Display mode (Doesn't show in master page preview)

19 ธันวาคม 2549

ตลาดการเงิน

มาตรการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้น ... ยาขมสกัดการเก็งกำไรค่าเงินบาท (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 1930)

คะแนนเฉลี่ย
ม้ว่าที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทยจะได้พยายามดูแลการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท รวมทั้งทยอยออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อลดระดับการเก็งกำไรในค่าเงินบาท แต่การแข็งค่าอย่างรวดเร็วของเงินบาทในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม ก็ไม่มีทีท่าว่าจะตอบสนองต่อมาตรการที่ออกมาก่อนหน้าของธปท.เท่าใดนัก ทำให้ในวันที่ 18 ธันวาคม ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องออกมาตรการล่าสุด โดย ธปท.ได้กำหนดให้สถาบันการเงินที่รับซื้อหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินบาท ต้องกันสำรองร้อยละ 30 ของเงินตราต่างประเทศที่นำเข้ามาแลกเป็นเงินบาท ยกเว้นเงินตราต่างประเทศที่ได้รับจากค่าสินค้าและบริการ หรือเงินที่บุคคลหรือนิติบุคคลไทยได้รับจากการลงทุนในต่างประเทศ รวมทั้งธุรกรรมเงินตราต่างประเทศที่สถาบันการเงินต้องปฏิบัติตามสัญญาการรับซื้อ หรือแลกเปลี่ยนเงินบาท ที่ได้ตกลงไว้ก่อนวันที่ 18 ธันวาคม โดยมีเงื่อนไขสำคัญว่าลูกค้าจะสามารถขอเงินที่กันไว้ร้อยละ 30 คืนได้ก็ต่อเมื่อเงินที่นำเข้ามาลงทุนนั้นต้องอยู่ในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 1 ปี โดยหากลูกค้านำเงินลงทุนกลับคืนก่อนครบกำหนด 1 ปี จะได้รับเงินคืนในส่วนที่กันไว้คืนเพียง 2 ใน 3 เท่านั้น ซึ่งก็เท่ากับว่าถูกหักร้อยละ 10 ของเงินที่นำเข้ามา

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่ามาตรการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้นของธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าว น่าจะมีประสิทธิผลในการลดระดับการเก็งกำไรในค่าเงินบาทได้ เนื่องมาจากต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้นจากการต้องกันสำรองร้อยละ 30 และเงื่อนไขของการหักเงินที่กันไว้ถ้าหากนักลงทุนนำเงินออกก่อนครบกำหนดก่อนระยะเวลา 1 ปี โดยคาดว่ามาตรการดังกล่าวจะส่งผลให้เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 35.5-37.0 บาท/ดอลลาร์ฯ อย่างไรก็ตาม คงต้องยอมรับว่ามาตรการดังกล่าวอาจจะส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของการลงทุนในตลาดทุนไทย ในขณะที่แนวโน้มการปรับลดของราคาหลักทรัพย์ก็อาจจะมีผลต่อฐานะกำไรหรือขาดทุนของนักลงทุนชาวไทยที่ทำธุรกรรมในตลาดดังกล่าวอยู่ด้วยเช่นกัน แม้ว่านักลงทุนไทยดังกล่าวอาจไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงต่อการเก็งกำไรค่าเงินบาทแต่อย่างใด แต่กระนั้นก็ดี การนำมาตรการดังกล่าวมาใช้ของธนาคารแห่งประเทศไทย สะท้อนให้เห็นว่าทางการไทยให้น้ำหนักต่อเสถียรภาพของค่าเงินบาทและประเด็นความสามารถในการดำเนินธุรกิจของผู้ส่งออกไทยเป็นสำคัญ โดยเกรงว่าค่าเงินบาทที่แข็งเกินปัจจัยพื้นฐานของประเทศ อาจนำมาสู่ความเสี่ยงในด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงได้เหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในช่วงก่อนปี 2540 อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าหากสถานการณ์ค่าเงินบาทคลี่คลายไปในทางที่มีเสถียรภาพมากขึ้นแล้ว ธนาคารแห่งประเทศไทยก็อาจจะพิจารณาผ่อนปรนมาตรการดังกล่าวลงตามลำดับในระยะถัดไป ซึ่งทำให้ผลกระทบในทางลบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อสภาพคล่องและบรรยากาศในการลงทุนของตลาดทุนไทยดังกล่าว อาจจะเป็นผลเพียงชั่วคราวเท่านั้น

อัตราการแข็งค่าของเงินสกุลต่าง ๆ เทียบกับเงินดอลลาร์ฯ หลังมาตรการใหม่ของธปท.

19-Dec-06 End of 2005 % Changes
against
the US Dollar
USD/THB 35.660 41.015 15.0
EU/USD 1.3090 1.1840 10.6
USD/KW 930.40 1007.40 8.3
USD/IN Rupiah 9,118 9,815 7.6
USD/Sing Dol. 1.5463 1.6627 7.5
USD/P Peso 49.38 52.98 7.3
USD/Ringitt 3.5600 3.7790 6.2
USD/RMB 7.8228 8.0682 3.1
USD/TWD 32.675 32.760 0.3
USD/YEN 117.98 117.92 -0.1

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


ตลาดการเงิน