15 พฤศจิกายน 2562
ตลาดการเงิน
เงินบาททยอยแข็งค่า โดยเงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นสอดคล้องกับทิศทางเงินเยนซึ่งเป็นสกุลเงินปลอดภัย ที่ได้รับแรงหนุนท่ามกลางความกังวลต่อสถานการณ์การเจรจาการค้าของสหรัฐฯ-จีน ซึ่งมีสัญญาณเชิงลบตั้งแต่ช่วงต้นสัปดาห์ที่ปธน. โดนัลด์ ทรัมป์ ออกมากล่าวว่ายังไม่มีการตอบตกลงเรื่องการทยอยลดภาษีสินค้านำเข้าจากจีน และสหรัฐฯ อาจปรับเพิ่มภาษีอีกครั้ง หากสองประเทศไม่บรรลุข้อตกลงทางการค้าเฟสแรกระหว่างกัน อย่างไรก็ดี เงินบาทกลับมาทรงตัวในกรอบแคบๆ ในช่วงปลายสัปดาห์ ขณะที่นักลงทุนยังคงรอประเมินความคืบหน้าของดีลการค้าของสหรัฐฯ-จีนอย่างใกล้ชิด ... อ่านต่อ
FileSize KB
1 พฤศจิกายน 2562
เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ใกล้แนว 30.15 บาทต่อดอลลาร์ฯ ซึ่งเป็นระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 6 ปีที่ทำไว้ในช่วงก่อนหน้านี้ โดยเงินบาทอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ ต้นสัปดาห์ สอดคล้องกับแรงขายเงินเยนซึ่งเป็นสกุลเงินปลอดภัย หลังมีรายงานข่าวระบุว่า สหรัฐฯ และจีนใกล้ที่จะบรรลุดีลการค้าเบื้องต้นระหว่างกัน อย่างไรก็ดี เงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นในช่วงต่อมา ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงเทขายต่อเนื่องหลังการประชุมเฟด ซึ่งมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ เป็นครั้งที่ 3 ของปีนี้ตามที่ตลาดคาดลงมาที่กรอบ 1.50-1.75% นอกจากนี้เงินดอลลาร์ฯ ยังมีปัจจัยลบจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาอ่อนแอกว่าที่ตลาดคาดด้วยเช่นกัน... อ่านต่อ
9 สิงหาคม 2562
เงินบาทแข็งค่าขึ้น โดยเงินบาทได้รับแรงหนุนในช่วงต้นสัปดาห์จากแรงขายเงินดอลลาร์ฯ หลังตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ออกมาอ่อนแอกว่าที่คาด ประกอบกับตลาดมีความกังวลต่อสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีนมากขึ้น เงินบาทยังคงแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ (แม้ว่าจะมีจังหวะอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ หลังกนง. มีมติปรับลดดอกเบี้ยนอกเหนือการคาดการณ์ของตลาดลงมาที่ 1.50%) โดยเงินบาทน่าจะมีแรงหนุนบางส่วนจากแรงขายเงินดอลลาร์ฯ ของผู้ส่งออก จังหวะการเข้าซื้อพันธบัตรไทยของต่างชาติในระหว่างสัปดาห์ และทิศทางเงินดอลลาร์ฯ ที่ยังอ่อนแอเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก ขณะที่ สกุลเงินในภูมิภาคบางส่วนเริ่มฟื้นตัวขึ้น จากที่อ่อนค่าลงตามเงินหยวนในช่วงต้นสัปดาห์ ... อ่านต่อ
2 สิงหาคม 2562
เงินบาทกลับมาอ่อนค่าลงหลังผลการประชุมเฟด โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นช่วงต้นสัปดาห์ท่ามกลางแรงซื้อเงินดอลลาร์ฯ ที่ชะลอลงระหว่างที่ตลาดรอติดตามผลการประชุมเฟดและการเจรจาการค้าสหรัฐฯ-จีน อย่างไรก็ดี เงินบาทพลิกกลับมาอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ หลังจากที่ถ้อยแถลงของประธานเฟดยังไม่สะท้อนถึงโอกาสของการปรับลดดอกเบี้ยในครั้งต่อไป แม้เฟดจะมีการปรับลดดอกเบี้ยในการประชุมรอบล่าสุดก็ตาม สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ เงินบาทอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ สอดคล้องกับสกุลเงินในภูมิภาคท่ามกลางสัญญาณตึงเครียดของสงครามการค้า แต่ลดช่วงติดลบกลับมาได้เกือบทั้งหมด ก่อนการรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ... อ่านต่อ
31 พฤษภาคม 2562
เงินบาทแข็งค่าขึ้น หลังขยับอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงแรก โดยเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงต้นสัปดาห์ สอดคล้องกับทิศทางของสกุลเงินเอเชียบางส่วนที่เผชิญแรงกดดันจากสัญญาณความตึงเครียดของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน อย่างไรก็ดี เงินบาทสามารถทยอยแข็งค่ากลับมาในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ โดยได้รับแรงหนุนจากแรงซื้อสุทธิหุ้น และพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ อนึ่ง กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้เปิดเผยรายงานทบทวนนโยบายเศรษฐกิจและอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศคู่ค้าของสหรัฐฯ ซึ่งไทยไม่ติดอยู่ในบัญชีรายชื่อที่ถูกติดตาม (Monitoring List) ตามที่มีความกังวลในช่วงก่อนหน้านี้ ... อ่านต่อ
26 เมษายน 2562
เงินบาททยอยอ่อนค่าไปที่ 32.10 บาทต่อดอลลาร์ฯ ซึ่งเป็นระดับอ่อนค่าสุดในรอบเกือบ 4 เดือน ก่อนจะฟื้นตัวกลับมาบางส่วนปลายสัปดาห์ โดยการอ่อนค่าของเงินบาทสอดคล้องกับสถานะขายสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ และสกุลเงินอื่นๆ ในเอเชีย ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ มีปัจจัยบวกจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าที่คาด ประกอบกับมีแรงหนุนเพิ่มเติม หลังเงินยูโร ถูกกดดันจากสัญญาณชะลอตัวของเศรษฐกิจเยอรมนีและยูโรโซนในภาพรวม อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงอ่อนค่าและฟื้นตัวกลับมาได้เล็กน้อยในช่วงท้ายสัปดาห์ ... อ่านต่อ
12 เมษายน 2562
เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้น เงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ สอดคล้องกับสถานะซื้อสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ มีปัจจัยลบจากตัวเลขยอดสั่งซื้อสินค้าภาคโรงงานของสหรัฐฯ เดือนก.พ. ที่หดตัวลง อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงบวกลงเล็กน้อยในช่วงกลางสัปดาห์ท่ามกลางสัญญาณขายสุทธิพันธบัตรไทยของต่างชาติ ขณะที่ การปรับลดประมาณการเศรษฐกิจโลกปีนี้ของ IMF ลงมาที่ 3.3% เพิ่มแรงกดดันต่อสกุลเงินในภูมิภาค เงินบาทฟื้นตัวขึ้นอีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับค่าเงินหยวน หลังตัวเลขส่งออกเดือนมี.ค. ของจีน ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาด ... อ่านต่อ
2 พฤศจิกายน 2561
เงินบาทแข็งค่ากลับมาช่วงปลายสัปดาห์ โดยเงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 2 เดือนครึ่งที่ 33.32 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงแรก ตามทิศทางเงินเอเชียและเงินหยวน หลังมีข่าวว่า สหรัฐฯ เตรียมวางแผนเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนรอบใหม่ นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ฯ มีแรงหนุนเพิ่มเติมจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดี โดยเฉพาะตัวเลขเงินเฟ้อที่วัดจากดัชนี Core PCE Price Index อย่างไรก็ดี เงินบาททยอยแข็งค่ากลับมาในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ท่ามกลางแรงซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของต่างชาติ ประกอบกับมีปัจจัยบวกจากดุลบัญชีเดินสะพัดไทยที่เกินดุลเพิ่มขึ้นในเดือนก.ย. ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ กลับมาเผชิญแรงกดดัน สวนทางภาพการฟื้นตัวของสินทรัพย์เสี่ยงท่ามกลางความหวังต่อผลการเจรจาการค้าของสหรัฐฯ-จีน ... อ่านต่อ
26 ตุลาคม 2561
เงินบาททยอยอ่อนค่าจนหลุดแนว 33.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทเผชิญแรงกดดันจากข้อมูลการส่งออกไทยที่ออกมาหดตัวกว่าที่คาด ประกอบกับมีปัจจัยลบตลอดสัปดาห์จากแรงขายสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ ได้รับแรงหนุนจากการเลี่ยงความเสี่ยงของนักลงทุนท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับความขัดแย้งเรื่องแผนงบประมาณของอิตาลี และสหภาพยุโรป และการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ฯ ยังมีปัจจัยบวกเพิ่มเติมช่วงปลายสัปดาห์จากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ อาทิ ข้อมูลการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย และยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน ที่เพิ่มสูงขึ้นในเดือนก.ย.... อ่านต่อ
12 ตุลาคม 2561
เงินบาทฟื้นตัวขึ้นช่วงปลายสัปดาห์ โดยเงินบาทขยับอ่อนค่าลงในช่วงแรกตามทิศทางค่าเงินหยวน และสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค ขณะที่ในช่วงดังกล่าว เงินดอลลาร์ฯ ยังได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์เกี่ยวกับแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟด อย่างไรก็ดี เงินบาทฟื้นตัวกลับมาแข็งค่าขึ้นในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ ท่ามกลางแรงขายเงินดอลลาร์ฯ หลังจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ อ่อนแอกว่าตัวเลขคาดการณ์ของตลาด อาทิ อัตราเงินเฟ้อที่วัดจากดัชนี CPI และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ เงินหยวนที่กลับมาเคลื่อนไหวในกรอบที่มีเสถียรภาพมากขึ้นกว่าในช่วงต้นสัปดาห์ ก็เป็นปัจจัยบวกต่อค่าเงินในภูมิภาคและเงินบาทด้วยเช่นกัน... อ่านต่อ
5 ตุลาคม 2561
เงินบาทอ่อนค่าทดสอบแนว 32.85 บาทต่อดอลลาร์ฯ เงินบาทอ่อนค่าลงสอดคล้องกับทิศทางของสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค และสถานะขายสุทธิในตลาดหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่ ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่งกว่าที่คาด (อาทิ ตัวเลขดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคบริการ ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชน) เป็นปัจจัยบวกของค่าเงินดอลลาร์ฯ และหนุนให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี ... อ่านต่อ
7 กันยายน 2561
เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ แต่อ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน โดยเงินบาทขยับอ่อนค่าลง สอดคล้องกับสกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาค ที่เผชิญแรงกดดันจากความกังวลต่อความเปราะบางของเศรษฐกิจและสกุลเงินของประเทศในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ มีแรงหนุนจากสถานการณ์ข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และคู่ค้า ทั้งประเด็นกับจีนและแคนาดา ที่ยังอยู่ระหว่างการรอแนวทางสรุปที่ชัดเจน นอกจากนี้ แรงขายสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ ก็เป็นปัจจัยกดดันเงินบาทในระหว่างสัปดาห์ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี กรอบการอ่อนค่าของเงินบาทเป็นไปอย่างจำกัดในช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาอ่อนแอกว่าที่ตลาดคาด กระตุ้นแรงขายเงินดอลลาร์ฯ เพื่อปรับโพสิชันก่อนการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ปลายสัปดาห์... อ่านต่อ
26 กรกฎาคม 2561
เงินบาททยอยแข็งค่าขึ้น โดยการฟื้นตัวของเงินบาทเป็นทิศทางที่สอดคล้องกับสกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาค ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงขาย หลังจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวว่า แนวโน้มการคุมเข้มนโยบายการเงินของเฟด อาจมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ ที่แข็งค่าขึ้น อาจทำให้สหรัฐฯ สูญเสียความสามารถในการแข่งขัน นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ฯ ยังมีปัจจัยลบในระหว่างสัปดาห์จากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาอ่อนแอกว่าที่คาด อาทิ ดัชนี PMI เดือนก.ค. และยอดขายบ้านใหม่เดือนมิ.ย. ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าได้ต่อเนื่องจนถึงช่วงท้ายๆ สัปดาห์ ขณะที่ นักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิพันธบัตรและหุ้นไทย ... อ่านต่อ
6 กรกฎาคม 2561
เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 8 เดือนครั้งใหม่ที่ 33.29 บาทต่อดอลลาร์ฯ เงินบาทและสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาคทยอยอ่อนค่าลง สอดคล้องกับแรงขายสินทรัพย์เสี่ยง และการอ่อนค่าของเงินหยวน (แม้ธนาคารกลางจีนได้ออกมาส่งสัญญาณเข้าดูแลเสถียรภาพค่าเงินก็ตาม) ท่ามกลางความกังวลต่อประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน เนื่องจากมาตรการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนของสหรัฐฯ เริ่มมีผลบังคับใช้ตามกำหนดในวันที่ 6 ก.ค. 2561 อย่างไรก็ดี กรอบการอ่อนค่าของเงินบาทเริ่ม... อ่านต่อ
29 มิถุนายน 2561
เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 8 เดือนที่ 33.22 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยการอ่อนค่าของเงินบาทเป็นทิศทางที่สอดคล้องกับเงินหยวน และสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค ตลอดจนการปรับลดการถือครองสินทรัพย์เสี่ยงของนักลงทุนในภาพรวม ท่ามกลางความกังวลต่อประเด็นที่ยืดเยื้อของข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะในเรื่องมาตรการกีดกันการค้าและการลงทุน นอกจากนี้ เงินบาทยังเผชิญแรงกดดันในระหว่างสัปดาห์จากแรงขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติด้วยเช่นกัน ... อ่านต่อ
4 พฤษภาคม 2561
เงินบาทอ่อนค่าเข้าใกล้แนว 31.75 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ ขณะที่ นักลงทุนบางส่วนทยอยขายเงินดอลลาร์ฯ เพื่อปรับโพสิชันก่อนการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงบวกทั้งหมด และกลับมาปรับตัวอ่อนค่าลงในช่วงที่เหลือของสัปดาห์สอดคล้องกับสถานะขายสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ ได้รับแรงหนุน หลังจากที่แถลงการณ์หลังการประชุมเฟด สะท้อนภาพแรงกดเงินเฟ้อที่ขยับขึ้นเข้าใกล้ระดับเป้าหมายของเฟดในปีนี้ ... อ่านต่อ
20 เมษายน 2561
เงินบาทขยับอ่อนค่าลงเล็กน้อย แต่ในภาพรวมยังถือว่าเป็นการเคลื่อนไหวในกรอบที่ค่อนข้างแคบตลอดสัปดาห์ โดยเงินบาททยอยอ่อนค่าลงสอดคล้องกับทิศทางของสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ ได้รับแรงหนุนกลับมาบางส่วนจากการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ หลังเจ้าหน้าที่เฟดระดับสูงมองว่า เงินเฟ้อของสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะขยับขึ้นเข้าสู่ระดับเป้าหมายของเฟดในปีนี้ นอกจากนี้ การอ่อนค่าของเงินบาท ยังสอดคล้องกับสถานะขายสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติในระหว่างสัปดาห์ด้วยเช่นกัน ... อ่านต่อ