Display mode (Doesn't show in master page preview)

18 กุมภาพันธ์ 2566

Econ Digest

ค่าเงินบาท และตลาดหุ้นไทย (สัปดาห์ที่ 13-17 ก.พ. 66)

คะแนนเฉลี่ย

สรุปความเคลื่อนไหวค่าเงินบาท

  • เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 1 เดือนครึ่งที่ 34.62 บาทต่อดอลลาร์ฯ หลังตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4/65 ของไทยขยายตัวเพียง 1.4%YoY ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของตลาดที่ 3.6% YoY ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ฟื้นตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งท่ามกลางข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาทิ CPI, PPI และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ที่ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาด ประกอบกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเฟดยังคงส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องเพื่อสกัดเงินเฟ้อ นอกจากนี้การอ่อนค่าของเงินบาทยังสอดคล้องกับสถานะขายสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติในระหว่างสัปดาห์ด้วยเช่นกัน  
  • สัปดาห์ระหว่างวันที่ 20-24 ก.พ. 2566 KBank คาดกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 34.15-35.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ สถานะการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในตลาดการเงินไทย ทิศทางสกุลเงินเอเชีย อัตราเงินเฟ้อที่วัดจากดัชนี PCE/Core PCE Price Index เดือนม.ค. ของสหรัฐฯ บันทึกการประชุมเฟด การกำหนดอัตราดอกเบี้ย LPR ของจีน รวมถึงดัชนี PMI ภาคการผลิต/บริการเบื้องต้นสำหรับเดือนก.พ. ของยูโรโซน อังกฤษ และสหรัฐฯ


สรุปความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นไทย

  • ดัชนีตลาดหุ้นไทยร่วงลงต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน ทั้งนี้ หุ้นไทยแกว่งตัวในกรอบแคบช่วงสั้นๆ ต้นสัปดาห์ ก่อนจะร่วงลงแรงในเวลาต่อมาท่ามกลางความกังวลว่าเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกอย่างน้อย 2 ครั้ง หลังตัวเลขเงินเฟ้อเดือนม.ค.ของสหรัฐฯ ชะลอตัวน้อยกว่าตลาดคาด อย่างไรก็ดี หุ้นไทยดีดตัวขึ้นช่วงสั้นๆระหว่างสัปดาห์ จากแรงซื้อหุ้นบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่แห่งหนึ่ง จากประเด็นเรื่องการแตกพาร์และผลประกอบการที่ออกมาดีกว่าคาด อนึ่ง หุ้นไทยย่อตัวลงอีกครั้งช่วงปลายสัปดาห์ หลังตัวเลขจีดีพีไทยปี 2565 โตต่ำกว่าคาด
  • สัปดาห์ที่ 20-24 ก.พ. 2566 KSecurities คาดแนวรับที่ 1,640 และ 1,630 จุด ขณะที่ แนวต้านอยู่ที่ 1,665 และ 1,675 จุด ตามลำดับ โดยปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ บันทึกการประชุมเฟด (31 ม.ค.-1 ก.พ.) ทิศทางเงินทุนต่างชาติ ดัชนี PCE/Core PCE Price Index ของสหรัฐฯ ดัชนี PMI (เบื้องต้น) เดือนก.พ. และตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4/65 (preliminary) ของสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ยูโรโซน และอังกฤษ

   

Scan QR Code


QR Code

หมายเหตุ

รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น