Display mode (Doesn't show in master page preview)

24 มิถุนายน 2564

Econ Digest

ธุรกิจนาโนไฟแนนซ์ปี 64 “ชะลอตัวจากโควิด...รอเศรษฐกิจฟื้นตัว”

คะแนนเฉลี่ย

สินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ขยายตัวต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มปล่อยสินเชื่อประเภทนี้ในปี 2558 และชะลอตัวในปี 2563 จากการระบาดของโควิด-19 ผู้ประกอบการรายใหญ่ต่างระงับการปล่อยสินเชื่อใหม่ เนื่องจากภาระต้นทุนคัดกรองลูกค้าและติดตามหนี้ ส่งผลให้ยอดคงค้างสินเชื่อ ณ สิ้นปี 2563 ปรับลดลงมาอยู่ที่ 17,441 ล้านบาท  ส​วนทางกับอัตราส่วนหนี้เสีย (NPL) ที่เร่งตัวขึ้นเป็น 6.1% นอกจากนี้ สินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ยังมีคู่แข่งสำคัญคือสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ โดยเฉพาะทะเบียนรถจักรยานยนต์ ที่สามารถตอบโจทย์ความเสี่ยงและสร้างรายได้ให้กับผู้ให้บริการสินเชื่อได้มากกว่าทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจสินเชื่อรายย่อยต่างมุ่งไปที่ตลาดดังกล่าว โดยมีลูกค้าเป้าหมายเป็นกลุ่มที่มีระดับรายได้ใกล้เคียงกับลูกค้าสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์  

จากสถานการณ์ข้างต้น กระตุ้นผู้ให้บริการสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ต้องปรับตัวในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอสินเชื่อผ่านช่องทางดิจิทัลเพื่อเข้าถึงลูกค้าศักยภาพและลดต้นทุนการบริหารจัดการ การใช้ข้อมูลประกอบการพิจารณาสินเชื่อในลักษณะ Information based Lending ด้วยการร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจซึ่งมีฐานคู่ค้าและลูกค้าจำนวนมากบนแพลตฟอร์มออนไลน์ รวมถึงการปรับลดวงเงินสินเชื่อลงเหลือ 5,000-50,000 บาท เพื่อกระจายความเสี่ยง

สำหรับปี 2564 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ธุรกิจนาโนไฟแนนซ์อาจขยายตัวในกรอบ 1-5% หลังหดตัวติดต่อกันในปี 2562-2563 จากการบุกเบิกช่องทางสินเชื่อนาโนดิจิทัลของผู้ประกอบการรายใหญ่บางราย ขณะที่หนี้เสียในธุรกิจนาโนไฟแนนซ์มีทิศทางที่ดีขึ้นต่อเนื่อง จากความระมัดระวังในการพิจารณาสินเชื่อ อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์โควิดสามารถควบคุมได้ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศทยอยกลับสู่ภาวะปกติ คาดว่าการแข่งขันในตลาดสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์จะกลับมาคึกคักอีกครั้ง จากปัจจัยด้านอัตราผลตอบแทนของนาโนไฟแนนซ์ที่สูงกว่าสินเชื่อรายย่อยอื่น กล่าวคือ อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่สูงถึง 33% ส่งผลให้ผู้ประกอบการในเครือธนาคารรายใหญ่รอจังหวะเข้าสู่ตลาดเพื่อช่วงชิงส่วนแบ่ง 


Scan QR Code


QR Code

หมายเหตุ

รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น

Econ Digest