Display mode (Doesn't show in master page preview)

13 กุมภาพันธ์ 2563

Econ Digest

ศูนย์ซ่อมบำรุง อากาศยานอู่ตะเภา เฟส1

คะแนนเฉลี่ย
​​            ไทยเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการบินสำคัญของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่มีแนวโน้มการเติบโตของเครื่องบินในภูมิภาคและความต้องการซ่อมบำรุงอากาศยานในปริมาณสูงในอนาคต โดยจากสถานการณ์ล่าสุดคาดว่าโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภาของไทยจะสามารถลงนามในสัญญาร่วมกันได้ในช่วงกลางปี 2563 และเริ่มให้บริการเฟสแรกในปี 2566 อันเป็นโอกาสให้ไทยกลายเป็นฐานซ่อมบำรุงอากาศยานที่รองรับเครื่องบินจำนวนมากจากทั้งในและนอกภูมิภาค
 
              อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการแข่งขันในอุตสาหกรรมดังกล่าวเริ่มรุนแรงมากขึ้น หลายประเทศในอาเซียนต่างก็พัฒนาตัวเองขึ้นเป็นฐานการลงทุนที่น่าสนใจ ดังนั้น ไทยต้องสร้างจุดแข็งที่แตกต่างเพื่อเพิ่มโอกาสการแข่งขัน โดยเฉพาะการเน้นตลาดซ่อมบำรุงเครื่องบินลำตัวกว้าง ขณะที่หลายประเทศในภูมิภาคกำลังเน้นลงทุนในการซ่อมบำรุงเครื่องบินลำตัวแคบ นอกจากนี้ ไทยควรมุ่งพัฒนาศักยภาพแรงงานด้านการซ่อมบำรุงทั้งจำนวนและคุณภาพ เพื่อรองรับความต้องการในอนาคต ที่คาดว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า ความต้องการช่างเทคนิคด้านอากาศยานในภูมิภาคนี้มีโอกาสเพิ่มขึ้นอีกกว่า 269,000 ตำแหน่ง

               ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า หากโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภาในไทยเฟสแรกที่เน้นการซ่อมบำรุงเครื่องบินลำตัวกว้างเดินหน้าได้ตามแผน น่าจะทำให้มีเครื่องบินเข้ามารับบริการในศูนย์ดังกล่าวเป็นจำนวนกว่า 80 ถึง 100 ลำต่อปี ซึ่งจะช่วยสร้างมูลค่าการซ่อมบำรุงอากาศยานของไทยให้เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 292 ถึง 365 ล้านดอลลาร์ฯ จากปัจจุบันที่มีมูลค่า 400 ล้านดอลลาร์ฯ และมีโอกาสจะเพิ่มขึ้นอีกมากในอนาคต
    ​​            

Scan QR Code


QR Code

หมายเหตุ

รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น

Econ Digest