ภาพรวมการส่งออกของไทยเดือน ส.ค. 65 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่
7.5%YoY
(หากไม่รวมทองคำ น้ำมัน และยุทธปัจจัยขยายตัว
10.1%YoY)
ส่งผลให้ส่งออกไทย 8 เดือนแรกของปีเติบโตที่
11.0 %YoY
ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งออกในเดือน ส.ค. 65
•การส่งออกไปยังสหรัฐฯ และยุโรปเดือน ส.ค. ยังขยายตัวในเลข 2 หลัก โดยเฉพาะในสินค้าเครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ยังคงมีอยู่ โดยมีแนวโน้มขยายตัวลดลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ
•เดือน ส.ค. การส่งออกสินค้ายานยนต์ในส่วนของรถยนต์นั่งสำเร็จรูปขยายตัวได้ดีมาก อันเป็นผลมาจากฐานที่ต่ำในปีก่อนหน้า โดยส่งออกไปยังประเทศกลุ่มตะวันออกกลางอย่างซาอุดิอาระเบียและสหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ได้มากขึ้นจากการดำเนินความสัมพันธ์ทางการค้า
•การส่งออกไปยังประเทศในเอเชียใต้ซึ่งเป็นตลาดรองมีสัดส่วนกว่า 4% ชะลอตัวลง โดยเฉพาะบังกลาเทศและปากีสถานหดตัวอย่างรุนแรง จากความต้องการสินค้าในประเทศที่อ่อนแอท่ามกลางค่าครองชีพที่เพิ่มสูงและการประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ
นโยบายโควิดเป็นศูนย์ของจีนยังคงกดดันให้การส่งออกไทยไปยังจีนในเดือน ส.ค.
65
หดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่
3
•การส่งออกไปจีนในเดือน ส.ค. ยังคงหดตัวลึกที่ระดับ -20.1%YoY โดยถือเป็นการหดตัว 3 เดือนติดต่อกันและส่งผลให้ 8 เดือนแรกการส่งออกไทยไปยังจีนหดตัวเกือบ -5% ทั้งนี้ เป็นผลจากเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา จีนที่ยังคงดำเนินนโยบายโควิดเป็นศูนย์และประกาศล็อกดาวน์ในบางพื้นที่ของเมืองสำคัญอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเมืองเศรษฐกิจทางภาคใต้ของจีน เช่น เซินเจิ้น ซานยา เป็นต้น ส่งผลให้ภาคการใช้จ่ายและการผลิตในจีนถูกจำกัดและอุปสงค์ในประเทศจีนอ่อนแอ ดังนั้น นโยบายโควิดเป็นศูนย์ของจีนจึงยังคงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการส่งออกสินค้าไทยไปจีนในระยะต่อไป
•การส่งออกสินค้าไปจีนเดือน ส.ค. ในกลุ่มสินค้าเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมหดตัวลง -41.8%YoY และ -9.2%YoY ตามลำดับ ขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมเกษตรยังคงขยายตัวได้ดีที่ 38.5%YoY โดยสินค้าไทยที่มีมูลค่าการส่งออกไปจีนสูงสุด 10 อันดับแรกในเดือน ส.ค. มีสินค้าผลไม้สดและแช่แข็ง และกลุ่มสินค้าเคมีภัณฑ์ ยางพาราและเม็ดพลาสติกที่หดตัวลง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคงภาพรวมการส่งออกปี
65
อยู่ที่
7.8%
จากมุมมองว่าการส่งออกครึ่งปีหลังชะลอตัวลงจากครึ่งปีแรก
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่าการส่งออกไทยในครึ่งปีหลังจะชะลอตัวลงจากช่วงครึ่งปีแรกที่ขยายตัวได้ 12.7% เนื่องมาจากปัจจัยฐานในช่วงครึ่งปีหลังของปี 64 ที่สูง ประกอบกับทิศทางการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลกในระยะข้างหน้า ตลอดจนประเด็นความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนที่ยังคงอยู่
ส่งผลให้ภาพรวมส่งออกไทยปี
65 คาดว่าจะขยายตัวที่
7.8%
Scan QR Code
หมายเหตุ
รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น