Display mode (Doesn't show in master page preview)

16 กรกฎาคม 2564

Econ Digest

สินเชื่อทะเบียนรถ แบบไหน? ได้มาก...จ่ายน้อย

คะแนนเฉลี่ย
​​อยากได้เงินด่วนในอัตราดอกเบี้ยและค่างวดที่ไม่ซ้ำเติมภาวะกระเป๋าแบน เนื่องจากงานน้อยเงินลด สามารถทำได้ถ้ามีรถในครอบครอง แต่เลือกอย่างไรให้เหมาะสมกับตนเอง ต้องทำความเข้าใจเงื่อนไขสิ​นเชื่อสำหรับคนมีรถกันก่อน
สำหรับผู้ที่มีรถปลอดภาระหรือเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถ สามารถนำเล่มทะเบียนรถมาเป็นหลักประกันการกู้ยืมได้ โดยมีให้เลือกทั้งแบบโอนเล่มทะเบียน และจำนำทะเบียนหรือไม่โอนเล่ม ซึ่งทั้ง 2 แบบนี้ มีข้อเด่น-ข้อด้อยแตกต่างกัน กล่าวคือ​



ผู้ที่เป็นเจ้าของรถถือได้ว่ามีตัวช่วยที่ดีในยามที่ต้องการใช้เงินด่วนและต้องการได้วงเงินกู้ที่สูงพอสมควร แต่จะเลือกกู้แบบไหน ขอให้ประเมินตนเองว่าต้องการใช้สินเชื่อในลักษณะใด ดังนี้ 
ตั้งใจปิดบัญชีเร็ว: ถ้าคิดว่ากู้ไม่นานและคงมีเงินมาโปะหนี้ได้เรื่อย ๆ อาจพิจารณาเลือกแบบไม่โอนเล่ม จากข้อเด่น >>> ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ไปมา และจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยตามที่ตกลงไว้ ซึ่งถ้ายิ่งโปะบ่อยปิดเร็ว ภาระดอกเบี้ยจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
คงผ่อนไปเรื่อย ๆ ตามสัญญา: กรณีนี้อาจเลือกได้ทั้ง 2 แบบ โดยเปรียบเทียบความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง >>> ข้อเสนอด้านวงเงินและอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับจากการโอนเล่มและไม่โอนเล่ม ซึ่งสามารถสอบถามภาระค่าใช้จ่ายรวมตลอดสัญญาจากธนาคารหรือบริษัทที่ให้กู้ยืม 
Tips: โครงสร้างอัตราดอกเบี้ยคงที่ของการกู้แบบโอนเล่ม โดยทั่วไปถูกกำหนดให้ผู้กู้มีภาระรวมไม่สูงกว่าแบบไม่โอนเล่ม (แต่การโอนเล่มมีโอกาสได้วงเงินกู้สูงกว่า) ซึ่งสะท้อนความเสี่ยงที่ต่ำกว่าจากกรรมสิทธิ์ในเล่มทะเบียนที่เป็นของผู้ให้กู้ โดยอัตราดอกเบี้ยคงที่ซึ่งถูกกำหนดในสัญญาได้คำนึงถึงภาระรวมจาก >> การแปลงเป็นดอกเบี้ยลดต้นลดดอก + ภาษี Vat 7% ของค่างวด + ค่าชดเชยดอกเบี้ยกรณีปิดบัญชีเร็ว ซึ่งเรียกเก็บได้ในอัตรา 50% ของดอกเบี้ยตลอดสัญญาที่ยังไม่เกิดขึ้น  ซึ่งประเมินแล้วต้องไม่สูงกว่าดอกเบี้ยลดต้นลดดอกของการกู้แบบไม่โอนเล่ม 
Tips: อัตราดอกเบี้ยสุทธิของการกู้แบบไม่โอนเล่ม โดยทั่วไปสูงกว่าแบบโอนเล่ม ซึ่งสะท้อนความเสี่ยงที่สูงกว่าจากปัจจัย 2 ประการ คือ (1) กรรมสิทธิ์ยังไม่ตกเป็นของผู้ให้กู้ โดยผู้ให้กู้อาจต้องส่งฟ้องหากผู้กู้ผิดสัญญา และ (2) ความเสี่ยงจากการตรึงอัตราดอกเบี้ยตลอดสัญญา โดยหากผู้กู้ปิดบัญชีเร็วกว่าสัญญายังไม่มีค่าชดเชยให้กับผู้ให้กู้

ใช้รถอย่างคุ้มค่า นอกจากหมั่นดูแลรักษาสภาพรถตามการใช้งานแล้ว การนำเล่มทะเบียนรถที่ผ่อนหมดแล้วมาเป็นหลักประกันการกู้เงิน ยังช่วยผู้ที่ต้องการใช้เงินก้อนในยามจำเป็นแต่เงินที่มีอยู่อาจไม่เพียงพอ ให้ได้เงินกู้ไวในราคายุติธรรมโดยที่ยังสามารถใช้ประโยชน์จากรถยนต์ได้ตามปกติ อย่างไรก็ดี ปัจจุบันมีธนาคารและบริษัทที่ไม่ใช่ธนาคารหลายแห่ง ได้ขยายการให้กู้ยืมด้วยเล่มทะเบียนรถไปยังกลุ่มที่ยังผ่อนไม่หมดด้วย ซึ่งรายละเอียดเงื่อนไขอาจมีความเข้มข้นกว่ารถที่ปลอดภาระ แต่ก็เป็นอีกหนึ่งหนทางที่ช่วยให้ได้เงินไวในราคาที่ไม่สูงเท่าเงินกู้ไม่มีประกันและเงินกู้นอกระบบอื่น ดังนั้น พึงหาข้อมูลจากหลายแหล่งเพื่อให้ได้รับข้อเสนอที่เป็นประโยชน์สูงสุด 

Scan QR Code


QR Code

หมายเหตุ

รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น

Econ Digest