Display mode (Doesn't show in master page preview)

14 มกราคม 2564

Econ Digest

ตัดอ้อยสดด้วยเครื่องจักรกล ลดฝุ่น...PM 2.5 เพิ่มมูลค่า...ผลผลิต

คะแนนเฉลี่ย
การตัดอ้อยส่งโรงงานน้ำตาล นิยมใช้วิธีเผาอ้อยก่อนตัด โดย “อ้อยไฟไหม้” มีสัดส่วนเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 63.3 ในช่วง 10 ปีการผลิตที่ผ่านมา ซึ่งเกษตรกรนอกจากจะถูกหักค่าอ้อยในเรื่องคุณภาพแล้ว ยังเป็นการเพิ่มฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่อีกด้วย ดังนั้น หากมีการส่งเสริมให้ใช้เครื่องจักรตัดอ้อยสด นอกจากช่วยลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 ได้ระดับหนึ่งแล้ว ยังช่วยให้เกษตรกรมีผลต่างรายได้สุทธิราว 74,550 บาทต่อครัวเรือน จากอ้อยสดและใบอ้อย เมื่อเทียบกับการตัดอ้อยไฟไหม้ 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่า การสนับสนุนให้มีการตัดอ้อยสดเข้าโรงงาน  จำเป็นต้องเพิ่มเครื่องจักรให้เพียงพอต่อการตัดอ้อยสด ซึ่งปัจจุบันมีประมาณ  2,000-2,500 คัน จากจำนวนที่ควรมีคือ 3,400-4,500 คัน นอกจากนี้ การสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรชาวไร่อ้อย ปรับเปลี่ยนสภาพพื้นที่การเพาะปลูก ไปสู่รูปแบบการปลูกใหม่ที่เหมาะสำหรับการนำเครื่องจักรมาใช้เก็บเกี่ยว ก็เป็นสิ่งสำคัญ

ความท้าทายของการทำให้เกิดการลงทุนเพิ่มรถตัดอ้อย ที่มีราคาค่อนข้างสูงถึง 8-12 ล้านบาท ในเบื้องต้น หน้าที่นี้อาจจะต้องเป็นของโรงงานน้ำตาล หรืออาจลงทุนร่วมกับเกษตรกรรายใหญ่ โดยภาครัฐต้องเข้ามาสนับสนุน อาทิ เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ หรือ มาตรการด้านภาษี รวมถึงส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา การผลิตเครื่องตัดอ้อยให้มีราคาถูกลง เกษตรกรจะได้เข้าถึงมากขึ้น และควรส่งสัญญาณที่ชัดเจนไปถึงชาวไร่อ้อย เกี่ยวกับสัดส่วนอ้อยสดและอ้อยไฟไหม้ ที่ต้องทำได้ในแต่ละปี โดยมีมาตรการบังคับที่ชัดเจนและจริงจัง ซึ่งจะทำให้สัดส่วนอ้อยไฟไหม้ลดลงหรือหมดไปในระยะข้างหน้า











     


                                                                                                                                                   ​  ขอบคุณภาพจาก  Shutterstock.com​



Scan QR Code


QR Code

หมายเหตุ

รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น

Econ Digest