11 สิงหาคม 2565
Econ Digest
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า การเลื่อนขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้มาตรฐานออกไป 3-6 เดือน จะส่งผลกระทบต่อส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยในปี 65 ประมาณ 0.04-0.06% และกระทบปี 66 ประมาณ 0.08-0.18% ...อ่านต่อ
...อ่านต่อ
10 สิงหาคม 2565
ปี 65 มูลค่าการบริการ Nursing Home เติบโตจำกัดอยู่ที่ 12,700 ล้านบาท ขยายตัว 3.5% จากปี 64 ...อ่านต่อ
9 สิงหาคม 2565
ในการประชุมกนง. ที่จะถึงนี้ คาดว่ากนง. จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 0.75 ท่ามกลางแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่ เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง...อ่านต่อ
25 กรกฎาคม 2565
เศรษฐกิจต่างประเทศ
ในการประชุม FOMC วันที่ 26-27 ก.ค. นี้ คาดว่าเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.75 ท่ามกลางแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ยังอยู่ระดับสูง โดยตัวเลขเงินเฟ้อเดือนมิ.ย. ที่ออกมาล่าสุดยังคงเร่งตัวสูงขึ้นและแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 40 ปีที่ 9.1% YoY ส่งผลให้เฟดมีแนวโน้มที่จะยังคงให้น้ำหนักต่อความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อเป็นหลัก ขณะที่มองความเป็นไปได้ที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายถึงร้อยละ 1.00 นั้นยังคงมีน้อยกว่าความเป็นไปได้ที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.75 ในการประชุม FOMC ที่จะถึงนี้ เนื่องจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายถึงร้อยละ 1.00 จะถือเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อครั้งที่มากสุดในรอบ 40 กว่าปี ซึ่งอาจสร้างความวิตกกังวลต่อตลาดได้ โดยตลาดจะมีมุมมองว่าเฟดมีความวิตกกังวลอย่างมากต่อตัวเลขเงินเฟ้อและมองว่าเงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะไม่สามารถควบคุมได้จึงจำเป็นต้องให้ยาแรงกว่าที่เคยส่งสัญญาณไว้ ดังนั้น เฟดคงต้องชั่งน้ำหนักผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นหากจะดำเนินนโยบายอย่างแข็งกร้าวมากขึ้น ...อ่านต่อ
16 กรกฎาคม 2565
มาตรการโควิดเป็นศูนย์กดดันเศรษฐกิจจีนในไตรมาส 2/2565 ขยายตัวเพียง 0.4%YoY ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์1/ที่ 1.5%YoY โดยช่วงครึ่งปีแรกเติบโตเพียง 2.5% เนื่องจากในช่วงเดือนมี.ค.-เม.ย. 65 จำนวนผู้ติดเชื้อในจีนเร่งตัวสูงขึ้นทำให้ จีนมีการล็อกดาวน์เมืองสำคัญ เช่น เซี่ยงไฮ้ และปักกิ่ง ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ชะลอตัวลง ทั้งในส่วนของการผลิตสินค้า การขนส่งต่าง ๆ...อ่านต่อ
7 กรกฎาคม 2565
เศรษฐกิจไทย
ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนในเดือนมิ.ย.65 ปรับลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และลดลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ โดยดัชนี KR-ECI ปัจจุบันและ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ 30.8 และ 32.9 จาก 31.2 และ 34.0 ในเดือนพ.ค.65 แม้ว่าครัวเรือนจะมีมุมมองที่ดีขึ้นต่อภาวะรายได้และการจ้างงาน หลังภาครัฐมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 เพิ่มเติม ทั้งในส่วนของการเริ่มเปิดสถานบันเทิงในจังหวัดพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยวและพื้นที่เฝ้าระวัง รวมถึงลดเงื่อนไข Thailand Pass เพื่อให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม ความกังวลเกี่ยวกับระดับราคาสินค้าที่สูงขึ้นสะท้อนจากระดับเงินเฟ้อในเดือนมิ.ย.65 ที่เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 14 ปี ยังคงกดดันดัชนีให้ลดลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์...อ่านต่อ
27 กรกฎาคม 2565
อุตสาหกรรม
ปัญหามลพิษ และภัยธรรมชาติ เป็นปัญหาที่ผู้บริโภคเผชิญและมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากที่สุด ส่งผลให้ผู้บริโภคตระหนักและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อช่วยลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น ลดหรืองดการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วทิ้ง เลือกใช้ผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุธรรมชาติที่ย่อยสลายได้ แยกขยะหรือนำของเหลือกลับมาใช้ใหม่ พร้อมทั้งมีการพิจารณาเลือกใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงาน ในขณะที่การเลือกโดยสารรถสาธารณะเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคส่วนน้อยให้ความสำคัญ...อ่านต่อ
22 กรกฎาคม 2565
เกษตรกรรม
ด้วยค่าครองชีพและกำลังซื้อที่กดดันการใช้จ่ายของผู้บริโภค ประกอบกับการแข่งขันกับอาหารโปรตีนทั่วไปที่มีหลากหลายระดับราคาและช่องทางการจำหน่าย ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือกที่มาจากนวัตกรรมอาหารใหม่ที่เริ่มเข้าสู่ตลาดมาระยะเวลาหนึ่ง อาจยังเผชิญความท้าทายในการเพิ่มปริมาณการบริโภคเพื่อเสริมหรือทดแทนมื้ออาหารหลักในกลุ่มผู้บริโภคส่วนใหญ่หรือตลาด Mass โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในปี 2565 มูลค่าตลาดโปรตีนทางเลือกที่มาจากนวัตกรรมอาหารใหม่น่าจะอยู่ที่ 4,100 ล้านบาท หรือขยายตัว 5.1%...อ่านต่อ
ปัจจุบัน หน้าตาการแข่งขันของตลาดรถยนต์ในประเทศของไทยเปลี่ยนแปลงไปพอควร โดยเฉพาะในตลาดรถยนต์ BEV หลังไทยพยายามเปิดรับการลงทุนเพื่อรักษาอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ให้ยังอยู่ในประเทศให้ได้มากที่สุด ด้วยการเร่งให้แรงสนับสนุนต่างๆ นับตั้งแต่ปีนี้ถึงปี 2568 ซึ่งผลก็คือ ค่ายรถที่มีรถยนต์ BEV พร้อมทำตลาดก่อน เช่น จีนหรือไทยที่จับพันธมิตรกับจีน ต่างก็เร่งลุยทำตลาด BEV ทันทีเพื่อชิงส่วนแบ่งตลาดก่อน เช่นเดียวกับค่ายรถตะวันตกที่ก็เตรียมตัวจะก้าวเข้ามาลุยตลาดด้วย ส่วนค่ายรถญี่ปุ่นที่เป็นเจ้าตลาดเดิมแม้จะยังเน้นสร้างยอดขายจากรถยนต์ไฮบริดเพื่อสร้างรายได้จากกลุ่มผู้ซื้อรถส่วนใหญ่ที่ยังกังวลต่อการใช้รถยนต์ BEV แต่ก็พร้อมหาจังหวะเหมาะเพื่อก้าวเข้าสู่ตลาด BEV ในอนาคต...อ่านต่อ
8 สิงหาคม 2565
สถาบันการเงิน
ในการประชุมกนง. ที่จะถึงนี้ คาดว่ากนง. จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 0.75 ท่ามกลางแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่ เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลให้กนง. มีแนวโน้มที่จะทยอยถอนคันเร่งทางเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไป เศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญแรงกดดันด้านเงินเฟ้อในระดับสูง โดยจากตัวเลขเงินเฟ้อไทยเดือนก.ค. 2565 อัตราเงินเฟ้อไทยวัดจากดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มสูงขึ้น 7.61% YoY ชะลอลงเพียงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ 7.66% YoY ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานซึ่งหักอาหารสดและพลังงานออกแล้วเพิ่มสูงขึ้นในอัตราที่เร่งขึ้นที่ 2.99% YoY จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ 2.51% YoY สะท้อนให้เห็นว่าการส่งผ่านต้นทุนจากไปยังผู้บริโภคมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นและในวงกว้างขึ้น ดังนั้น แม้ว่าราคาน้ำมันจะย่อลงมาบ้างและอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะชะลอลงเล็กน้อย แต่แรงกดดันจากเงินเฟ้อภายในประเทศมีแนวโน้มที่จะยังคงอยู่ในระดับสูงอยู่ ดังนั้น กนง. มีแนวโน้มที่จะให้น้ำหนักต่อปัจจัยเสี่ยงด้านเงินเฟ้อเป็นสำคัญ ...อ่านต่อ
1 สิงหาคม 2565
ตลาดการเงิน
สัญญาณจากผลการประชุม กนง. เดือนมิ.ย. ที่ผ่านมา สะท้อนว่า ไทยคงเข้าใกล้จังหวะการเริ่มปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบายแล้ว และจากแรงกดดันเงินเฟ้อของไทยที่อยู่ในระดับสูงทำให้น่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือของปีนี้และเพิ่มเติมอีกในช่วงต้นปี 2566 ...อ่านต่อ