Display mode (Doesn't show in master page preview)

25 มีนาคม 2566

Econ Digest

ค่าเงินบาท และตลาดหุ้นไทย (สัปดาห์ที่ 20-24 มี.ค. 66)

คะแนนเฉลี่ย

สรุปความเคลื่อนไหวค่าเงินบาท

  • เงินบาทขยับอ่อนค่าลงในช่วงต้นสัปดาห์ตามแรงขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ อย่างไรก็ดี เงินบาทพลิกกลับมาแข็งขึ้นตามสกุลเงินเอเชียในภาพรวมหลังผลการประชุมเฟด ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงขายท่ามกลางการคาดการณ์ว่า เฟดใกล้ที่จะยุติวัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้น หลัง dot plot สะท้อนว่าเฟดอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 1 ครั้งก่อนสิ้นปีนี้ โดยเงินบาทหลุดระดับ 34.00 ช่วงสั้นๆ ไปแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 5 สัปดาห์ที่ 33.91 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ถูกกดดันจากการปรับตัวลงของบอนด์ยีลด์และปัญหาแบงก์ในสหรัฐฯ อย่างไรก็ดีกรอบการแข็งค่าของเงินบาทเป็นไปอย่างจำกัดในช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากตลาดกลับมากังวลเกี่ยวกับปัญหาของธนาคารในฝั่งยุโรป และรอติดตามผลการประชุมกนง.วันที่ 29 มี.ค. นี้ ด้วยเช่นกัน  
  • สัปดาห์ระหว่างวันที่ 27-31 มี.ค. 2566 KBank คาดกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 33.80-34.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ ปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ ผลการประชุมกนง. รายงานเศรษฐกิจการเงินและตัวเลขการส่งออกของไทยในเดือนก.พ. พัฒนาการปัญหาของแบงก์ในสหรัฐฯ ทิศทางเงินทุนต่างชาติและสกุลเงินเอเชีย อัตราเงินเฟ้อที่วัดจาก PCE/Core PCE Price Index เดือนก.พ. ของสหรัฐฯ ข้อมูลอัตราเงินเฟ้อเดือนมี.ค. ของยูโรโซน รวมถึงดัชนี PMI ภาคการผลิต/บริการเดือนมี.ค. ของจีน


สรุปความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นไทย

  • หุ้นไทยย่อตัวลงสั้นๆ ช่วงต้นสัปดาห์ ก่อนจะทยอยปรับตัวขึ้นในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ โดยมีปัจจัยหนุนจากผลการประชุมเฟดที่ปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% ตามที่ตลาดคาดและส่งสัญญาณใกล้จบแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น ความพยายามของทางการในการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินทั้งในฝั่งสหรัฐฯ และสวิตเซอร์แลนด์ รวมถึงการที่กกต.ประกาศวันเลือกตั้งทั่วไปอย่างเป็นทางการ โดยปัจจัยบวกข้างต้นกระตุ้นแรงซื้อคืนหุ้นทุกกลุ่ม ขณะที่หุ้นกลุ่มพลังงานปรับขึ้นมากสุด เนื่องจากมีแรงหนุนเพิ่มเติมจากราคาน้ำมันโลกที่ปรับเพิ่มขึ้นรับโอกาสความเป็นไปได้ที่โอเปกพลัสจะปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันลง อย่างไรก็ดีหุ้นไทยลดช่วงบวกลงเล็กน้อยปลายสัปดาห์ตามทิศทางหุ้นภูมิภาค
  • สัปดาห์ที่ 27-31 มี.ค. 2566 KSecurities คาดแนวรับที่ 1,580 และ 1,570 จุด ขณะที่ แนวต้านอยู่ที่ 1,600 และ 1,615 จุด ตามลำดับ โดยปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ การประชุมกนง. (29 มี.ค.) ตัวเลขส่งออกเดือนก.พ. ของไทย ทิศทางเงินทุนต่างชาติ ดัชนี PCE/Core PCE Price Index เดือนก.พ.ของสหรัฐฯ ตัวเลขเงินเฟ้อ (เบื้องต้น) เดือนมี.ค. ของยูโรโซน และดัชนี PMI เดือนมี.ค. ของจีน

Scan QR Code


QR Code

หมายเหตุ

รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น