Display mode (Doesn't show in master page preview)

23 กันยายน 2565

Econ Digest

กินเจ 65 คาดราคาอาหารปรับขึ้น คนกรุงเทพฯ...ลดวันกิน

คะแนนเฉลี่ย

​ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าปริมาณการบริโภคอาหารเจของคนกรุงเทพฯ ในปีนี้น่าจะหดตัวราว 6% เมื่อเทียบกับปีก่อน ขณะที่ราคาอาหารเจอาจปรับขึ้นประมาณ 10% จากปีก่อน ส่งผลให้เม็ดเงินค่าใช้จ่ายของคนกรุงเทพฯ ตลอดช่วงเทศกาลกินเจปี 2565 น่าจะอยู่ที่ 3,200 ล้านบาท หรือขยายตัว 4% เมื่อเทียบกับปีก่อน

โดยจากการสำรวจพบว่าคนกรุงเทพฯ ยังคงวางแผนจะกินเจในสัดส่วนใกล้เคียงกับปีก่อน คือร้อยละ 32 ส่วนอีกร้อยละ 68 ไม่สนใจเข้าร่วมเทศกาลกินเจ  แต่สำหรับคนที่ยังเลือกกินเจกว่า 82% ระบุว่าได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ และราคาสินค้าที่ทยอยปรับขึ้น จึงวางแผนปรับตัวรับสถานการณ์ดังกล่าว โดยพยายามเลือกซื้ออาหารเจที่มีราคาไม่สูงมาก รวมถึงปรับลดงบประมาณ และปริมาณการซื้ออาหารเจลง ซึ่งสอดรับกับผลสำรวจในภาพรวมที่ระบุว่า คนกรุงเทพฯ ปรับลดจำนวนวันที่กินเจลง จากเฉลี่ย 4.5 วันในปีก่อนลงมาอยู่ที่เฉลี่ย 4.0 วันในปีนี้ เพื่อให้ยังสามารถควบคุมงบประมาณการใช้จ่ายตลอดเทศกาลไม่ให้เพิ่มสูงเกินไป

ในขณะที่ราคาอาหารเจอาจถูกปรับขึ้นตามต้นทุนที่สูงขึ้น ซึ่งนอกจากเรื่องค่าครองชีพ และภาวะเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้น ยังมีอีก 2 ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อราคาอาหารเจในปีนี้ ได้แก่

1. สถานการณ์ฝนตกหนักและน้ำท่วมในหลายพื้นที่ สร้างความเสียหายต่อพืชผลเกษตรที่เป็นวัตถุดิบหลักของอาหารเจ โดยกลุ่มผัก เช่น คะน้า ผักบุ้ง ถั่วฝักยาว กะหล่าปลี ฟักทอง รวมถึงวัตถุดิบเจอย่าง เต้าหู้ เป็นกลุ่มที่ได้รับความนิยม มักจะมีราคาปรับสูงขึ้นในช่วงเทศกาลกินเจ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงมองว่า แนวโน้มราคาวัตถุดิบผักในช่วงเทศกาลกินเจปี 2565 อาจขยับขึ้นเฉลี่ยไม่ต่ากว่า 30% เมื่อเทียบกับช่วงปกติ

2. การรปรับขึ้นของราคาพลังงานในช่วงเทศกาลกินเจ ไม่ว่าจะเป็นการปรับขึ้นของราคาแก๊สหุงต้ม การปรับขึ้นของค่าไฟฟ้า และทิศทางของราคาน้ำมันในตลาดโลก ที่แม้ว่าจะย่อตัวลง แต่คาดว่ายังอยู่ในระดับสูง

ด้วยปัจจัยเหล่านี้ที่ส่งผลให้พฤติกรรมผู้บรโภคในช่วงเทศกาลกินเจปีนี้เปลี่ยนไป จึงเป็นโจทย์สำคัญของผู้ประกอบการอาหารเจ ทั้งด้านการบริหารจัดการต้นทุน ควบคู่ไปกับการชูจุดขายด้านราคาที่คุ้มค่า ภายใต้กลยุทธ์ส่งเสริมการขายที่จูงใจให้คนเลือกซื้อหรือใช้บริการ และสำหรับทิศทางของการบริโภคอาหารเจในระยะข้างหน้า จากพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ที่หันมาลดการบริโภคเนื้อสัตว์มากขึ้น จึงส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นอาหารเจ วีแกน รวมถึงโปรตีนทางเลือก มีโอกาสที่จะเพิ่มอัตราการบริโภคได้อีก ไม่ใช่เฉพาะเทศกาลกินเจ ดังนั้นผู้ประกอบการควรวางแผนรับมือเพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านวัตถุดิบ ท่ามกลางต้นทุนการผลิตที่มีแนวโน้มผันผวน และหาแนวทางในการเพิ่มโอกาสทางการตลาดในระยะต่อไป

Scan QR Code


QR Code

หมายเหตุ

รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น