Display mode (Doesn't show in master page preview)

12 มีนาคม 2561

เศรษฐกิจไทย

ภาวะเศรษฐกิจของครัวเรือนในไตรมาสที่ 1/2561 ยังสะท้อนภาพความระมัดระวังในการใช้จ่ายของครัวเรือนไทย

คะแนนเฉลี่ย

             จากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจของครัวเรือนในเดือนก.พ. 2561 พบว่า ครัวเรือนไทยในเขตกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดยังมีมุมมองต่อภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพในช่วง 3 เดือนข้างหน้าไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดือนก่อน สะท้อนจากดัชนีภาวะเศรษฐกิจของครัวเรือนอีก 3 เดือนข้างหน้า (3-month Expected KR-ECI) ที่ยังทรงตัวอยู่ที่ระดับ 47.1 ในเดือนก.พ. 2561 โดยครัวเรือนยังมีมุมมองที่เป็นบวกต่อประเด็นเรื่องรายได้และการจ้างงานตามการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในเดือนเม.ย. 2561 ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรสำคัญบางรายการเริ่มปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น เช่น ข้าวหอมมะลิ มันสำปะหลัง อย่างไรก็ตาม  ครัวเรือนกลับมีความกังวลต่อประเด็นเรื่องภาระหนี้สินมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากสภาวะการเป็นหนี้ในปัจจุบันของครัวเรือน 

             ขณะที่ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือน (KR-ECI) ในเดือนก.พ. 2561 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 46.3 ส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยฤดูกาลอย่างเทศกาลตรุษจีนที่ทำให้ครัวเรือนบางส่วนมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากปกติ นอกจากนี้ ครัวเรือนยังมีภาระหนี้เพิ่มขึ้นจากการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี ครัวเรือนมีมุมมองที่เป็นบวกมากขึ้นต่อสถานการณ์ทางด้านราคาสินค้า สอดคล้องกับดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศที่ในเดือนก.พ. 2561 ลดลงร้อยละ 0.23 จากเดือนม.ค. 2561
             ภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนในเดือนมี.ค. 2561 คาดว่าจะปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้นจากภาระค่าใช้จ่ายตามเทศกาลที่ลดลง ประกอบกับสถานการณ์ราคาสินค้ายังทรงตัวอยู่ในระดับใกล้เคียงเดิม แต่ยังต้องติดตามสถานการณ์สินค้าเกษตรที่ยังมีความไม่แน่นอนอยู่มาก ซึ่งเป็นปัจจัยกดดันกำลังซื้อฐานราก​


ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจไทย