Display mode (Doesn't show in master page preview)

5 ตุลาคม 2563

Econ Digest

หนี้ครัวเรือนพุ่ง สวนเศรษฐกิจติดลบ

คะแนนเฉลี่ย
                ข้อมูลล่าสุดจากธปท. เผย หนี้ครัวเรือนไทยไตรมาส 2/2563 ขยับขึ้นสวนทางกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หยุดชะงักลงในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยสัดส่วนหนี้ครัวเรือนไตรมาส 2/2563 เพิ่มขึ้นไปที่ 83.8% ต่อจีดีพี นับเป็นระดับสูงที่สุดในรอบ 18 ปี และสูงขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาส 1/2563 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 80.1% ต่อจีดีพี ทิศทางหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น สะท้อนสถานการณ์ที่แตกต่างกันของกลุ่มลูกหนี้รายย่อย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ยังพอมีกำลังซื้อมีการก่อหนี้ก้อนใหญ่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินเชื่อที่อยู่อาศัย ขณะที่อีกกลุ่มเผชิญปัญหาขาดสภาพคล่อง และต้องการมาตรการช่วยเหลือจากสถาบันการเงิน 

               สำหรับแนวโน้มหนี้ครัวเรือนไทยปี 2563 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคงมุมมองเดิมว่า ปัญหาหนี้ครัวเรือนจะยังคงเป็นหนึ่งในมาตรวัดที่สะท้อนความเปราะบางเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทย โดยหนี้ครัวเรือนมีแนวโน้มขยับขึ้นมาอยู่ที่กรอบ 88-90% ต่อจีดีพีในปี 2563  เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มหดตัวลงในครึ่งปีหลัง ขณะที่สินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อบ้านและสินเชื่อรถยนต์ ที่น่าจะยังเติบโตในกลุ่มครัวเรือนที่มีกำลังซื้อและมีความสามารถในการชำระหนี้ อาจทำให้ระดับหนี้ครัวเรือนโตต่อเนื่อง แม้จะเป็นอัตราที่ชะลอลง 

               ​ทั้งนี้ผลกระทบจากเศรษฐกิจทำให้ความสามารถในการชำระคืนหนี้ของครัวเรือนหลายกลุ่มลดลง ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องติดตามต่อเนื่อง อย่างไรก็ดีมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย รวมถึงมาตรการเฉพาะของสถาบันการเงินแต่ละแห่ง และการเร่งปรับโครงสร้างหนี้อาจช่วยบรรเทาภาระให้ครัวเรือนได้ในหลายส่วน แต่สุดท้ายแล้ว การมีงานทำและรายได้ของครัวเรือนจะยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดคุณภาพของหนี้ครัวเรือน โดยเฉพาะความสามารถในการชำระหนี้









                                                                                                                                                                                                              ขอบคุณภาพจาก  Shutterstock.com​


Scan QR Code


QR Code

หมายเหตุ

รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น

Econ Digest