Display mode (Doesn't show in master page preview)

22 กรกฎาคม 2564

Econ Digest

ปี 2566 EU เล็งเก็บภาษีคาร์บอนข้ามแดน ส่งออกไทย...ต้องเร่งปรับตัว

คะแนนเฉลี่ย
              EU เตรียมเสนอแผนดำเนินการกลไกการจัดการการปล่อยคาร์บอนฯ ข้ามแดน หรือ Carbon Border Adjustment (CBA) สำหรับสินค้านำเข้าและบริการข้ามแดน ซึ่งคาดว่าจะมีการบังคับใช้ในเดือน ม.ค.  66 โดยในระยะแรกคาดว่าจะใช้รูปการจัดเก็บภาษีแบบ Sector-based กับภาคการผลิตที่มีการปล่อยคาร์บอนฯ สูง อาทิ แร่และเชื้อเพลิง เหล็ก โลหะ เคมีภัณฑ์ พลาสติก ส่งผลให้ประเทศที่ส่งออกสินค้าที่มีการปล่อยคาร์บอนฯ โดยตรงสูง เช่น ประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน แร่และเชื้อเพลิง รวมถึงพลังงานไฟฟ้า น่าจะได้รับผลกระทบเป็นกลุ่มแรกๆ  โดยในส่วนของประเทศไทยที่พึ่งพาการส่งออกไป EU ประมาณ 10% ของการส่งออกทั้งหมด และมีมูลค่าการส่งออกในกลุ่มสินค้าอย่างแร่และเชื้อเพลิง เหล็ก โลหะ เคมีภัณฑ์ และพลาสติกไป EU ไม่มาก อาจ ไม่ได้รับผลกระทบในระยะแรก

   ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า การส่งออกสินค้ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยไป EU น่าจะได้รับผลกระทบทางอ้อมจากมาตรการ CBA เป็นกลุ่มแรกๆ เพราะเป็นกลุ่มสินค้าที่มีการปล่อยคาร์บอนฯ เข้มข้น อีกทั้งการส่งออกสินค้ากลุ่มดังกล่าวยังมีสัดส่วนกว่า 40%  ส่วนกลุ่มสินค้าเกษตรและอาหารที่มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกรองลงมา ก็อาจได้รับผลกระทบเพิ่มเติมในอนาคต จากมาตรการสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของอาหาร  

              ​แม้การปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้​อมจะทำให้ธุรกิจมีต้นทุนเพิ่มขึ้น แต่ธุรกิจที่สามารถปรับตัวได้ก่อนจะสามารถสร้างความได้เปรียบในระยะยาว โดยมีมาตรการสนับสนุนต่า​งๆ จากภาครัฐในการปรับตัว เพื่อลดผลกระทบของมาตรการ CBA  โดยในระยะข้างหน้า ไทยจำเป็นต้องขยายการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการขนาดรองลงมา พร้อมทั้งขยายขอบเขตอุตสาหกรรมเป้าหมายมากขึ้น โดยลดความซับซ้อนและต้นทุนในการเข้าร่วม เช่น การส่งเสริมให้ธุรกิจที่ต้องการเข้าร่วมเข้าถึงเงินทุนในการพัฒนาการใช้พลังงานทดแทนหรือปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต การจัดให้มีโครงการความร่วมมือระหว่างผู้เข้าร่วมที่มีศักยภาพกับผู้เข้าร่วมรายใหม่ หรือการรวมกลุ่มผู้ประกอบการในการลดคาร์บอนฯ เพื่อเตรียมรับมือจากผลกระทบของมาตรการ CBA บางส่วน เนื่องจาก EU อาจพิจารณาชดเชยปริมาณคาร์บอนฯ กรณีที่ประเทศส่งออกมีการพัฒนาระบบซื้อขายสิทธิการปล่อยคาร์บอน หรือมาตรการลดผลกระทบด้านสิ่งแวด้ลอมอื่นๆ ได้ และเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาเศรษฐกิจยั่งยืนในภาพรวม  


Scan QR Code


QR Code

หมายเหตุ

รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น

Econ Digest