สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เสนอแผน Thailand Ethanol Hub ตามแนวทาง BCG Economy Model
ที่ผ่านมาการผลิตเอทานอลของไทยอยู่ในระดับที่ต่ำกว่ากำลังผลิตสูงสุด 7.45 ล้านลิตรต่อวัน อยู่ถึง 3.87 ล้านลิตรต่อวัน ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดในอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (SAF) ไบโอเอทิลีนสำหรับอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ ตลอดจนอุตสาหกรรมสมุนไพรสกัด อุตสาหกรรมยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เป็นต้น เพิ่มเติมจากการผลิตเพื่อไปใช้งานเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ ได้แก่ E10 E20 และ E85 เพียงอย่างเดียว และเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่อ้อย และมันสำปะหลังที่เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตเอทานอลอีกด้วย
ทั้งนี้ อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพจะมีแนวโน้มที่จะได้รับการสนับสนุนก่อน ตามมติ ครม. วันที่ 13 ก.ค. 2566 ที่ได้เห็นชอบแนวทางการส่งเสริมการนำเอทานอลไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่นนอกเหนือจากการใช้เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพและการผลิตสุรา โดยมุ่งเน้นอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ
ภาคเอกชนคงต้องติดตามการออกมาตรการทางภาษีหรือกลไกต่างๆ จากทางภาครัฐ ที่จะมีส่วนช่วยสร้างระบบนิเวศน์ ช่วยเพิ่มมูลค่าอ้อย และมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักของการผลิตเอทานอลไทย
|
Click ชมคลิป กำลังการผลิตส่วนเกินของเอทานอล สามารถต่อยอดอุตสาหกรรมอื่น |
Scan QR Code
หมายเหตุ
รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น