Display mode (Doesn't show in master page preview)

17 มกราคม 2566

Econ Digest

จุดชาร์จรถไฟฟ้า...ความจำเป็นเร่งด่วน รองรับรถยนต์ PHEV และ BEV สะสมที่อาจสูงถึง 3 แสนคันในปี 68

คะแนนเฉลี่ย

        ไทยกำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมรถยนต์พลังงานสะอาด โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ปี 2568 จำนวนรถยนต์ PHEV และ BEV สะสมในประเทศอาจพุ่งไปสูงถึง 300,000 คัน ด้วยสัดส่วนของรถยนต์ PHEV : BEV ที่ 40:60 ซึ่งทำให้ความต้องการชาร์จไฟฟ้าในประเทศจะเร่งตัวขึ้น ดังนั้นการพัฒนาจุดชาร์จไฟสาธารณะจึงเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วน ทว่าการพิจารณาว่าจำนวนจุดชาร์จไฟสาธารณะเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอในแต่ละพื้นที่นั้นไม่สามารถมองเพียงแค่จำนวนรถยนต์ EVs แบบเสียบปลั๊กที่เพิ่มขึ้นในพื้นที่ แต่ยังต้องมองถึงสัดส่วนรถยนต์ PHEV : BEV ปริมาณรถยนต์ขนส่งบุคคล/สินค้าที่เปลี่ยนมาใช้ BEV และต้องวิ่งอยู่ในพื้นที่นั้น ขนาดของพื้นที่และความหนาแน่นของประชากรที่บ่งชี้ถึงลักษณะของที่อยู่อาศัยว่าจะสามารถติดตั้ง Wall Charger ส่วนตัวได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งเหล่านี้มีผลต่อความต้องการใช้จุดชาร์จในที่สาธารณะ

        ทั้งนี้ หากเทียบเคียงกับตัวอย่างในต่างประเทศ โดยนำความหนาแน่นประชากรกับปริมาณและประเภทรถที่มีของไทยมาคำนวณแล้ว จำนวนช่องจอดชาร์จไฟสาธารณะที่เหมาะสมทั่วประเทศ ควรต้องมีสะสมไม่น้อยกว่า 19,000 ช่องจอด แบ่งเป็นในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลไม่ต่ำกว่า 14,000 ช่องจอด เพื่อรองรับปริมาณรถยนต์ไฟฟ้าเสียบปลั๊กสะสมข้างต้น

        อย่างไรก็ดี แม้จะคาดว่าจำนวนจุดชาร์จไฟสาธารณะน่าจะมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นมาก แต่ผู้ซื้อรถยนต์ PHEV และ BEV ยุคบุกเบิกส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มติดตั้ง Wall Charger ส่วนตัวในที่พัก ทำให้โอกาสที่จะใช้จุดชาร์จนอกบ้านอาจยังมีน้อย ประกอบกับยังมีความท้าทายด้านการลงทุนในเรื่องพื้นที่ติดตั้งที่คุ้มค่า ซึ่งในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลอาจหาพื้นที่ใหม่ได้ยาก ส่วนในพื้นที่อื่นของประเทศ แม้มีพื้นที่ แต่ความต้องการหรือความถี่ของการใช้งานอาจไม่มากพอจนคุ้มที่จะลงทุน ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงมองว่า จนถึงปี 2568 จำนวนช่องจอดชาร์จไฟสาธารณะสะสมอาจต่ำกว่าตัวเลขที่มองไว้ข้างต้น ซึ่งผู้ประกอบการที่มีแผนจะลงทุนอาจต้องพิจารณาองค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบ

 


Click
 ชมคลิป จุดชาร์จรถไฟฟ้า...ความจำเป็นเร่งด่วน รองรับรถยนต์ PHEV และ BEV สะสมที่อาจสูงถึง 3 แสนคันในปี 68

Scan QR Code


QR Code

หมายเหตุ

รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น