Display mode (Doesn't show in master page preview)

27 กุมภาพันธ์ 2563

Econ Digest

ไทยต้องเร่ง พัฒนาสินค้าและบริการ ให้ทันการแข่งขันใน CLMV (KR CLMV Economic Presence Index Analysis)

คะแนนเฉลี่ย

​                   ความสามารถทางการแข่งขันของสินค้าส่งออกไทยใน CLMV อยู่ในทิศทางที่ลดลงเมื่อเทียบกับพลวัตการส่งออกของกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกที่ขึ้นมาครองสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 50 ของการนำเข้าของ CLMV ในปี 2561 เพิ่มขึ้นจากเพียงร้อยละ 17 ในปี 2558 หรือในเวลาเพียง 3 ปี โดยปัจจัยหลักมาจากการที่โครงสร้างสินค้าส่งออกของไทยไป CLMV ยังเน้นหนักไปที่สินค้าโภคภัณฑ์อย่างน้ำมันสำเร็จรูปหรือทองคำ รวมถึงอาหารและเครื่องดื่ม และสินค้าอุปโภคบริโภคที่อาจมีมูลค่าเพิ่มไม่สูงมากนัก อาทิ น้ำดื่มบรรจุขวด ผลไม้ ซึ่งการส่งออกสินค้าประเภทข้างต้นอาจถึงจุดอิ่มตัวได้ตามจำนวนประชากร แตกต่างจากสินค้าส่งออกจากทั้งญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ที่เน้นหนักในหมวดสินค้าขั้นกลางที่มีมูลค่าเพิ่มค่อนข้างสูง นอกจากนี้ การลงทุนโดยตรงในภาคการผลิตของไทยใน CLMV ที่เน้นหนักไปในการผลิตอาหารและการผลิตเคมีภัณฑ์ที่ส่วนมากเน้นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติใน CLMV มาเป็นวัตถุดิบ จึงไม่ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงทางด้านห่วงโซ่การผลิตที่เป็นรูปธรรม อีกทั้ง ประเภทสินค้าขั้นกลางที่ไทยส่งออกไปยัง CLMV ส่วนมากอาจไม่ได้เชื่อมโยงกับการลงทุนโดยตรงจากไทยอย่างชัดเจน อาทิ ยางพารา เคมีภัณฑ์เพื่อการเกษตร วงจรรวม

 ​ ​การลงทุนโดยตรงในภาคการผลิตของไทยใน CLMV ที่มีความเชื่อมโยงด้านห่วงโซ่อุปทานกับ CLMV ค่อนข้างน้อยนี้ ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทยในปัจจุบันที่เน้นการเป็นผู้รับจ้างผลิตหรือ OEM นั้นส่งผลทำให้ความสามารถของผู้ประกอบการไทยในต่างประเทศมีจำกัดจนอาจยังไม่สามารถก้าวขึ้นไปสู่จุดที่สามารถพัฒนาจนเกิดสินค้าและสายการผลิตใหม่ภายใต้รูปแบบและตราสินค้าของตนเอง (Original Brand Manufacturer: OBM) ได้ ดังนั้นาร ปฏิรูปอุตสาหกรรมรอบใหม่" ด้วยการดึงดูด FDI ในอุตสาหกรรมแห่งอนาคต จึงเป็นความหวังที่น่าจะช่วยเสริมความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการไทยด้วยการผสมผสานงานวิจัยที่ใช้งานได้จริง เข้ากับการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อให้เกิดวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ที่มีผลิตภัณฑ์และบริการของตนที่สามารถขยายตลาดหรือธุรกิจออกไปในต่างประเทศได้อย่างยั่งยืน​


Scan QR Code


QR Code

หมายเหตุ

รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น

Econ Digest