27 พฤษภาคม 2564
เศรษฐกิจต่างประเทศ
ในช่วงที่ผ่านมา บทบาททางเศรษฐกิจของจีนในกลุ่มประเทศ CLMV นับได้ว่าโดดเด่นมาก โดยเฉพาะด้านการค้า ผ่านยุทธศาสตร์ต่างๆ ที่จีนพยายามเข้ามาสร้างอิทธิพลทางเศรษฐกิจ ทั้งอิทธิพลของความเชื่อมโยงทางกายภาพ (Physical connectivity) อาทิ โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม รวมถึงเขตเศรษฐกิจพิเศษต่างๆ ภายใต้ Belt and Road Initiative ซึ่งมีส่วนช่วยดึงดูด FDI จีนให้มาตั้งคลัสเตอร์อุตสาหกรรมในพื้นที่ รวมถึงอุตสาหกรรมบริการที่ตอบสนองความเป็นเมืองที่มากขึ้น ขณะเดียวกัน อิทธิพลของความเชื่อมโยงทางสถาบัน (Institutional connectivity) ของจีน อาทิ การผ่อนคลายกฎระเบียบที่เอื้อประโยชน์ต่อการค้าระหว่างประเทศ ก็มีช่วยกระตุ้นมูลค่าการค้าระหว่าง CLMV กับจีนให้เร่งตัวขึ้น... อ่านต่อ
FileSize KB
27 เมษายน 2564
เศรษฐกิจ CLMV ในภาพรวมจะได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ไม่เท่ากัน โดยเวียดนามเป็นเศรษฐกิจใน CLMV ที่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก จากโครงสร้างการผลิตและส่งออกที่มีสัดส่วนของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สูง ขณะที่กัมพูชาอาจเป็นอีกเศรษฐกิจที่ได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกเช่นกันเนื่องจากการส่งออกของกัมพูชามีตลาดหลักอยู่ในสหรัฐฯ จีน และยุโรปซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ การลงทุนในกัมพูชาส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและภาคอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative : BRI) ซึ่งภาพการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนที่แข็งแกร่งย่อมส่งผลให้โครงการดังกล่าวยังเดินหน้าต่อไป ในส่วนของเศรษฐกิจสปป.ลาว คงจะได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่จำกัดในส่วนของการลงทุนตรงจากจีนเป็นหลัก ขณะที่ภาคการส่งออกอาจได้รับอานิสงส์จำกัด ขณะที่เมียนมา ปัจจัยการเมืองในประเทศคงเป็นปัจจัยที่มีผลในการลดทอนผลบวกจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก... อ่านต่อ
22 ธันวาคม 2563
ค่าเงินดองที่อ่อนค่าเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งที่เอื้อให้การส่งออกสินค้าต่างๆ ของเวียดนามที่มีความได้เปรียบในการผลิตอยู่แล้วมีแรงดึงดูดการลงทุนมากกว่าคู่แข่งประเทศอื่น ทำให้เวียดนามสามารถผลิตและส่งออกได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ดี การที่เวียดนามได้ถูกสหรัฐฯ กล่าวหาเรื่องบิดเบือนค่าเงิน จะมีผลให้การดำเนินการในการแทรกแซงค่าเงินในระยะข้างหน้าเป็นไปได้ยากขึ้น อีกทั้ง เมื่อพิจารณาโครงสร้างดุลการชำระเงินที่น่าจะอยู่ในทิศทางเกินดุลสูง เนื่องจากการส่งออกและการลงทุนจากต่างประเทศที่สูง อาจเป็นแรงกดดันที่ทำให้ธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) จำเป็นต้องทยอยปรับค่าเงินดองให้แข็งค่าขึ้น (Revaluation) เพื่อลดทอนความเสี่ยงที่อาจจะถูกสหรัฐฯ ปรับใช้มาตรการตอบโต้ทางการค้าเพิ่มเติม... อ่านต่อ
22 เมษายน 2563
การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจ CLMV ผ่านทางการพึ่งพารายได้จากต่างประเทศในธุรกิจท่องเที่ยว และภาคการส่งออก โดยประเทศที่พึ่งพารายไดจากต่างประเทศมาก ยิ่งได้รับผลกระทบในเชิงลบมาก... อ่านต่อ
19 กุมภาพันธ์ 2563
ความสามารถทางการแข่งขันของสินค้าส่งออกไทยใน CLMV อยู่ในทิศทางที่ลดลงเมื่อเทียบกับพลวัตการส่งออกของกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกที่ขึ้นมาครองสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 50 ของการนำเข้าของ CLMV ในปี 2561 เพิ่มขึ้นจากเพียงร้อยละ 17 ในปี 2558 หรือในเวลาเพียง 3 ปี โดยปัจจัยหลักมาจากการที่โครงสร้างสินค้าส่งออกของไทยไป CLMV ยังเน้นหนักไปที่สินค้าโภคภัณฑ์ อาหารและสินค้าอุปโภคบริโภคที่อาจมีมูลค่าเพิ่มไม่สูงมากนักต่างจากสินค้าส่งออกจากทั้งญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ที่เน้นหนักในหมวดสินค้าขั้นกลางที่มีมูลค่าเพิ่มค่อนข้างสูง นอกจากนี้ การลงทุนโดยตรงในภาคการผลิตของไทยใน CLMV ที่เน้นหนักไปในการผลิตอาหารและการผลิตเคมีภัณฑ์ที่ส่วนมากเน้นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติใน CLMV มาเป็นวัตถุดิบ จึงไม่ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงทางด้านห่วงโซ่การผลิตที่เป็นรูปธรรมชัดเจน... อ่านต่อ
16 มกราคม 2562
นับเป็นครั้งแรกที่ดัชนีบทบาททางเศรษฐกิจใน CLMV (KR CLMV Economic Presence Index: CLMV-EPI) โดยรวมของไทยตั้งแต่ไตรมาสที่ 4/2560 เป็นต้นมา ไม่ติด 1 ใน 3 อันดับสูงสุด โดยญี่ปุ่นก้าวขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 3 แทนไทย โดยมีบทบาทในฐานะผู้ลงทุนรายใหญ่ที่สนใจลงทุนใน CLMV มากขึ้น ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า รูปแบบการลงทุนโดยตรงของญี่ปุ่นใน CLMV เริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากในอดีต โดยเน้นการลงทุนที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่ภาคการผลิต (Non-manufacturing sector) มากขึ้น โดยเฉพาะในกัมพูชาและเมียนมา อาทิ อุตสาหกรรมค้าปลีก ภาคการเงินการธนาคาร โลจิสติกส์ เพื่อเจาะตลาดผู้บริโภคทางเลือกที่มีศักยภาพสูง อย่างไรก็ดี การเลือกลงทุนในอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่ภาคการผลิตในกลุ่มประเทศ CLM เป็นภาพที่สวนทางกับการเลือกลงทุนของนักลงทุนญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมการผลิตในไทยและเวียดนาม จนอาจเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความท้าทายของการพัฒนาศักยภาพทางด้านการแข่งขันของกลุ่มประเทศ CLM โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการผลิตต่าง ๆ ซึ่งไทยสามารถก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางพัฒนาทักษะแรงงานและวิชาชีพ (Capacity building and skill development) ในภูมิภาค ไม่เพียงแต่นักลงทุนญี่ปุ่นที่หันมาให้ความสนใจลงทุนในอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่ภาคการผลิตใน CLMV มากขึ้น แต่นักลงทุนไทยก็ได้มีความพยายามในการเข้าทำตลาด CLMV มาเป็นระยะเวลาหนึ่ง โดยถึงแม้ว่าการลงทุนในภาคบริการดั้งเดิมใน CLMV ของผู้ประกอบการไทยนับได้ว่าเป็นการเข้าทำการตลาดที่เหมาะสมกับระดับการบริโภคของ CLMV ในปัจจุบันที่ยังไม่สูงและซับซ้อน อย่างไรก็ดี หากมองไปในอนาคต ภาพรวมการแข่งขันในภาคอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่การผลิตจะเริ่มถูกขับเคลื่อนด้วยกระแสการลงทุนและการส่งออกบริการที่เป็นภาคบริการสมัยใหม่ (Modern service) ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและแรงงานที่มีทักษะสูงมากขึ้น อาทิ การบริการทางด้าน IT การบริการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ หรือการบริการโลจิสติกส์สมัยใหม่ โดยในช่วงที่ผ่านมา ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนได้เริ่มรุกการลงทุนดังกล่าวมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น บริการเรียกรถ (Ride hailing) ของ Grab ของมาเลเซีย หรือ Go-Jek ของอินโดนีเซีย หรือแพลตฟอร์ม e-Commerce ซึ่งรวมถึง Online Travel Agency (OTA) อย่าง Lazada ของสิงคโปร์ หรือ Traveloka ของอินโดนีเซีย จึงนับเป็นความท้าทายของไทยในการเร่งพัฒนาศักยภาพด้านภาคบริการสมัยใหม่ให้เข้มแข็งมากขึ้น เพื่อที่จะสามารถรักษาบทบาทของไทยใน CLMV ให้ยังคงอยู่ ... อ่านต่อ
13 กันยายน 2560
... อ่านต่อ
18 ตุลาคม 2559
8 พฤษภาคม 2558
30 มิถุนายน 2557
10 ตุลาคม 2556
1 เมษายน 2556