Display mode (Doesn't show in master page preview)

10 มีนาคม 2557

ตลาดการเงิน

การประชุม กนง. วันที่ 12 มี.ค. 57: คงอัตราดอกเบี้ย เพื่อรอติดตามพัฒนาการเศรษฐกิจไทย และสงวนพื้นที่ในการดำเนินนโยบายเพื่อใช้ยามจำเป็น (มองเศรษฐกิจฉบับที่ 3487)

คะแนนเฉลี่ย

การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รอบที่ 2 ของปี ในวันที่ 12 มีนาคม 2557 นี้ เป็นอีกรอบการประชุมที่คณะกรรมการฯ เผชิญความยากลำบากในการตัดสินใจ เนื่องจากเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน ยังไม่กลับเข้าสู่กลไกการทำงานปกติ และกำลังเผชิญกับโจทย์หลากหลายด้าน ซึ่งแต่ละโจทย์ก็สะท้อนความต้องการลักษณะการบรรเทาและเยียวยาผลกระทบจากนโยบายการเงิน (อันเป็นเครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจเดียวที่เหลืออยู่ในขณะนี้) ในขอบเขตและทิศทางที่ต่างกัน ในขณะที่ ปัญหาความสมดุลทางเศรษฐกิจดังกล่าว ก็กลับมีผลจำกัดประสิทธิผลเชิงนโยบายการเงินไปพร้อมๆ กัน ดังนั้น การตัดสินใจของคณะกรรมการ กนง. คงจะแสดงการชั่งน้ำหนักปัจจัยแวดล้อมเชิงนโยบายทั้งด้านที่สนับสนุนการลดอัตราดอกเบี้ย และเลือกคงอัตราดอกเบี้ยที่ค่อนข้างก้ำกึ่งกัน ขณะที่ เหตุผลที่นำเข้าสู่การพิจารณา น่าจะสะท้อนถึงตัวแปรความเสี่ยงเศรษฐกิจที่คณะกรรมการนโยบายการเงินแต่ละท่านให้น้ำหนักในระยะถัดไปด้วย

เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยรอบด้านที่เศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญอยู่ ทำให้มีความก้ำกึ่งมากต่อการตัดสินใจในการดำเนินนโยบายการเงินของ กนง. ในรอบนี้ ทั้งนี้ คงต้องยอมรับว่าภายใต้สถานการณ์ที่การขยายตัวของเศรษฐกิจกำลังสูญเสียแรงส่ง การใช้นโยบายการเงินพยุงเศรษฐกิจนั้นมีความเหมาะสม อย่างไรก็ดี ภายใต้ข้อจำกัดต่างๆ ของการดำเนินนโยบายการเงินที่ต้องอาศัยประสิทธิภาพในการส่งผ่านนโยบาย รวมถึงประเด็นความเสี่ยงด้านหนี้ครัวเรือน และความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของระบบการเงิน/กระแสเงินทุนเคลื่อนย้าย ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า โอกาสที่ กนง.อาจเลือก ‘คง' อัตราดอกเบี้ยไว้ก่อน ยังมีน้ำหนักมากกว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเล็กน้อย โดยการสงวนช่องว่างในการดำเนินนโยบายเพื่อใช้ในยามที่จำเป็น ก็อาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ กนง. อาจพิจารณาในการประชุมรอบที่ 2 ของปีนี้ในวันที่ 12 มี.ค. 57 ก็เป็นได้ ขณะที่ กนง.คงต้องติดตามเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองต่างๆ ในช่วง 1-2 เดือนนี้ เพื่อประเมินโอกาสการจัดตั้งรัฐบาลและเปิดประชุมสภาครั้งแรก รวมถึงข้อมูลด้านการส่งออกซึ่งเป็นความคาดหวังหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ระหว่างรอความชัดเจนทางการเมือง

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


ตลาดการเงิน