21 พฤศจิกายน 2565
สถาบันการเงิน
หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ตั้งแต่รอบการประชุมเดือนสิงหาคมและกันยายน 2565 ครั้งละ 0.25% รวมเป็น 0.50% จนทำให้ปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยยืนอยู่ที่ 1.00% นั้น ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ส่วนใหญ่ยังไม่ได้ปรับอัตราดอกเบี้ยตามในทันทีในระยะแรกๆ อย่างไรก็ดี ในเดือนตุลาคม 2565 การปรับอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารพาณิชย์เริ่มหนาตามากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ทั้งนี้ จำนวนแคมเปญเงินฝากพิเศษหนาตาขึ้นตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 โดยส่วนใหญ่เป็นการออกแคมเปญของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่และขนาดเล็กเป็นหลัก ซึ่งแม้ว่าส่วนหนึ่งอาจเป็นการออกเพื่อชดเชยโครงการ/แคมเปญเงินฝากที่ครบกำหนด หรือเตรียมจะครบกำหนด แต่เมื่อหักปัจจัยดังกล่าวแล้ว ก็ยังพบว่า มีสัญญาณการออกแคมเปญเงินฝากที่เร่งตัวขึ้น ... อ่านต่อ
FileSize KB
30 ธันวาคม 2564
จากข้อมูลเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนล่าสุด สะท้อนว่า แม้ครัวเรือนไทยจะยังคงก่อหนี้เพิ่มขึ้น แต่ก็มีสัญญาณระมัดระวังมากขึ้นสอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่ยังคงได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 โดยยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนไทยในไตรมาส 3/2564 อยู่ที่ระดับ 14.35 ล้านล้านบาท ขยับขึ้นประมาณ 4.2% YoY เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงเมื่อเทียบกับที่เติบโต 5.1% YoY ในไตรมาส 2/2564 นอกจากนี้ยังเป็นที่น่าสังเกตว่า ระดับหนี้สินของครัวเรือนที่ขยับขึ้นในไตรมาส 3/2564 นั้นยังใกล้เคียงกับการเพิ่มขึ้นของมูลค่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน ซึ่งภาพดังกล่าวส่งผลทำให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีในช่วงไตรมาส 3/2564 ยังคงทรงตัวอยู่ที่ระดับประมาณ 89.3% เท่ากับในไตรมาสที่ 2/2564 ที่ผ่านมา... อ่านต่อ
25 พฤศจิกายน 2562
สินเชื่อสุทธิในเดือน ต.ค. 2562 ลดลงจากเดือนก่อน 8.77 หมื่นล้านบาท ท่ามกลางแรงกดดันของสินเชื่อในแทบทุกธนาคาร โดยเฉพาะจากการชำระคืนสินเชื่อของภาคธุรกิจ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และรัฐบาล อย่างไรก็ดี สินเชื่อรายย่อย อาทิ สินเชื่อส่วนบุคคล และสินเชื่อไม่มีหลักประกันอื่นๆ ยังขยายตัวสูงตามปัจจัยฤดูกาล ซึ่งจากภาพดังกล่าวทำให้ยอดคงค้างสินเชื่อสุทธิ ณ เดือน ต.ค. 2562 ชะลอลงมาที่ 11.702 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียง 2.40% YoY จากช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งนับเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบกว่า 2 ปี สอดคล้องกับสัญญาณอ่อนแอของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาพรวม ... อ่านต่อ
7 พฤษภาคม 2562
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า บริบทความคุ้มทุนของธุรกิจเอทีเอ็มเริ่มลดลงตั้งแต่ปี 2560 เนื่องจากตู้เอทีเอ็มที่ให้บริการในบางจุดเริ่มถูกแทนที่ด้วยโมบายแบงก์กิ้ง ซึ่งหากตู้เอทีเอ็มที่เกิดความไม่คุ้มทุนมีจำนวนเพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้าอาจกระทบต่อรูปแบบการดำเนินธุรกิจเอทีเอ็มในอนาคตให้เปลี่ยนแปลงไปจากรูปแบบปัจจุบัน ซึ่งขึ้นอยู่กับการชั่งน้ำหนักปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการ อย่างไรก็ตาม หากความต้องการใช้เงินสดลดลงอย่างรวดเร็วอาจเป็นปัจจัยที่เร่งให้การประกอบธุรกิจเอทีเอ็มในอนาคตเกิดขึ้นในลักษณะการใช้ตู้เอทีเอ็มร่วมกันระหว่างธนาคาร ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ทุก ๆ การลดลง 5% ของจำนวนตู้เอทีเอ็มที่มีทั่วประเทศในปัจจุบัน จะช่วยลดต้นทุนทั้งหมดในการประกอบธุรกิจเอทีเอ็มให้แก่สถาบันการเงินทั้งระบบได้ 5,220 – 5,880 ล้านบาทต่อปี ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.03 ต่อจีดีพีโดยประมาณ อย่างไรก็ดี ต้นทุนที่จะลดลงยังคงขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้เอทีเอ็มร่วมกันในอนาคตตามกฎระเบียบข้อบังคับของทางการที่จะประกาศใช้ในระยะข้างหน้า และการเจรจาร่วมกันระหว่างธนาคารพาณิชย์และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ... อ่านต่อ