Display mode (Doesn't show in master page preview)

4 ธันวาคม 2567

Econ Digest

ผลการประชุม COP 29 ณ เมืองบากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน ระหว่างวันที่ 11 – 22 พฤศจิกายน 2567

คะแนนเฉลี่ย

สรุปผลการประชุม COP29
        การประชุม COP29 ที่เมืองบากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน ระหว่างวันที่ 11 – 22 พฤศจิกายน 2567 ได้จบลง พร้อมกับการบรรลุข้อตกลงสำคัญ ได้แก่
  1. Baku Finance Goal บรรลุข้อตกลงให้ประเทศพัฒนาแล้วมอบเงินช่วยเหลือด้านการเปลี่ยนเปลงสภาพภูมิอากาศจาก 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐต่อปี เป็น 3 แสนล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ภายในปี 2578 แก่ประเทศกำลังพัฒนา
  2. ข้อตกลงการดำเนินการของ Loss and Damage Fund โดยให้ World Bank เป็นผู้ดูแลเงินกองทุนและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ Conference of the parties (COP) โดยปัจจุบันมี 26 ประเทศ ให้คำสัญญาว่าจะให้เงินสนับสนุนกองทนุแล้ว จำนวน 730 ล้านเหรียญสหรัฐ
  3. ข้อสรุปตลาดคาร์บอนเครดิตโลก (Article 6.4) จัดตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลตลาดคาร์บอนเครดิตของ United Nation (UN) กำหนดมาตรฐานที่ใช้ในการรับรองคาร์บอนเครดิต และการเปลี่ยนคาร์บอนเครดิต CDM จากกลไก Kyoto Protocol สู่ Paris Agreement
 
สิ่งที่ประเทศไทยต้องดำเนินการหลังจากนี้
  1. จัดทำเป้าหมาย NDC 3.0 ซึ่งจะกำหนดเป้าหมายการลด GHG ภายในปี 2578 (เดิมประเทศไทยตั้งเป้าหมายลด GHG 30 - 40% ภายในปี 2573) ส่งให้ UNFCCC ภายในต้นปี 2568
  2. รายงานความโปร่งใสรายสองปี เป็นการรายงานสถานการณ์การปล่อย GHG ของประเทศ (ปี 2562 ไทยปล่อย GHG 373 ล้านตัน CO2-e) ซึ่งประกอบด้วย ความคืบหน้าของการลด GHG นโยบายลด GHG ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ซึ่งต้องส่งภายในสิ้นปี 2567
  3. ผลักดันนโยบายลด GHG ให้เป็นไปตาม NDC
  • ร่าง พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (พ.ร.บ. Climate Change) ซึ่งรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 2 เสร็จสิ้นแล้ว ก่อนเตรียมนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป มีมาตรการสำคัญ ได้แก่ การรายงานการปล่อย GHG ของธุรกิจ และมาตรการกำหนดราคาคาร์บอน (ภาษีคาร์บอน คาร์บอนเครดิต และระบบซื้อขายสิทธิ การปล่อย GHG หรือระบบ ETS)
  • Thailand Taxonomy Phase ระยะที่ 2 อยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็นถึงวันที่ 10 ม.ค. 2568 โดยครอบคลุม 4 ภาคเศรษฐกิจ ได้แก่ 1.เกษตร 2.อาคารและอสังหาริมทรัพย์ 3.อุตสาหกรรมการผลิต และ 4.การจัดการของเสีย ซึ่งเป็นการจัดหมวดหมู่กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับเป้าหมายการลด GHG ของประเทศ

        ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่ามาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่กำลังมาถึงจะส่งผลให้ธุรกิจมีภาระในการรายงานเพิ่มขึ้นและมีต้นทุนสูงขึ้น จากการบังคับใช้ พ.ร.บ. Climate Change ที่คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในปี 2569 ขณะที่ Thailand Taxonomy จะช่วยให้ภาคธุรกิจเข้าถึงสินเชื่อ Green Finance ได้สะดวกขึ้น

Scan QR Code


QR Code

หมายเหตุ

รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น

Econ Digest

ESG