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ระดับ 1.50% ท่ามกลางแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่อง... อ่านต่อ

30 ธันวาคม 2565

สถาบันการเงิน

ปริมาณธุรกรรมชำระเงินออนไลน์เติบโตต่อเนื่อง... ขณะที่การต่อยอดธุรกิจของผู้ให้บริการยังเป็นโจทย์สำคัญ (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3378)

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า แนวโน้มการชำระเงินผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคไทยยังคงขยายตัวต่อเนื่อง และคาดว่า ในปี 2566 ปริมาณธุรกรรมผ่านช่องทางออนไลน์อย่างInternet Banking, Mobile Banking, และ e-Money น่าจะมีสัดส่วนแตะร้อยละ 95 ของปริมาณธุรกรรมทั้งหมด โดยมีปริมาณธุรกรรม 36,510 – 37,970 ล้านรายการ หร... อ่านต่อ

21 ธันวาคม 2565

สถาบันการเงิน

แนวโน้มแบงก์ไทยปี’66... เตรียมตัวรับภาพธุรกิจที่ไม่เหมือนเดิม (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3373)

หลังจากที่แบงก์ไทยดำเนินธุรกิจผ่านปี 2565 โดยผ่านคลื่นลมของความท้าทายมาหลากหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาหนี้สำหรับลูกหนี้ที่ประสบปัญหาทางการเงินตั้งแต่ช่วงวิกฤตโควิด-19 การปรับเกณฑ์ต่างๆ ของทางการจากที่เน้นมาตรการแบบปูพรมและช่วยเหลือสถาบันการเงินที่ช่วยเหลือลูกหนี้ มาเป็นมาตรการเฉพาะจุด และทยอย... อ่านต่อ

28 พฤศจิกายน 2565

สถาบันการเงิน

การประชุมกนง.วันที่ 30 พ.ย. 65 คาดกนง. ทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ระดับ 1.25% ท่ามกลางแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่เศรษฐกิจเริ่มอยู่ในเส้นทางการฟื้นตัว (มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3982)

ในการประชุมกนง. ที่จะถึงนี้ ซึ่งเป็นการประชุมกนง. ครั้งสุดท้ายของปีนี้ คาดว่ากนง. จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ระดับ 1.25% ท่ามกลางแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง ... อ่านต่อ

24 พฤศจิกายน 2565

สถาบันการเงิน

ปี 2565...ปีแห่งการทดสอบการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3365)

ปี 2565 ถือว่าเป็นปีที่เศรษฐกิจไทยผ่านพ้นจุดต่ำสุดหลังจากได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ติดต่อกันหลายปี ซึ่งในหลักการแล้ว การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจควรจะเป็นปัจจัยหนุนการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริง บรรยากาศการลงทุนในปีนี้กลับค่อนข้างผันผวน โดยเฉพาะสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงกว่าปกติ... อ่านต่อ

21 พฤศจิกายน 2565

สถาบันการเงิน

การแข่งขันราคาเงินฝาก...ทยอยชัดเจนขึ้น (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3364)

หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ตั้งแต่รอบการประชุมเดือนสิงหาคมและกันยายน 2565 ครั้งละ 0.25% รวมเป็น 0.50% จนทำให้ปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยยืนอยู่ที่ 1.00% นั้น ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ส่วนใหญ่ยังไม่ได้ปรับอัตราดอกเบี้ยตามในทันทีในระยะแรกๆ อย่างไรก็ดี ... อ่านต่อ

16 พฤศจิกายน 2565

สถาบันการเงิน

อัตราการเข้าถึงบริการทางการเงินของไทย แม้ส่วนใหญ่สูงกว่า APEC ... แต่ก็ยังมีโจทย์ที่ต้องไปต่อ (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3360)

ในการประชุม APEC ในปี 2565 นี้ สะท้อนความพยายามในการผลักดันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศสมาชิกไปสู่ทิศทางแห่งความยั่งยืน โดยเติบโตอย่างมีส่วนร่วม (Inclusive Growth) ซึ่งหนึ่งแนวทางผลักดันคือการสนับสนุนให้กลุ่มคนต่างๆ ของสังคมเข้าถึงบริการทางการเงินในระบบ (Financial Inclusion)... อ่านต่อ

11 พฤศจิกายน 2565

สถาบันการเงิน

เงินบาทพลิกแข็งค่า...แต่ยังต้องระวังความผันผวนจากหลายปัจจัยข้างหน้า (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3358)

สถานการณ์ล่าสุด เงินบาทพลิกแข็งค่าหลุดแนว 36.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ไปแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบเกือบ 3 เดือนที่ 35.70 บาทต่อดอลลาร์ฯ (11 พ.ย. 2565) ท่ามกลางแรงขายเงินดอลลาร์ฯ จากการคาดการณ์ว่า เฟดอาจปรับลดขนาดการขึ้นดอกเบี้ยให้มีความแข็งกร้าวน้อยลงในการประชุม FOMC รอบถัดๆ ไป ... อ่านต่อ

17 ตุลาคม 2565

สถาบันการเงิน

คาดเศรษฐกิจที่ทยอยฟื้นหลังการคลายล็อกช่วยประคองรายได้จากธุรกิจหลักของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 3/2565...แต่ยังต้องติดตามความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3350)

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทยอยฟื้นตัวขึ้นหลังการคลายล็อกดาวน์ จะช่วยหนุนการเติบโตของรายได้หลักของธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 3/2565 ทั้งในส่วนของรายได้ดอกเบี้ยและรายได้ค่าธรรมเนียม ... อ่านต่อ

3 ตุลาคม 2565

สถาบันการเงิน

หนี้ครัวเรือนชะลอลงมาที่ 88.2% ต่อจีดีพี ในไตรมาส 2/2565...ครัวเรือนชะลอการก่อหนี้ก้อนใหญ่ แต่ยังใช้สินเชื่อไม่มีหลักประกันเสริมสภาพคล่องระยะสั้น (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3349)

แม้ยอดคงค้างเงินกู้ยืมของครัวเรือนจะขยับขึ้นสู่ระดับ 14.76 ล้านล้านบาทในไตรมาส 2/2565 แต่ก็มีอัตราการเติบโตที่ชะลอลงตลอดในช่วงหลายไตรมาสที่ผ่านมา โดยเฉพาะการชะลอตัวในส่วนของหนี้ที่เกิดจากสินเชื่อก้อนใหญ่ เช่น หนี้บ้าน หนี้ประกอบอาชีพ และหนี้รถ ... อ่านต่อ

27 กันยายน 2565

สถาบันการเงิน

คาดกนง. ทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ระดับ 1.00% ท่ามกลางแรงกดดันจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าสุดในรอบ 16 ปี (มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3979)

ในการประชุมกนง. ที่จะถึงนี้ คาดว่ากนง. จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ระดับ 1.00% ท่ามกลางแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูงและค่าเงินบาทที่อ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี กนง. คงจะยังทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามที่ได้ส่งสัญญาณไว้ก่อนหน้า ท่ามกลางเศรษฐกิจไทยที่ก... อ่านต่อ

21 กันยายน 2565

สถาบันการเงิน

เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบเกือบ 16 ปีครั้งใหม่ ... แรงกดดันสำคัญยังมาจากเรื่องดอลลาร์ฯ (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3347)

เงินบาททดสอบแนว 37.20 บาทต่อดอลลาร์ฯ ซึ่งเป็นระดับอ่อนค่าสุดในรอบเกือบ 16 ปีครั้งใหม่ท่ามกลางสัญญาณการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ... อ่านต่อ

13 กันยายน 2565

สถาบันการเงิน

สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล (Digital Personal Loan) …การเรียนรู้และปรับตัวของผู้ประกอบการ (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3343)

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในปี 2565 การทำการตลาดสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลตามนิยามของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ใช้ข้อมูลทางเลือก (Alternative data) ในการพิจารณาสินเชื่อ คงมีลักษณะของการ “ทยอยเติบโต” มากกว่า โดยมียอดคงค้างที่ไม่สูงมากนัก ประมาณ 7,920 – 8,500 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 1 ของยอดคง... อ่านต่อ

8 สิงหาคม 2565

สถาบันการเงิน

การประชุมกนง. วันที่ 10 ส.ค. 65 คาดกนง. ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.25 ท่ามกลางแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง (มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3977)

ในการประชุมกนง. ที่จะถึงนี้ คาดว่ากนง. จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 0.75 ท่ามกลางแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่ เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลให้กนง. มีแนวโน้มที่จะทยอยถอนคันเร่งทางเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไป เศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญ... อ่านต่อ

27 กรกฎาคม 2565

สถาบันการเงิน

หากแบงก์เลื่อนการปรับขึ้นดอกเบี้ย...ผลกระทบต่อระบบแบงก์ไทย (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3338)

สัญญาณจากผลการประชุม กนง. เดือนมิ.ย. ที่ผ่านมา สะท้อนว่า ไทยคงเข้าใกล้จังหวะการเริ่มปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบายแล้ว และจากแรงกดดันเงินเฟ้อของไทยที่อยู่ในระดับสูงทำให้น่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือของปีนี้และเพิ่มเติมอีกในช่วงต้นปี 2566 ... อ่านต่อ

26 กรกฎาคม 2565

สถาบันการเงิน

แนวโน้มการเงินเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Finance) (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3336)

การเงินเพื่อความยั่งยืนทั่วโลกมีการเจริญเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืนในปี 2021 มีมูลค่า 929,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเติบโต 10 เท่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ในขณะมูลค่าสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนในปี 2021 มีมูลค่า 716,561 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเติบโต 7 เท่าจากปี 2018 ขณะที่ประเทศไทย ณ ไ... อ่านต่อ

15 กรกฎาคม 2565

สถาบันการเงิน

แนวโน้มแบงก์ไทยช่วงครึ่งหลังของปี 2565...มีโจทย์ดูแลลูกหนี้กลุ่มเปราะบางภายใต้สถานการณ์ที่ดอกเบี้ยเริ่มขยับขึ้น (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3331)

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า รายได้จากธุรกิจหลักของธนาคารพาณิชย์ยังคงอ่อนแอในไตรมาสที่ 2/2565 โดยเฉพาะรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยซึ่งถูกกดดันจากความเปราะบางของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ และผลกระทบจากความผันผวนของตลาดทุนต่อพอร์ตการลงทุน ส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิและ NIM นั้น อาจขยับขึ้นเพียงเล็กน้อยตามการเติบโต... อ่านต่อ

13 มิถุนายน 2565

สถาบันการเงิน

ตลาดหุ้นกู้เอกชนปี 2565 เติบโตเตรียมรับจังหวะดอกเบี้ยขาขึ้น...คาดหุ้นกู้ระยะยาวมียอดออกรวมประมาณ 1.10-1.20 ล้านล้านบาท (มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3972)

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ทิศทางคุมเข้มนโยบายการเงินเพื่อสกัดแรงกดดันเงินเฟ้อของธนาคารกลางสหรัฐฯ และธนาคารกลางชั้นนำอื่นๆ ในฝั่งตะวันตกและเอเชีย (ยกเว้น จีนและญี่ปุ่น) น่าจะมีจังหวะที่สอดคล้องกันมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 โดยธนาคารกลางที่มีแนวโน้มเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายตามมาในช่วง... อ่านต่อ

2 มิถุนายน 2565

สถาบันการเงิน

การประชุมกนง. คาดกนง. ยังคงดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.5 ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ยังเปราะบาง ขณะที่ ยังมองความเป็นไปได้ที่กนง. จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในไตรมาส 4/2565 (มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3971)

ในการประชุมกนง. ที่จะถึงนี้ คาดว่ากนง. จะคงดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.50 เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ อย่างไรก็ดี กนง. คงเผชิญความท้าทายมากขึ้นในการคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายในระยะข้างหน้า ซึ่งยังมองความเป็นไปได้ที่กนง. จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในไตรมาส 4/ 2565 เศรษฐกิจไท... อ่านต่อ

1 เมษายน 2565

สถาบันการเงิน

หนี้ครัวเรือนไทยปี 2565 อาจชะลอลงมาที่กรอบ 86.5-88.5% ต่อจีดีพี...แต่ฐานะการเงินของภาคครัวเรือนยังอ่อนแอ (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3318)

ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนไทยในปี 2564 เติบโต 3.9% ใกล้เคียงกับ 4.0% ในปี 2563 แต่เมื่อเทียบกับขนาดเศรษฐกิจที่ยังเติบโตช้า ทำให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพียังคงขยับสูงขึ้นมาที่ระดับ 90.1% ในปี 2564 จากระดับ 89.7% ในปี 2563 อย่างไรก็ดี สัดส่วนหนี้ครัวเรือนดังกล่าวยังคงเป็นระดับสูง และเป็นหนึ่งในปัญหาเ... อ่านต่อ

29 มีนาคม 2565

สถาบันการเงิน

การประชุมกนง. วันที่ 30 มี.ค. 65 คาดกนง. ยังคงดอกเบี้ยที่ 0.5% โดยกนง. น่าจะยังคงจะให้น้ำหนักต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเป็นหลัก แม้มีความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น (มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3968)

ในการประชุมกนง. ที่จะถึงนี้ คาดว่ากนง. จะคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่มีความเสี่ยงมากขึ้นจากวิกฤติความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน อย่างไรก็ดี กนง. คงเผชิญความท้าทายมากขึ้นในการรักษาเสถียรภาพด้านราคาท่ามกลางแรงกดดันเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น ทั้งนี้ วิกฤติรัสเซีย-ยูเ... อ่านต่อ

24 มีนาคม 2565

สถาบันการเงิน

ทิศทางสินเชื่อทะเบียนรถปี 2565: ปูพรมลงตลาดล่าง (มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3967)

สินเชื่อทะเบียนรถขยายตัวสูงท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 จากธุรกิจในฝั่ง Non-Bank เป็นสำคัญ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการแข่งขันของผู้ให้บริการที่เข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้น และการขยายฐานลูกค้าในตลาดล่างที่ครอบคลุมถึงกลุ่มทะเบียนรถจักรยานยนต์... อ่านต่อ

24 กุมภาพันธ์ 2565

สถาบันการเงิน

แนวโน้มธุรกิจประกันชีวิตปี 2565: โอกาสขยายกำลังซื้อใหม่ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3307)

ภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตในปี 2564 กลับมาเป็นบวกได้เล็กน้อยหลังจากที่หดตัวลง 2 ปีติดต่อกัน โดยเป็นการเติบโตจากการผลักดันยอดขายกรมธรรม์รายใหม่ โดยเฉพาะประเภทจ่ายครั้งเดียว ขณะที่เบี้ยปีต่ออายุไม่โต ซึ่งแม้ว่าในปี 2565 ภาพรวมธุรกิจประกันยังอยู่ในช่วงการปรับฐานต่อเนื่องจากปีก่อน เนื่องจากมีกรมธรรม์ที่ครบ... อ่านต่อ