Display mode (Doesn't show in master page preview)

30 พฤษภาคม 2566

Econ Digest

บทสรุป...ประชุม G7 ตอกย้ำประเด็นทางภูมิรัฐศาสตร์

คะแนนเฉลี่ย

​        การประชุม G7 ประจำปี 2566 ที่เมืองฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 19-21 พฤษภาคม 2566 ได้มีการตอกย้ำถึงประเด็นความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เข้มข้นขึ้น โดยส่งสัญญาณให้การสนับสนุนยูเครนในด้านต่างๆ เพิ่มมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย การแสดงจุดยืนที่จะสกัดบทบาทในด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของจีนในเวทีโลก รวมถึงการเดินหน้ากระชับความสัมพันธ์กับประเทศในซีกโลกใต้ (Global South) หรือกลุ่มประเทศเกิดใหม่ที่มีรายได้น้อย-ปานกลางที่จีนมีอิทธิพลอยู่ เช่น กลุ่มละตินอเมริกา แอฟริกา โดยการให้การช่วยเหลือด้านการเงิน สร้างความร่วมมือด้านพลังงานและอาหาร ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีมุมมองต่อประเด็นการประชุม G7 ที่ภาคธุรกิจต้องเตรียมพร้อมรับมือกับความไม่แน่นอนอย่างน้อย 3-5 ปี โดยท่าทีของ G7 สะท้อนว่าประเด็นภูมิรัฐศาสตร์โลกจะยังคงเป็นชนวนสำคัญที่สร้างความเปราะบางให้กับเศรษฐกิจโลกในระยะกลาง-ระยะยาว ห่วงโซ่อุปทานการผลิตโลกถูกแบ่งเป็น 2 ขั้วชัดขึ้น ซึ่งในระยะเปลี่ยนผ่านไทยน่าจะได้รับอานิสงส์การลงทุนบางส่วนจากการปรับเปลี่ยนห่วงโซ่อิเล็กทรอนิกส์ใหม่ ส่วนในระยะกลาง-ระยะยาวโอกาสรับเม็ดเงินลงทุนใหม่ในกลุ่มเทคโนโลยีใหม่คงต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนักลงทุนที่เล็งเห็นโอกาสจากประเทศผู้รับทุนเป็นหลัก และผลพวงของความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ส่งผลให้มีสัญญาณหันมาใช้เงินสกุลท้องถิ่นในการชำระเงินเพื่อการค้าระหว่างประเทศ ลดความเสี่ยงจากการใช้เงินดอลลาร์ฯ ซึ่งในระยะข้างหน้าสกุลเงินหยวนอาจจะมีบทบาทมากขึ้นในการเป็นสกุลเงินภูมิภาค ในขณะที่กลุ่มประเทศเศรษฐกิจกำลังพัฒนาในซีกโลกใต้กำลังเป็นที่หมายตาของทั่วโลก นับเป็นโอกาสที่ธุรกิจไทยไม่ควรมองข้ามในการจับตลาดใหม่ที่กำลังเติบโต ซึ่งประเทศเหล่านี้มีทั้งตลาดขนาดใหญ่และเศรษฐกิจที่ยังมีแนวโน้มเติบโตได้ดีในระยะยาว

 


Click ชมคลิป บทสรุป...ประชุม G7 ตอกย้ำประเด็นทางภูมิรัฐศาสตร์

Scan QR Code


QR Code

หมายเหตุ

รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น

Econ Digest