Display mode (Doesn't show in master page preview)

24 มิถุนายน 2563

Econ Digest

KR-ECI เดือน พ.ค. 63 ฟื้น เริ่มคลายกังวลเรื่องรายได้ การมีงานทำ และเงินออมในระยะข้างหน้า

คะแนนเฉลี่ย

​ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ในเดือนพ.ค. 2563 ปรับตัวดีขึ้น มาอยู่ที่ระดับ 36.1 จากระดับ 35.1 ในเดือนเม.ย. 2563 จากความกังวลที่ลดลงต่อประเด็นเรื่องรายได้และการมีงานทำ หลังจากที่ภาครัฐทยอยออกมาตรการผ่อนปรนระยะที่ 1-2 ในช่วงเดือนพ.ค. 2563 ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ทำการสำรวจเพิ่มเติมเรื่องรูปแบบการใช้จ่ายของครัวเรือนที่เปลี่ยนไปเมื่อเทียบก่อน (เดือนก.พ. 2563) และหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 (เดือนพ.ค. 2563) พบว่า ครัวเรือนไทยเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้แพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น โดย 27.7% ของครัวเรือนที่สำรวจใช้แอพพลิเคชั่นบนมือถือในการสั่งอาหารมากขึ้น แต่ก็มีอีก 38.5% ไม่เคยสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชั่นฯ เลย ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในต่างจังหวัด นอกจากนี้ เมื่อถามความเห็นของครัวเรือนต่อเรื่องวิถีปกติใหม่ (New normal) พบว่า ครัวเรือนส่วนใหญ่ 36.4% มองวิถีปกติใหม่ คือ การเข้าสู่สังคมและเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ รองลงมาคือ 26.1% มองว่าธุรกิจจะปรับตัวไปสู่การทำงานที่บ้านเป็นหลัก
 
สำหรับ ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนในอีก 3 เดือนข้างหน้า (3-month Expected KR-ECI) ปรับตัวดีขึ้น จากระดับ 33.4 ในการสำรวจช่วงเดือนเม.ย. 2563 มาอยู่ที่ระดับ 35.9 ในการสำรวจช่วงเดือนพ.ค. 2563 จากความกังวลที่ลดลงต่อประเด็นเรื่องรายได้และการมีงานทำ รวมถึงสถานะเงินออมของตนเองในช่วงระยะ 3 เดือนข้างหน้า (มิ.ย.–ส.ค. 2563) หลังจากที่รัฐบาลออกมาตรการผ่อนปรนมาอย่างต่อเนื่อง และจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 ใหม่รายวันอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งเป็นสัญญาณเชิงบวกต่อภาพรวมเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทยในช่วงครึ่งหลังปี 2563 จะทยอยฟื้นตัวอย่างช้าๆ แต่ยังมีความเปราะบางอยู่มาก (ภายใต้สมมติฐานที่ไม่มีการแพร่ระบาดรอบ 2 จนนำไปสู่การใช้มาตรการปิดเมืองอีกครั้ง) ทั้งนี้ ภาครัฐจำต้องเร่งให้ความสำคัญกับมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจและการสร้างงานเพื่อช่วยประคับประคองกำลังซื้อของครัวเรือนไทยที่อ่อนแอลงจากผลของ COVID-19 หลังมาตรการเยียวยาสิ้นสุดลง


Scan QR Code


QR Code

หมายเหตุ

รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น

Econ Digest