Display mode (Doesn't show in master page preview)

31 กรกฎาคม 2566

สถาบันการเงิน

สถานการณ์การเงินเพื่อความยั่งยืนครึ่งแรกปี 2566 ... ยังคงเติบโต แม้ชะลอในภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3425)

คะแนนเฉลี่ย

        ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า การออกผลิตภัณฑ์การเงินเพื่อความยั่งยืนมีโอกาสต่ำกว่าปีก่อน เนื่องจากความไม่แน่นนอนทางการเมือง ส่งผลต่อการลงทุนของภาครัฐและการตัดสินใจลงทุนของภาคเอกชนที่ชะลอตัว อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ และโครงการลงทุนต่างๆ เดินหน้าได้ ภายใต้นโยบายส่งเสริมการลด GHG ในมิติต่างๆ รวมถึงความตื่นตัวต่อประเด็นดังกล่าวของภาคเอกชนนั้น คงทำให้มีโอกาสกลับมาเห็นกิจกรรมการออกผลิตภัณฑ์การเงินเพื่อความยั่งยืนที่คึกคักขึ้น
        มูลค่าการออกผลิตภัณฑ์การเงินเพื่อความยั่งยืน (ตราสารหนี้และเงินกู้) ทั่วโลกในปี 2565 และในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566 ปรับลดลงจากที่เคยสูงสุดในปี 2564 เนื่องจากการธนาคารกลางทั่วโลกยังคงขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อชะลอเงินเฟ้อ รวมถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศจีน
        สำหรับประเทศไทย มูลค่าการออกผลิตภัณฑ์การเงินเพื่อความยั่งยืนยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุมาจากการออกตราสารหนี้ Sustainability Bond ของภาครัฐบาลเพื่อใช้ในโครงการเพื่อเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจจากการระบาดของโรคโควิด-19 ลำดับถัดมาได้แก่การออกผลิตภัณฑ์การเงินเพื่อความยั่งยืนในประเภท Green และ Sustainability-Linked เช่นเดียวกับในต่างประเทศ
        มองไปข้างหน้า ความท้าทายของการพัฒนาตลาดการเงินเพื่อความยั่งยืนที่สำคัญ ยังมาจากกระบวนการที่ซับซ้อนและต้นทุนที่สูงกว่าการออกตราสารหนี้ปกติ รวมถึงโครงการที่เข้าข่ายและน่าสนใจยังมีน้อยทำให้สัดส่วนการเงินเพื่อความยั่งยืนในไทยยังมีน้อยกว่าเมื่อเทียบกับทั่วโลก ซึ่งการมี Taxonomy และการส่งเสริมจากภาครัฐที่เหมาะสม คงช่วยให้การพัฒนาตลาดมีความรวดเร็วและสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่เป้าหมายความยั่งยืนในระดับบริษัทและประเทศได้เร็วขึ้น

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


สถาบันการเงิน