25 กุมภาพันธ์ 2564
Econ Digest
ท่ามกลางโจทย์เฉพาะหน้าจากปัญหาการระบาดของโควิด-19 ทั่วโลกที่ภาคเศรษฐกิจและภาคการเงินยังต้องเผชิญ แต่ในทางคู่ขนาน ภาคการเงินก็ยังมีความเคลื่อนไหวของสกุลเงินดิจิทัล (Digital currency) ที่จะมาสร้างปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกการเงินสมัยใหม่อย่างมีนัยสำคัญ โดยคาดว่า ในปี 2564 นี้ คงจะเริ่มเห็นสกุลเงินดิจิทัลหลายๆ สกุลที่น่าจะมีบทบาทมากขึ้น และพร้อมที่จะพัฒนาขึ้นมาทดแทนเงินสดสกุลท้องถิ่นได้ชัดเจน เช่น Stablecoin ที่ออกโดยภาคเอกชนอย่าง Diem (Libra เดิม) หรือแม้แต่ CBDC (Central Bank Digital Currency) ที่ออกโดยธนาคารกลางของแต่ละประเทศ เป็นต้น...อ่านต่อ
...อ่านต่อ
นับจากเปิดตลาดในช่วงต้นปี 2564 เป็นต้นมา อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล หรือบอนด์ยิลด์ของหลายๆ ประเทศทั่วโลก ต่างทยอยปรับสูงขึ้น ตามทิศทางของบอนด์ยิลด์ของสหรัฐฯ ซึ่งล่าสุด บอนด์ยิลด์ระยะ 10 ปีเพิ่มขึ้นมาแล้ว ประมาณ 0.40% มาอยู่ที่ 1.36% ซึ่งสูงสุดในรอบ 1 ปี ทั้งนี้การปรับขึ้นของบอนด์ยิลด์สหรัฐฯ น่าจะทำให้เกิดหลายคำถามตามมา อาทิ ...อ่านต่อ
15 กุมภาพันธ์ 2564
เศรษฐกิจไทย
เศรษฐกิจไทยปี 2563 หดตัวน้อยกว่าที่คาดจากมาตรการภาครัฐที่ช่วยประคองเศรษฐกิจ เศรษฐกิจไทยปี 2563 หดตัวที่ร้อยละ -6.1 ซึ่งต่ำกว่าที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินไว้ที่ร้อยละ -6.7 เล็กน้อย โดยหลักๆ แล้วเป็นผลมาจากแรงกระตุ้นจากมาตรการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจของภาครัฐ โดยเฉพาะโครงการคนละครึ่งที่มีเม็ดเงินใช้จ่ายผ่านโครงการดังกล่าวในไตรมาสที่ 4 ถึงร้อยละ 0.3 ของ GDP ...อ่านต่อ
9 กุมภาพันธ์ 2564
ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ในเดือนม.ค. 64 และในอีก 3 เดือนข้างหน้าปรับลดต่ำลงจากเดือนก่อนค่อนข้างมากอยู่ที่ 37.2 และ 38.8 ตามลำดับ ดัชนีปรับลดลงในเกือบทุกองค์ประกอบ โดยเฉพาะภาวะการจ้างงานและรายได้ หลังการกลับมาแพร่ระบาดซ้ำของโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนธ.ค. 2563 เป็นต้นมา ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจบางส่วนกลับมาชะงักชะงันตามมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่ถูกนำกลับมาใช้ ...อ่านต่อ
3 กุมภาพันธ์ 2564
เศรษฐกิจต่างประเทศ
การเข้ายึดอำนาจของกองทัพเมียนมาทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเมียนมากับประเทศมหาอำนาจชาติตะวันตกต้องอยู่ในภาวะชะงักงัน และอาจเป็นชนวนนำไปสู่การเพิกถอนสิทธิพิเศษทางการค้าของสหภาพยุโรป และสหรัฐฯ...อ่านต่อ
เกษตรกรรม
สถานการณ์ภัยแล้งในปี 2564 (มกราคม–เมษายน 2564) นับว่าไม่รุนแรง และน่าจะมีความรุนแรงน้อยกว่าปี 2563 พิจารณาจากปริมาณน้ำในเขื่อนที่ลดลงเพียงร้อยละ 7.3 (YoY) ซึ่งเป็นการลดลงเฉพาะในภาคตะวันตกเท่านั้น ขณะที่ภาคอื่นๆ ยังมีปริมาณน้ำในเขื่อนมากกว่าปีก่อน ...อ่านต่อ
23 กุมภาพันธ์ 2564
การค้า
เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวในทิศทางที่ดีขึ้น ส่งผลให้ตัวเลขส่งออกในเดือนม.ค. 2564 ขยายตัวเป็นบวกได้ต่อเนื่องจากเดือนก่อน และเมื่อหักทองคำออกขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 6.3 ซึ่งเป็นการสะท้อนความต้องการสินค้าส่งออกไทยที่มากขึ้น ...อ่านต่อ
19 กุมภาพันธ์ 2564
แม้จะยังมีปัญหาโควิด-19 ค้างคาอยู่ แต่การค้าชายแดนปี 2564 มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นตามเศรษฐกิจคู่ค้าที่น่าจะเข้าสู่เส้นทางฟื้นตัวจากจุดต่ำสุด ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในระยะต่อไปการส่งออกสินค้าผ่านแดนไปยังประเทศที่ 3 (จีน เวียดนามและสิงคโปร์) จะกลายมาเป็นแรงขับเคลื่อนใหม่ต่อจากนี้ โดยเฉพาะสินค้าดาวรุ่งอย่างเทคโนโลยี IT ยางพาราและผลไม้ที่เป็นที่ต้องการอย่างมาก มีส่วนทำให้การส่งออกชายแดนและผ่านแดนในภาพรวมกลับมาเติบโตได้ที่ร้อยละ 4.3 (กรอบประมาณการร้อยละ 3.3-5.5) มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มเป็น 799,195 ล้านบาท (กรอบประมาณการที่ 791,602-808,461 ล้านบาท)...อ่านต่อ
22 กุมภาพันธ์ 2564
ตลาดการเงิน
เงินบาทขยับอ่อนค่า แต่ฟื้นตัวได้บางส่วนปลายสัปดาห์ โดยเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ในช่วงแรก ก่อนจะเริ่มอ่อนค่าลงในช่วงกลางสัปดาห์ หลังจากที่เงินดอลลาร์ฯ แข็งค่าขึ้นตามการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ท่ามกลางสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงอ่อนค่าลงได้บางส่วนในช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากกรอบขาขึ้นของเงินดอลลาร์ฯ ถูกจำกัดลง หลังจากตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ ออกมาแย่กว่าตัวเลขคาดการณ์ของตลาด ...อ่านต่อ
11 กุมภาพันธ์ 2564
สถาบันการเงิน
มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) เป็นเครื่องมือนโยบายการเงินแบบพิเศษ ซึ่งธนาคารกลางหลายประเทศที่เป็นแกนหลักของโลกและบางประเทศในเอเชียนำมาใช้เพื่อช่วยรับมือกับปัญหาเศรษฐกิจ หลังจากที่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมาอยู่ใกล้ระดับ 0% แล้ว โดยรูปแบบและขนาดของการเข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงินภายใต้มาตรการ QE มีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะขอบเขตของปัญหา และบริบทของระบบเศรษฐกิจการเงินในแต่ละประเทศ...อ่านต่อ
เงินบาททยอยแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ฯ สอดคล้องกับทิศทางของหลายสกุลเงินในเอเชียและแรงซื้อสินทรัพย์เสี่ยงโดยมีแรงหนุนจากความหวังต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ นอกจากนี้เงินดอลลาร์ฯ ยังมีแรงกดดันเพิ่มเติมจากสัญญาณผ่อนคลายทางการเงินอย่างต่อเนื่องของประธานเฟด ขณะที่การปรับตัวลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และข้อมูลที่สะท้อนว่า แรงกดดันจากเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ ก็เป็นปัจจัยลบของเงินดอลลาร์ฯ ด้วยเช่นกัน...อ่านต่อ