Display mode (Doesn't show in master page preview)

30 ตุลาคม 2549

ตลาดการเงิน

การแข็งค่าของเงินบาท … สะท้อนความกังวลต่อค่าเงินดอลลาร์ฯในขณะที่ตลาดมีความเชื่อมั่นในเชิงบวกต่อเศรษฐกิจไทย (มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 1889)

คะแนนเฉลี่ย
นช่วงที่ผ่านมา เงินบาทได้แข็งค่าขึ้นในอัตราที่มากกว่าค่าเงินสกุลหลักหลายสกุลในภูมิภาค
อัตราการแข็งค่าของเงินสกุลต่าง ๆ เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ฯ

End of

% Changes

Oct 30, 2006

2005

against
the U.S. Dollar
USD/THB

36.750

41.015

11.6

USD/YEN

117.35

117.92

0.5

USD/Sing Dol.

1.5593

1.6627

6.6

USD/RMB

7.8881

8.0682

2.3

USD/TWD

33.140

32.760

-1.1

USD/KW

944.30

1,007.40

6.7

EU/USD

1.2720

1.1840

7.4

ที่มา: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
โดยการแข็งค่าของเงินบาทดังกล่าว เกิดขึ้นจากกระแสการไหลเข้าของเงินทุนเป็นหลัก แม้ว่าปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจไทยจะถูกกระทบจากปัจจัยลบต่าง ๆ โดยเฉพาะปัญหาการเมืองในประเทศ ทั้งนี้ ในช่วง 7 เดือนของปี 2549 เงินทุนไหลเข้าสุทธิโดยภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์ (Non-Bank Net Capital Inflows) มีมูลค่าสูงถึง 3.7 แสนล้านบาท เมื่อเทียบกับ 1.8 แสนล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยเงินทุนไหลเข้าส่วนใหญ่เป็นเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) และเงินลงทุนในหลักทรัพย์ (Portfolio Investment) โดยเงินทุนไหลเข้าส่วนใหญ่เป็นเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) และเงินลงทุนในหลักทรัพย์ (Portfolio Investment)
ทั้งนี้ เงินบาทได้รับแรงหนุนจากการเพิ่มมูลค่าซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นไทยในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา หลังจากที่ได้ขายสุทธิในช่วงปลายเดือนกันยายน จนต้นเดือนตุลาคม หลังเหตุการณ์รัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน โดยการกลับมาซื้อสุทธิดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นในเชิงบวกของนักลงทุนต่างชาติที่มีต่อแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจและการเมืองในประเทศของไทย
นอกจากนี้ การแข็งค่าของเงินบาทนั้น ยังเกิดขึ้นจากการที่นักค้าเงินมองว่า ตั้งแต่วิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 เป็นต้นมา เงินบาทได้แข็งค่าในอัตราที่ต่ำกว่าค่าเงินสกุลต่าง ๆ ในภูมิภาค โดยเฉพาะเงินวอนของเกาหลีใต้ และเงินดอลลาร์สิงค์โปร์ ทั้งที่ ๆ ประเทศเหล่านี้ต่างล้วนผ่านพ้นมาจากวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 มาในระยะเวลาใกล้เคียงกัน (ทั้งนี้ หากเทียบกับค่า ณ เดือนสิงหาคม 2542 จะพบว่า เงินวอนและเงินสิงค์โปร์ดอลลาร์ฯได้แข็งค่าขึ้นมาแล้วประมาณร้อยละ 25.8 และ 6.2 ในขณะที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นเพียงร้อยละ 1.7 เท่านั้น) ซึ่งทำให้ตลาดมองว่า เงินบาทน่าที่จะยังมีโอกาสแข็งค่าขึ้นได้อีก
สำหรับแนวโน้มในช่วงที่เหลือของปี 2549 ไปจนถึงปี 2550 นั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า เงินบาทน่าจะได้รับแรงหนุนจากแนวโน้มการอ่อนตัวของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเฉพาะจากการที่ธนาคารกลางของสหรัฐฯน่าจะเสร็จสิ้นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้ว ในขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯมีแนวโน้มชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัด โดยอัตราการขยายตัวในไตรมาสที่สามของ GDP สหรัฐฯได้ลดลงเป็นร้อยละ 1.6 (quarter-on-quarter, annualized) จากร้อยละ 2.6 และร้อยละ 5.1 ในสองไตรมาสก่อนหน้าซึ่งทำให้คาดกันว่าธนาคารกลางของสหรัฐฯอาจจะต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในปีหน้าเพื่อที่จะช่วยฟื้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในขณะเดียวกัน ก็คาดว่า กระแสการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ ที่เป็นผลจากทัศนะที่ตลาดมองว่าเงินบาทน่าจะสามารถปรับค่าขึ้นได้อีก รวมทั้งความเป็นไปได้ของการปรับเพิ่มค่าของเงินหยวนของจีนเพื่อช่วยควบคุมความร้อนแรงของเศรษฐกิจจีน ก็น่าจะเป็นปัจจัยหนุนสำคัญของค่าเงินบาท สำหรับปัจจัยในด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยนั้น แม้ว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2549 อาจจะขยายตัวประมาณร้อยละ 3.0-3.5 ลดลงจากร้อยละ 5.5 ในช่วงครึ่งแรกของปี แต่ก็คาดว่าอัตราการขยายตัวของ GDP ของไทยในปี 2550 ที่น่าจะขยับเพิ่มขึ้นเป็นที่ร้อยละ 4.0-5.0 จากร้อยละ 4.0-4.5 ในปี 2549 ก็น่าจะเป็นปัจจัยหนุนต่อค่าเงินบาทเช่นกัน ทั้งนี้ แม้ว่า Consensus Forecasts ซึ่งทำการสำรวจทัศนะของบรรดานักค้าเงินต่อค่าเงินบาท จะมองแนวโน้มค่าเงินบาท ณ ปลายปี 2549 และ 2550 ไว้ที่ระดับ 37.80 และ 37.12 บาท/ดอลลาร์ฯ ตามลำดับ แต่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าปัจจัยบวกต่าง ๆ ที่กล่าวไปแล้วในข้างต้น น่าจะหนุนให้เงินบาทมีความผันผวน และมีค่าที่แข็งขึ้นกว่าที่ Consensus Forecasts ประเมินไว้ได้ โดยหากในปี 2550 เงินบาทแข็งค่าขึ้นในอัตราเพียงครึ่งเดียวของในปี 2549 ที่ผ่านมา ก็คงจะสามารถแตะระดับ 35.1 บาท/ดอลลาร์ฯได้

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


ตลาดการเงิน