Display mode (Doesn't show in master page preview)

25 มิถุนายน 2563

Econ Digest

โควิด-19 เร่งอุตฯ แปรรูปอาหารใช้ระบบ Automation ลดพึ่งพาแรงงาน ยกระดับมาตรฐานอาหารปลอดภัย

คะแนนเฉลี่ย
​              การแพร่ระบาดของโควิด-19 และปัญหาขาดแคลนแรงงานในโรงงานแปรรูปอาหาร ทำให้อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารที่ต้องพึ่งพาแรงงานอย่างเข้มข้นจำเป็นต้องพิจารณานำระบบ Automation มาใช้งานมากขึ้น ซึ่งนอกจากจะลดความเสี่ยงด้านการผลิตอันเกิดจากการใช้แรงงานคนแล้ว ยังมีส่วนช่วยยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยด้านการผลิตอาหารให้สูงขึ้น เพื่อตอบสนองความคาดหวังของผู้บริโภค ในด้านคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร ที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิมจากช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19

               ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า การนำระบบ Automation มาใช้งานในการแปรรูปอาหาร จะทำให้ลดจำนวนแรงงานลงได้ เฉลี่ยราว 11.2 คนต่อทุกเงินลงทุน 1 ล้านบาท ซึ่งในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ตลาด Automation สำหรับอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารในไทยเติบโตราว 4.6% ต่อปี และมีส่วนทำให้การจ้างงานลดลงกว่า 5.5% ต่อปีเช่นเดียวกัน  ทั้งนี้ ผู้ประกอบการมักใช้ระบบเครื่องจักรที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ (CNC) มาใช้งานมากกว่าระบบ หุ่นยนต์สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต (IRA) เนื่องจากมีราคาที่ถูกกว่าถึง 4 เท่า และมีการพัฒนาเพื่อใช้ในการผลิตอาหารแปรรูปมายาวนาน ขณะที่ระบบ IRA แม้จะแพงกว่า แต่สามารถทำงานที่ยือหยุ่นและละเอียดอ่อน ซึ่งต้องอาศัยทักษะของแรงงานคน สามารถแก้ไขปัญหาคอขวดในสายการผลิตตรงจุดที่ต้องใช้แรงงาน จึงเหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่จะยกระดับการผลิตโดยนำระบบ IRA มาทดแทนแรงงานฝีมือ ควบคู่ไปกับการใช้ระบบ CNC เพื่อเสริมสายพานการผลิตแบบอัตโนมัติให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น 

               แม้ว่าการใช้ระบบ Automation ในกระบวนการผลิตจะเป็นการลดการใช้แรงงานคนโดยรวม แต่ก็ยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้แรงงานคนเพื่อทำหน้าที่ควบคุมระบบ ตรวจสอบ และแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการผลิต รวมไปถึงการซ่อมแซมบำรุงรักษาระบบ การเปลี่ยนแปลงบทบาทของแรงงานดังกล่าว ทำให้การพัฒนาฝีมือแรงงานให้สามารถทำงานร่วมกับระบบ Automation ได้จึงเป็นกุญแจสำคัญที่ควรจะมีการบูรณาการ ตั้งแต่ภาคการศึกษาไปจนถึงผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม


Scan QR Code


QR Code

หมายเหตุ

รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น

Econ Digest