Display mode (Doesn't show in master page preview)

16 มิถุนายน 2566

Econ Digest

ค่าเงินบาท และตลาดหุ้นไทย (สัปดาห์ที่ 12-16 มิ.ย. 66)

คะแนนเฉลี่ย

สรุปความเคลื่อนไหวค่าเงินบาท

  • เงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ขาดแรงหนุนเนื่องจากตลาดรอติดตามข้อมูลเงินเฟ้อ CPI ของสหรัฐฯ และผลการประชุมเฟดอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ดีเงินบาทอ่อนค่ากลับไปใกล้แนว 34.90 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงต่อมาท่ามกลางแรงหนุนเงินดอลลลาร์ฯ จาก dot plots ของเฟดซึ่งสะท้อนโอกาสการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ อีก 2 ครั้งในช่วงที่เหลือของปี แม้เฟดจะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ตามเดิมที่กรอบ 5.00-5.25% ในการประชุมเมื่อ 13-14 มิ.ย. ก็ตาม นอกจากนี้เงินบาทยังอ่อนค่าลงตามภาพรวมของสกุลเงินเอเชียตามทิศทางเงินหยวน อย่างไรก็ดี เงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่าอีกครั้งช่วงปลายสัปดาห์ หลังเงินดอลลาร์ฯ อ่อนค่าลงตามบอนด์ยีลด์ เนื่องจากตลาดกลับมารอติดตามข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ เพื่อหาสัญญาณยืนยันว่า เฟดจะสามารถปรับขึ้นดอกเบี้ยได้อีก 2 ครั้งตามที่ส่งสัญญาณไว้ตาม dot plots หรือไม่
  • สัปดาห์ระหว่างวันที่ 19-23 มิ.ย. 2566 KBank คาดกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 34.40-34.90 บาทต่อดอลลาร์ฯ ปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ ถ้อยแถลงของประธานเฟดต่อสภาคองเกรส ทิศทางเงินทุนต่างชาติ สถานการณ์การเมืองและตัวเลขการส่งออกเดือนพ.ค.ของไทย ผลการประชุม BOE การกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) ของธนาคารกลางจีน และข้อมูล PMI เบื้องต้นสำหรับเดือนมิ.ย. ของยูโรโซน อังกฤษ และสหรัฐฯ


สรุปความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นไทย

  • ดัชนีหุ้นไทยพลิกบวกช่วงปลายสัปดาห์ ทั้งนี้หุ้นไทยย่อตัวลงเล็กน้อยในช่วงแรก ก่อนจะดีดตัวขึ้นในเวลาต่อมาตามทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศ โดยมีปัจจัยหนุนจากการที่จีนประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยหลายประเภทเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดีหุ้นไทยย่อตัวลงอีกครั้งในช่วงระหว่างสัปดาห์ โดยมีแรงกดดันจากสัญญาณเตรียมปรับขึ้นดอกเบี้ยในระยะถัดไปของเฟด แม้การประชุมรอบล่าสุด เฟดจะมีมติคงดอกเบี้ยตามคาดก็ตาม ตลาดหุ้นไทยฟื้นตัวขึ้นบางส่วนช่วงปลายสัปดาห์ตามแรงหนุนของหุ้นกลุ่มพลังงาน อนึ่ง หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีปรับตัวขึ้นมากสุดในสัปดาห์นี้ จากแรงหนุนในหุ้นผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ ซึ่งได้รับอานิสงส์จากการปรับตัวขึ้นของหุ้นเทคฯ ในต่างประเทศ  
  • สัปดาห์ที่ 19-23 มิ.ย. 2566 KSecurities คาดแนวรับที่ 1,545 และ 1,530 จุด ขณะที่ แนวต้านอยู่ที่ 1,570 และ 1,585 จุด ตามลำดับ โดยปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ ถ้อยแถลงของประธานเฟดต่อสภาคองเกรส ทิศทางเงินทุนต่างชาติ และสถานการณ์การเมืองในประเทศ การกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ LPR เดือนมิ.ย. ของจีน การประชุม BOE รวมถึงดัชนี PMI เดือนมิ.ย. (เบื้องต้น) ของสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ยูโรโซน และอังกฤษ

Scan QR Code


QR Code

หมายเหตุ

รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น