Display mode (Doesn't show in master page preview)

15 กุมภาพันธ์ 2556

ตลาดการเงิน

ประชุม กนง.วันที่ 20 ก.พ. มีโอกาสในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (มองเศรษฐกิจฉบับที่ 3410)

คะแนนเฉลี่ย

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในการประชุม กนง. รอบที่สองของปี 2556 ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า มีโอกาสที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะให้น้ำหนักกับประเด็นเงินทุนไหลเข้า ค่าเงินบาท และความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก ซึ่งอาจจะนำไปสู่มติให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25%

ทั้งนี้ กนง. คงจะนำประเด็นเรื่องผลกระทบของค่าเงินต่อระบบเศรษฐกิจมาประกอบการพิจารณา โดยการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินบาทเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อทิศทางการส่งออก ผ่านความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกไทย โดยเฉพาะหากเงินบาทมีการแข็งค่าอย่างรวดเร็วเกินไป และแข็งค่าในอัตราที่สูงกว่าประเทศคู่แข่งทางการค้า ก็อาจจะส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันและการส่งออกของไทย และนำไปสู่ผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมในที่สุด สำหรับข้อดีจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ท่ามกลางแรงกดดันด้านเงินเฟ้อในประเทศที่ยังไม่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายดังกล่าวนั้น จะเป็นการช่วยลดต้นทุนทางการเงินของภาคเอกชน รวมทั้งเป็นการกระตุ้นการบริโภคของภาคครัวเรือน ภายใต้สภาวะที่เศรษฐกิจโลกยังคงเปราะบาง

อย่างไรก็ดี หากพิจารณาถึงสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันที่ยังคงบ่งชี้ถึงพัฒนาการเชิงบวกอย่างต่อเนื่อง ตามเครื่องชี้เศรษฐกิจโลกที่ทยอยปรับตัวดีขึ้น ซึ่งคาดว่ากรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) บางท่านอาจมองว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันอยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ ทั้งนี้ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำนั้น อาจมีผลกระทบต่อเสถียรภาพของระบบการเงินและเศรษฐกิจในระยะยาว โดยอัตราดอกเบี้ยแท้จริงที่ติดลบจะกระทบต่อการออมของภาคครัวเรือน และเพิ่มความเสี่ยงด้านปัญหาหนี้ครัวเรือน ซึ่ง กนง.ได้แสดงความกังวลไว้ในการประชุมนโยบายการเงินครั้งก่อนหน้า รวมทั้งอาจก่อให้เกิดฟองสบู่ในสินทรัพย์ต่างๆ ได้

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


ตลาดการเงิน