31 กรกฎาคม 2566
สถาบันการเงิน
... อ่านต่อ
FileSize KB
19 พฤศจิกายน 2562
7 พฤษภาคม 2562
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า บริบทความคุ้มทุนของธุรกิจเอทีเอ็มเริ่มลดลงตั้งแต่ปี 2560 เนื่องจากตู้เอทีเอ็มที่ให้บริการในบางจุดเริ่มถูกแทนที่ด้วยโมบายแบงก์กิ้ง ซึ่งหากตู้เอทีเอ็มที่เกิดความไม่คุ้มทุนมีจำนวนเพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้าอาจกระทบต่อรูปแบบการดำเนินธุรกิจเอทีเอ็มในอนาคตให้เปลี่ยนแปลงไปจากรูปแบบปัจจุบัน ซึ่งขึ้นอยู่กับการชั่งน้ำหนักปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการ อย่างไรก็ตาม หากความต้องการใช้เงินสดลดลงอย่างรวดเร็วอาจเป็นปัจจัยที่เร่งให้การประกอบธุรกิจเอทีเอ็มในอนาคตเกิดขึ้นในลักษณะการใช้ตู้เอทีเอ็มร่วมกันระหว่างธนาคาร ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ทุก ๆ การลดลง 5% ของจำนวนตู้เอทีเอ็มที่มีทั่วประเทศในปัจจุบัน จะช่วยลดต้นทุนทั้งหมดในการประกอบธุรกิจเอทีเอ็มให้แก่สถาบันการเงินทั้งระบบได้ 5,220 – 5,880 ล้านบาทต่อปี ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.03 ต่อจีดีพีโดยประมาณ อย่างไรก็ดี ต้นทุนที่จะลดลงยังคงขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้เอทีเอ็มร่วมกันในอนาคตตามกฎระเบียบข้อบังคับของทางการที่จะประกาศใช้ในระยะข้างหน้า และการเจรจาร่วมกันระหว่างธนาคารพาณิชย์และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ... อ่านต่อ
26 พฤศจิกายน 2561
ภาพรวมสินเชื่อสุทธิเดือน ต.ค. 2561 กลับมาเร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อน 8.2 หมื่นล้านบาท หรือ 0.73% มาที่ 11.427 ล้านล้านบาท จากการขยายตัวดีขึ้นของสินเชื่อรายย่อยทุกประเภท และสินเชื่อธุรกิจ ขณะที่เงินฝากปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าถึง 2.28 แสนล้านบาท หรือ 1.86% MoM มาที่ 12.504 ล้านล้านบาท จากเงินฝากภาครัฐในเข้ามาพักในบัญชี CASA ที่และเงินฝากเอกชนทั้งบัญชี CASA และเงินฝากประจำ มีผลให้สภาพคล่องของธนาคารผ่อนคลายลง สำหรับแนวโน้มในช่วง 2 เดือนที่เหลือของปีนี้ คาดว่าสินเชื่อจะยังคงขยายตัวดีต่อเนื่องและจบปีที่ 6.0% โดยมีสินเชื่อรายย่อยเป็นตัวนำการขับเคลื่อนหลัก ขณะที่ด้านเงินฝากอาจจะเริ่มเห็นการออกผลิตภัณฑ์เงินฝากที่มีระยะเวลาการฝากยาวขึ้นเพื่อล็อกต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายบางส่วน ... อ่านต่อ
5 ตุลาคม 2561
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ผลประกอบการของระบบธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในไทย ไตรมาส 3/2561 ว่าจะมีกำไรสุทธิประมาณ 4.8 หมื่นล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโต 7.7% YoY ซึ่งเป็นทิศทางการขยายตัวที่ชะลอลง และหากเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า จะปรากฏภาพกำไรสุทธิที่ลดลง 9.1% QoQ โดยทิศทางดังกล่าว สะท้อนผลกระทบจากการลดค่าธรรมเนียมการโอนเงินฯ ที่ชัดเจนขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ขณะเดียวกัน มีโอกาสที่ธนาคารพาณิชย์บางแห่งอาจยังให้น้ำหนักกับการตั้งสำรองหนี้ฯ เพื่อรองรับสถานการณ์เอ็นพีแอลที่ยังต้องใช้เวลาในการแก้ไข ทั้งนี้ ในระหว่างนี้ ธนาคารพาณิชย์ยังต้องเน้นกลยุทธ์การบริหารจัดการต้นทุน ควบคู่กับการผลักดันรายได้อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นรายได้ดอกเบี้ย (ตามแรงส่งของสินเชื่อที่ยังขยายตัวดี) และรายได้ค่าธรรมเนียมประเภทอื่นๆ เพื่อประคองความสามารถในการทำกำไรเฉพาะหน้า ขณะที่ หนึ่งในประเด็นติดตามสำคัญ คือ แนวทางดูแลภาคอสังหาริมทรัพย์ของ ธปท.และการปรับตัวของผู้ประกอบการที่อาจมีผลต่อทิศทางตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยในช่วงโค้งสุดท้ายของปี ตลอดจนภาพรวมสินเชื่อในช่วงเดือนที่เหลือได้ ... อ่านต่อ