Display mode (Doesn't show in master page preview)

2 กันยายน 2562

Econ Digest

ประกันราคาข้าว บรรเทาภาระชาวนาไทย ชาวนากว่า 1.6 ล้านครัวเรือน จะมีรายได้เพิ่มเฉลี่ย 12,000 บาทต่อครัวเรือน

คะแนนเฉลี่ย

​           กระทรวงพาณิชย์ได้เตรียมการเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อประกันราคาข้าวเปลือก ภายในวันอังคารที่ 27 สิงหาคม 2562 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาภาระให้แก่เกษตรผู้ปลูกข้าว นโยบายประกันราคาข้าวสำหรับข้าวนาปี ปีเพาะปลูก 2562/2563 นี้ เป็นการนำนโยบายประกันราคาข้าวในสมัยรัฐบาลของคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ปี 2552 – 2554) กลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง ด้วยการกำหนดราคารับประกันเพื่อชดเชยส่วนต่างราคาให้แก่เกษตรกร ในกรณีที่ราคาตลาดต่ำกว่าราคารับประกัน ซึ่งแตกต่างจากนโยบายการจัดการผลผลิตข้าวในสมัยรัฐบาลของคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ปี 2554 – 2556) ซึ่งใช้นโยบายรับจำนำข้าวทุกเมล็ด ตามราคารับจำนำที่รัฐบาลประกาศ ทั้งนโยบายประกันราคาข้าวและนโยบายรับจำนำข้าว แม้จะมีวัตถุประสงค์เดียวกันในการสร้างเสถียรภาพราคาข้าวและยกระดับรายได้เกษตรกร ด้วยการแทรกแซงราคาให้ราคาที่เกษตรกรจะได้รับสูงกว่าราคาตลาด อย่างไรก็ดี กลไกในการดำเนินการของทั้ง 2 นโยบาย มีความแตกต่างกันในหลายประเด็น ดังนี้




            กล่าวโดยสรุป จะเห็นได้ว่า เกษตรกรต่างได้รับประโยชน์ทั้งจากนโยบายประกันราคาข้าวและนโยบายรับจำนำข้าว อย่างไรก็ดี นโยบายรับประกันราคาข้าวมีความแตกต่างจากนโยบายรับจำนำข้าว 3 ประการ คือ 1) มีการจำกัดปริมาณผลผลิตที่รับประกัน 2) รัฐจ่ายเฉพาะส่วนต่างชดเชยให้แก่เกษตรกร และ   3) รัฐไม่มีต้นทุนในการจัดเก็บและบริหารสต็อกข้าว ทั้งนี้ การประเมินผลของการดำเนินนโยบายแต่ละรูปแบบขึ้นอยู่กับแนวโน้มราคาข้าวในตลาด ปริมาณผลผลิตข้าว และระยะเวลาที่ดำเนินโครงการ ในภาวะ

           ​ที่ประเทศไทยเผชิญวิกฤติภัยแล้งต่อเนื่องยาวนาน นโยบายประกันราคาข้าวจะช่วยบรรเทาภาระของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ราคาข้าวยังต่ำกว่าราคาตลาดโดยตรง ทำให้เกษตรกร 1.6 ล้านครัวเรือน มีรายได้เพิ่มขึ้น 12,000 บาทต่อครัวเรือน คิดเป็นเม็ดเงินเกือบ 20,000 ล้านบาท[1] ซึ่งส่งผลให้ภาพรวมรายได้เกษตรกรในปี 2562 หดตัวลดลงเข้าใกล้กรอบบนของประมาณการที่ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ประเมินไว้ที่ร้อยละ 2.1 โดยศูนย์วิจัยฯ จะดำเนินการประเมินผลในระยะต่อไป



[1] ประเมินผลเฉพาะข้าวเปลือกเจ้าที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากการประกันราคา​



Scan QR Code


QR Code

หมายเหตุ

รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น

Econ Digest