Display mode (Doesn't show in master page preview)

1 ธันวาคม 2566

Econ Digest

ทำไม...ต้นทุนการเลี้ยงสุกร ของไทยสูงกว่าประเทศอื่น?

คะแนนเฉลี่ย
  • ​ต้นทุนการเลี้ยงสุกรของไทยในปัจจุบัน น่าจะอยู่ที่กว่า 80-90 บาท/กิโลกรัม เพิ่มขึ้นมากจากค่าเฉลี่ยช่วงก่อนโควิดที่อยู่ที่ประมาณ 63 บาท/กิโลกรัม และนับว่าสูงกว่าอีกหลายประเทศผู้ผลิตสุกรในโลก โดยเฉพาะถ้าเทียบกับบราซิลเป็นเท่าตัว

  • หากจำแนกต้นทุนหลัก พบว่า การเลี้ยงสุกรมีต้นทุนค่าอาหารสัตว์สูงที่สุดราว 65-70% ตามมาด้วย ต้นทุนผันแปรอื่นๆ และค่าแรงงาน ซึ่งรายละเอียดต้นทุนในแต่ละประเทศนี้ จะแตกต่างกันตามการใช้อาหารสัตว์ การใช้เทคโนโลยี การใช้พลังงาน และขนาดฟาร์ม
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ต้นทุนการเลี้ยงสุกรของไทยน่าจะยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้า เนื่องจาก
  • ค่าอาหารสัตว์ อาจยังสูงหรือเพิ่มขึ้น โดยการเลี้ยงสุกรหรือการทำธุรกิจปศุสัตว์ ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องนำเข้าอาหารสัตว์ในสัดส่วนราว 50% เนื่องจากไทยผลิตได้ไม่เพียงพอ และราคาอาหารสัตว์ในตลาดโลกทั้งถั่วเหลือง ข้าวโพด ข้าวสาลี ก็มีแนวโน้มผันผวนในกรอบสูงต่อเนื่อง จากประเด็นภูมิรัฐศาสตร์และสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน
  • ค่าสุกรพันธุ์ ที่ยังต้องนำเข้า และค่าบริหารจัดการฟาร์ม เพื่อป้องกันโรคโดยเฉพาะ ASF ซึ่งทำให้การเริ่มเปิดฟาร์มใหม่ไม่ง่ายเหมือนในอดีต
  • ต้นทุนแรงงาน มีแนวโน้มสูงขึ้นตามการปรับค่าแรงขั้นต่ำ และการขาดแคลนแรงงาน

 


Click
 ชมคลิป ทำไม...ต้นทุนการเลี้ยงสุกร ของไทยสูงกว่าประเทศอื่น?

Scan QR Code


QR Code

หมายเหตุ

รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น

Econ Digest