12 กันยายน 2565
ตลาดการเงิน
... อ่านต่อ
FileSize KB
5 กันยายน 2565
29 สิงหาคม 2565
22 สิงหาคม 2565
15 สิงหาคม 2565
8 พฤศจิกายน 2562
เงินบาทอ่อนค่าสุดในรอบ 3 สัปดาห์ที่ระดับ 30.43 บาทต่อดอลลาร์ฯ เงินบาททยอยอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง โดยเผชิญแรงขายเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ในช่วงกลางสัปดาห์จากมติ กนง. ที่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยมาที่ 1.25% ซึ่งเกิดขึ้นในจังหวะเดียวกับการประกาศปรับปรุงเกณฑ์เพื่อเอื้อให้เงินทุนไหลออกของธปท. นอกจากนี้ การอ่อนค่าของเงินบาทยังเป็นทิศทางที่สอดคล้องกับสกุลเงินและสินทรัพย์ปลอดภัยอื่นๆ อาทิ เงินเยนและทองคำ ท่ามกลางสัญญาณบวกจากการบรรลุข้อตกลงทางการค้าเฟสแรกระหว่างสหรัฐฯ และจีน ... อ่านต่อ
4 ตุลาคม 2562
เงินบาทกลับมาแข็งค่าในช่วงปลายสัปดาห์ โดยเงินบาทขยับอ่อนค่าลงในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ ตามการอ่อนค่าของสกุลเงินในภูมิภาค และแรงขายสินทรัพย์เสี่ยงท่ามกลางความกังวลต่อปัจจัยเสี่ยงจากสงครามการค้า สถานการณ์ BREXIT และสัญญาณการชะลอตัวของภาคการผลิตในสหรัฐฯ และยูโรโซน นอกจากนี้ สถานะขายสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ ก็เป็นปัจจัยลบต่อเงินบาทด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี เงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ หลังจากที่เงินดอลลาร์ฯ ยังคงเผชิญแรงขายอย่างต่อเนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ตอกย้ำทิศทางชะลอตัว อาทิ การจ้างงานภาคเอกชน และดัชนี ISM ภาคบริการในเดือนก.ย.... อ่านต่อ
9 สิงหาคม 2562
เงินบาทแข็งค่าขึ้น โดยเงินบาทได้รับแรงหนุนในช่วงต้นสัปดาห์จากแรงขายเงินดอลลาร์ฯ หลังตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ออกมาอ่อนแอกว่าที่คาด ประกอบกับตลาดมีความกังวลต่อสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีนมากขึ้น เงินบาทยังคงแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ (แม้ว่าจะมีจังหวะอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ หลังกนง. มีมติปรับลดดอกเบี้ยนอกเหนือการคาดการณ์ของตลาดลงมาที่ 1.50%) โดยเงินบาทน่าจะมีแรงหนุนบางส่วนจากแรงขายเงินดอลลาร์ฯ ของผู้ส่งออก จังหวะการเข้าซื้อพันธบัตรไทยของต่างชาติในระหว่างสัปดาห์ และทิศทางเงินดอลลาร์ฯ ที่ยังอ่อนแอเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก ขณะที่ สกุลเงินในภูมิภาคบางส่วนเริ่มฟื้นตัวขึ้น จากที่อ่อนค่าลงตามเงินหยวนในช่วงต้นสัปดาห์ ... อ่านต่อ
2 สิงหาคม 2562
เงินบาทกลับมาอ่อนค่าลงหลังผลการประชุมเฟด โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นช่วงต้นสัปดาห์ท่ามกลางแรงซื้อเงินดอลลาร์ฯ ที่ชะลอลงระหว่างที่ตลาดรอติดตามผลการประชุมเฟดและการเจรจาการค้าสหรัฐฯ-จีน อย่างไรก็ดี เงินบาทพลิกกลับมาอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ หลังจากที่ถ้อยแถลงของประธานเฟดยังไม่สะท้อนถึงโอกาสของการปรับลดดอกเบี้ยในครั้งต่อไป แม้เฟดจะมีการปรับลดดอกเบี้ยในการประชุมรอบล่าสุดก็ตาม สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ เงินบาทอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ สอดคล้องกับสกุลเงินในภูมิภาคท่ามกลางสัญญาณตึงเครียดของสงครามการค้า แต่ลดช่วงติดลบกลับมาได้เกือบทั้งหมด ก่อนการรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ... อ่านต่อ
12 กรกฎาคม 2562
เงินบาทผันผวน และอ่อนค่าลงปลายสัปดาห์ หลังมาตรการธปท.โดยเงินบาทอ่อนค่าลงช่วงต้นสัปดาห์ ตามแรงซื้อคืนเงินดอลลาร์ฯ ก่อนสุนทรพจน์ต่อสภาคองเกรสของประธานเฟด อย่างไรก็ดี เงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นช่วงกลางสัปดาห์ เนื่องจากตลาดตีความถ้อยแถลงของประธานเฟดว่า เป็นการส่งสัญญาณถึงโอกาสการลดดอกเบี้ยลงในเร็วๆ นี้ เงินบาทกลับมาอ่อนค่าลงอีกครั้งช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากธปท. ออกมาตรการเฝ้าระวังเงินทุนไหลเข้าระยะสั้น โดยปรับลดเกณฑ์ยอดคงค้าง ณ สิ้นวันของบัญชี NRBA และ NRBS และยกระดับการรายงานข้อมูลถือครองตราสารหนี้ไทยของต่างชาติ... อ่านต่อ
14 มิถุนายน 2562
เงินบาทแข็งค่าสุดในรอบ 3 เดือนครึ่งที่ 31.14 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้น สอดคล้องกับแรงซื้อสุทธิในตลาดหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติในช่วงต้นสัปดาห์ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ มีปัจจัยกดดันจากกระแสการคาดการณ์ถึงความเป็นไปได้ของการปรับลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) หลังจากที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงมีทิศทางที่อ่อนแอกว่าที่ตลาดคาด อาทิ เงินเฟ้อที่ชะลอลง และการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ... อ่านต่อ
7 มิถุนายน 2562
เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 3 เดือนที่ 31.28 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยทิศทางเงินบาทที่แข็งค่าสอดคล้องกับแรงซื้อสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติระหว่างสัปดาห์ สวนทางกับเงินดอลลาร์ฯ ที่เผชิญแรงกดดันจากถ้อยแถลงของประธานเฟดที่กล่าวถึง การดำเนินนโยบายการเงินที่เหมาะสมเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งกระตุ้นกระแสการคาดการณ์ว่า เฟดมีโอกาสที่จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงภายในปีนี้ นอกจากนี้ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาทิ ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชน ที่อ่อนแอก็เป็นปัจจัยลบของเงินดอลลาร์ฯ ด้วยเช่นกัน... อ่านต่อ
31 พฤษภาคม 2562
เงินบาทแข็งค่าขึ้น หลังขยับอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงแรก โดยเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงต้นสัปดาห์ สอดคล้องกับทิศทางของสกุลเงินเอเชียบางส่วนที่เผชิญแรงกดดันจากสัญญาณความตึงเครียดของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน อย่างไรก็ดี เงินบาทสามารถทยอยแข็งค่ากลับมาในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ โดยได้รับแรงหนุนจากแรงซื้อสุทธิหุ้น และพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ อนึ่ง กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้เปิดเผยรายงานทบทวนนโยบายเศรษฐกิจและอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศคู่ค้าของสหรัฐฯ ซึ่งไทยไม่ติดอยู่ในบัญชีรายชื่อที่ถูกติดตาม (Monitoring List) ตามที่มีความกังวลในช่วงก่อนหน้านี้ ... อ่านต่อ
24 พฤษภาคม 2562
เงินบาทฟื้นตัวกลับมาแข็งค่าขึ้นช่วงท้ายสัปดาห์ หลังอ่อนค่าเข้าใกล้ระดับ 32.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงแรก โดยเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงต้น-กลางสัปดาห์ ตามทิศทางการอ่อนค่าของเงินหยวน และสกุลเงินอื่นๆในภูมิภาคท่ามกลางความตึงเครียดมากขึ้นของสถานการณ์ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน อย่างไรก็ดี เงินบาทสามารถลดช่วงติดลบ และดีดตัวกลับมาแข็งค่าขึ้นช่วงปลายสัปดาห์ หลังมีแรงหนุนจากปัจจัยทางเทคนิค ประกอบกับตลาดหุ้นและสกุลเงินในภูมิภาคส่วนใหญ่ก็ฟื้นตัวขึ้นด้วยเช่นกัน ... อ่านต่อ
17 พฤษภาคม 2562
เงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงปลายสัปดาห์ ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ ต้นสัปดาห์ตามทิศทางเงินหยวนและสกุลเงินอื่นๆ ในเอเชีย ก่อนจะดีดตัวกลับมาแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 2 เดือนครึ่งที่ 31.45 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยมีแรงหนุนจากสถานะซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่ตลาดในประเทศรอติดตามประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับรายงานนโยบายค่าเงินของประเทศคู่ค้าโดยกระทรวงการคลังสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี เงินบาททยอยอ่อนค่าลงอีกครั้งในช่วงที่เหลือของสัปดาห์เช่นเดียวกับสกุลเงินในภูมิภาคท่ามกลางความไม่แน่นอนของประเด็นทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน ประกอบกับเงินดอลลาร์ฯ มีปัจจัยหนุนเพิ่มเติมจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ดีกว่าที่คาด... อ่านต่อ
10 พฤษภาคม 2562
เงินบาทแข็งค่าทดสอบระดับ 31.55 บาทต่อดอลลาร์ฯ ซึ่งแข็งค่าสุดในรอบกว่า 1 เดือนช่วงปลายสัปดาห์ เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นช่วงต้นสัปดาห์ ท่ามกลางสัญญาณที่ตึงเครียดขึ้นของประเด็นทางการค้าสหรัฐฯ-จีน ประกอบกับน่าจะมีแรงซื้อคืนเงินบาทบางส่วนหลังตลาดกลับมาเปิดทำการจากช่วงวันหยุดยาว อย่างไรก็ดี เงินบาทอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ กลางสัปดาห์หลังผลการประชุมกนง. แต่ฟื้นตัวกลับมาแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 1 เดือนได้ช่วงปลายสัปดาห์ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ถูกกดดันจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่น่าผิดหวัง ประกอบกับนักลงทุนยังคงรอติดตามการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนอย่างใกล้ชิด... อ่านต่อ
3 พฤษภาคม 2562
เงินบาทขยับอ่อนค่าเล็กน้อย แต่ภาพรวมตลอดสัปดาห์ยังคงทรงตัวอยู่ในกรอบแคบใกล้ระดับ 32.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ทั้งนี้ เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ไม่ได้รับแรงหนุนมากนักก่อนการประชุมเฟดกลางสัปดาห์ อย่างไรก็ดี เงินบาททยอยอ่อนค่าลง สวนทางเงินดอลลาร์ฯ ที่แข็งค่าขึ้นหลังการประชุมเฟด เนื่องจากเฟดยังไม่ส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงในอนาคตอันใกล้ นอกจากนี้ การอ่อนค่าของเงินบาท ยังสอดคล้องกับสถานะขายสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติด้วยเช่นกัน ... อ่านต่อ
12 เมษายน 2562
เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้น เงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ สอดคล้องกับสถานะซื้อสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ มีปัจจัยลบจากตัวเลขยอดสั่งซื้อสินค้าภาคโรงงานของสหรัฐฯ เดือนก.พ. ที่หดตัวลง อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงบวกลงเล็กน้อยในช่วงกลางสัปดาห์ท่ามกลางสัญญาณขายสุทธิพันธบัตรไทยของต่างชาติ ขณะที่ การปรับลดประมาณการเศรษฐกิจโลกปีนี้ของ IMF ลงมาที่ 3.3% เพิ่มแรงกดดันต่อสกุลเงินในภูมิภาค เงินบาทฟื้นตัวขึ้นอีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับค่าเงินหยวน หลังตัวเลขส่งออกเดือนมี.ค. ของจีน ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาด ... อ่านต่อ
5 เมษายน 2562
เงินบาทกลับมาอ่อนค่าลงช่วงปลายสัปดาห์ ทั้งนี้ เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์สอดคล้องกับทิศทางของเงินหยวนและสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค หลังจากที่ข้อมูล PMI ของจีนในเดือนมี.ค. ออกมาแข็งแกร่งกว่าที่ตลาดคาด อย่างไรก็ดี กรอบการแข็งค่าของเงินบาทในระหว่างสัปดาห์ยังเป็นไปอย่างจำกัด เนื่องจากตลาดยังคงรอประเมินภาพที่ชัดเจนของปัจจัยทางการเมืองในประเทศอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ กลับมาได้รับแรงหนุนบางส่วนในช่วงปลายสัปดาห์ก่อนการรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ประกอบกับมีปัจจัยบวกจากสัญญาณที่สะท้อนภาพการคลี่คลายของประเด็นความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ... อ่านต่อ
1 กุมภาพันธ์ 2562
เงินบาทแข็งค่าสุดในรอบเกือบ 9 เดือนที่ 31.18 บาทต่อดอลลาร์ฯ หลังการประชุมเฟด โดยเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้น สอดคล้องกับสถานะซื้อสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ และทิศทางการแข็งค่าของสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงเทขาย ท่ามกลางสัญญาณชะลอการคุมเข้มนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) โดยเฟดได้ปรับเปลี่ยนข้อความที่เคยระบุถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป มาเป็นการส่งสัญญาณว่าจะมีการดำเนินนโยบายการเงินด้วยความระมัดระวัง ... อ่านต่อ
25 มกราคม 2562
เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้น หลังจากที่อ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ ต้นสัปดาห์ตามการอ่อนค่าของเงินหยวน ประกอบกับมีปัจจัยลบจากตัวเลขการส่งออกเดือนธ.ค. ของไทยที่อ่อนแอกว่าที่คาด โดยเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นตั้งแต่ในช่วงกลางสัปดาห์สอดคล้องกับสถานะซื้อสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ หลังมีความคืบหน้าเกี่ยวกับประเด็นการเลือกตั้งของไทย ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ ถูกกดดันจากภาวะชัตดาวน์หน่วยงานราชการสหรัฐฯ ความกังวลเกี่ยวกับประเด็นทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน และยอดขายบ้านมือสองเดือนธ.ค. ที่หดตัวกว่าที่ตลาดคาด ... อ่านต่อ
18 มกราคม 2562
เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 8 เดือน ก่อนลดช่วงบวกลงเล็กน้อยปลายสัปดาห์ โดยเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นสอดคล้องกับสถานะซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ และการฟื้นตัวขึ้นของสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลก ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ ยังเผชิญแรงกดดันต่อเนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาอ่อนแอกว่าที่คาด สัญญาณที่ตอกย้ำแนวโน้มการชะลอการคุมเข้มนโยบายการเงินของสหรัฐฯ จากรองประธานเฟด และภาวะชัตดาวน์หน่วยงานราชการสหรัฐฯ ที่ยังคงยืดเยื้อต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงบวกบางส่วนลงก่อนปิดตลาดในประเทศช่วงปลายสัปดาห์ ... อ่านต่อ
7 ธันวาคม 2561
เงินบาทแกว่งตัวเป็นกรอบ โดยเงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ เช่นเดียวกับสกุลเงิน-ตลาดหุ้นในภูมิภาค ตลอดจนสินทรัพย์เสี่ยงในภาพรวม ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงกดดัน หลัง ปธน. สหรัฐฯ และจีนเห็นพ้องให้เลื่อนกำหนดระยะเวลาที่สหรัฐฯ จะเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนมูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์ฯ ออกไป 90 วัน อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงบวกบางส่วนและกลับมาอ่อนค่าลงในช่วงต่อมา เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกในช่วงปีหน้า กระตุ้นให้นักลงทุนหลีกเลี่ยงและปรับลดการถือครองสินทรัพย์เสี่ยง ... อ่านต่อ
30 พฤศจิกายน 2561
เงินบาทกลับมาแข็งค่ากว่าระดับ 33.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ท่ามกลางแรงขายเงินดอลลาร์ฯ หลังประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) กล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดกำลังเข้าใกล้ระดับที่เป็นกลางต่อเศรษฐกิจ โดยถ้อยคำดังกล่าว ถูกตีความเป็นการส่งสัญญาณว่าเฟดอาจจะมีจังหวะการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่น้อยลงในช่วงปีข้างหน้า อย่างไรก็ดี กรอบการแข็งค่าของเงินบาทยังคงจำกัด เนื่องจากตลาดยังคงรอประเมินสัญญาณจากการหารือนอกรอบประชุม G20 ของประธานาธิบดีสหรัฐฯ และจีนเกี่ยวกับประเด็นทางการค้า ... อ่านต่อ
23 พฤศจิกายน 2561
เงินบาทอ่อนค่าลงช่วงปลายสัปดาห์ เงินบาทแข็งค่าขึ้นช่วงสั้นๆ ต้นสัปดาห์ท่ามกลางแรงขายเงินดอลลาร์ฯ จากมุมมองของเจ้าหน้าที่เฟดเกี่ยวกับแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งกระตุ้นให้ตลาดบางส่วนเริ่มประเมินแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ในปีหน้าอย่างระมัดระวัง อย่างไรก็ดี เงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงต่อมา โดยมีปัจจัยลบจากข้อมูลจีดีพีไตรมาส 3 ของไทยที่เติบโตน้อยกว่าที่คาด ประกอบกับมีแรงกดดันเพิ่มเติมจากแรงเทขายสินทรัพย์เสี่ยงในภาพรวม เนื่องจากตลาดยังคงรอความชัดเจนของข้อตกลง BREXIT และประเด็นทางการค้าของสหรัฐฯ และจีน ... อ่านต่อ
9 พฤศจิกายน 2561
เงินบาทกลับมาอ่อนค่ากว่าระดับ 33.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ อีกครั้ง เงินบาทแกว่งตัวในช่วงต้นสัปดาห์รอผลการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐฯ ก่อนจะขยับแข็งค่าขึ้นท่ามกลางแรงกดดันของเงินดอลลาร์ฯ หลังผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ สิ้นสุดลงด้วยการครองเสียงข้างมากในแต่ละสภาของทั้ง 2 พรรค โดยเดโมแครตกลับมาครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้ง ขณะที่ รีพับลิกันครองเสียงส่วนใหญ่ในวุฒิสภา อย่างไรก็ดี เงินดอลลาร์ฯ ฟื้นตัวกลับมาแข็งค่าขึ้นหลังผลการประชุมเฟดแม้เฟดจะยืนดอกเบี้ยไว้ตามเดิม เนื่องจากสัญญาณจากเฟดยังคงย้ำถึงการคุมเข้มนโยบายการเงินต่อเนื่องในระยะใกล้ๆนี้ โดยเฉพาะการประชุมเฟดเดือนธ.ค. ... อ่านต่อ
31 สิงหาคม 2561
เงินบาทกลับมาอ่อนค่าลง หลังแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 2 เดือนครั้งใหม่ที่ 32.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ เงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงแรก สอดคล้องกับสถานะซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ประกอบกับมีแรงขายเงินดอลลาร์ฯ รับรายงานข่าวที่สหรัฐฯ และเม็กซิโกสามารถบรรลุข้อตกลงทางการค้าระหว่างกัน อย่างไรก็ดี เงินบาทกลับมาอ่อนค่าลงในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ ท่ามกลางการคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนก.ย.นี้ หลังข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลายตัวออกมาดีกว่าที่คาด นอกจากนี้ แรงขายสินทรัพย์ในตลาดเกิดใหม่ และสัญญาณจากธปท. ที่สะท้อนว่า มีการติดตามและเข้าดูแลเสถียรภาพของค่าเงินบาทอย่างต่อเนื่อง ก็เป็นปัจจัยกดดันเงินบาทในช่วงปลายสัปดาห์ด้วยเช่นกัน... อ่านต่อ
13 กรกฎาคม 2561
เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 9 เดือน เงินบาททยอยอ่อนค่าลง และแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 9 เดือนที่ 33.36 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยการอ่อนค่าของเงินบาท ยังสอดคล้องกับเงินหยวน และสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค ท่ามกลางความกังวลต่อประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ มีปัจจัยบวกเพิ่มเติมจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ (อาทิ ดัชนีราคาผู้ผลิต ดัชนีราคาผู้บริโภค ที่ขยับขึ้น และการปรับลดลงของจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์) ซึ่งสนับสนุนแนวโน้มการทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)... อ่านต่อ
29 มิถุนายน 2561
เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 8 เดือนที่ 33.22 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยการอ่อนค่าของเงินบาทเป็นทิศทางที่สอดคล้องกับเงินหยวน และสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค ตลอดจนการปรับลดการถือครองสินทรัพย์เสี่ยงของนักลงทุนในภาพรวม ท่ามกลางความกังวลต่อประเด็นที่ยืดเยื้อของข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะในเรื่องมาตรการกีดกันการค้าและการลงทุน นอกจากนี้ เงินบาทยังเผชิญแรงกดดันในระหว่างสัปดาห์จากแรงขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติด้วยเช่นกัน ... อ่านต่อ
8 มิถุนายน 2561
เงินบาทกลับมาอ่อนค่าช่วงปลายสัปดาห์ โดยเงินบาททยอยแข็งค่าในช่วงต้น-กลางสัปดาห์สอดคล้องกับทิศทางของสกุลเงินในภูมิภาค สถานะซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ และแรงขายเงินดอลลาร์ฯ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับเงินยูโรที่ได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์เกี่ยวกับโอกาสที่ ECB จะยุติมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณภายในปีนี้ อย่างไรก็ดี เงินบาทกลับไปอ่อนค่าในช่วงปลายสัปดาห์ ขณะที่ มีแรงซื้อคืนเงินดอลลาร์ฯ ก่อนการประชุม G-7 ช่วงสุดสัปดาห์ และการประชุมเฟดในวันที่ 12-13 มิ.ย.นี้... อ่านต่อ
1 มิถุนายน 2561
เงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อน โดยเงินบาทขยับอ่อนค่าลงกว่าระดับ 32.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงต้น-กลางสัปดาห์ สอดคล้องกับทิศทางของหลายๆ สกุลเงินในภูมิภาค และแรงขายสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ ได้รับแรงหนุน โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับเงินยูโร ซึ่งถูกกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับประเด็นทางการเมืองของอิตาลี อย่างไรก็ดี เงินบาทสามารถฟื้นตัวกลับมาบางส่วนในช่วงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับสถานะซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ประกอบกับเงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงขาย หลังปัญหาทางการเมืองของอิตาลีเริ่มคลี่คลาย และตลาดเปลี่ยนจุดสนใจมาที่ข้อพิพาททางการค้าของสหรัฐฯ และกับประเทศคู่ค้า... อ่านต่อ
25 พฤษภาคม 2561
เงินบาทแข็งค่าหลุดระดับ 32.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ อีกครั้ง โดยเงินบาทอ่อนค่าลงเพียงช่วงสั้นๆ ต้นสัปดาห์ หลังจากสหรัฐฯ และจีนบรรลุความเห็นชอบร่วมกันที่จะไม่ทำสงครามการค้า อย่างไรก็ดี เงินบาทกลับมาทยอยแข็งค่าขึ้นในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ หลังจากที่ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับผลการเจรจาทางการค้าของสหรัฐฯ-จีน กดดันให้เงินดอลลาร์ฯ อ่อนค่าลง ประกอบกับเงินบาท ก็มีปัจจัยหนุนจากการที่นักลงทุนต่างชาติกลับเข้าซื้อสุทธิพันธบัตรไทยอีกครั้ง... อ่านต่อ
18 พฤษภาคม 2561
เงินบาททยอยอ่อนค่าลง ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ ได้รับแรงหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาทิ ข้อมูลผลผลิตภาคอุตสาหกรรม และผลสำรวจกิจกรรมการผลิตของเฟดสาขาฟิลาเดลเฟีย ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าตัวเลขคาดการณ์ของตลาด และจากการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ซึ่งทำสถิติสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2554 ที่ระดับ นอกจากนี้ การอ่อนค่าของเงินบาทในช่วงปลายสัปดาห์ ยังเป็นทิศทางที่สอดคล้องกับสถานะขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติด้วยเช่นกัน ... อ่านต่อ
11 พฤษภาคม 2561
เงินบาทปรับตัวทะลุแนว 32.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ แตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 4 เดือนที่ 32.22 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาททยอยอ่อนค่าท่ามกลางแรงหนุนของเงินดอลลาร์ฯ จากกระแสการคาดการณ์เกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ หลังการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันตลาดโลกในช่วงที่ผ่านมา อาจส่งผลทำให้แรงกดดันเงินเฟ้อของสหรัฐฯ เพิ่มมากขึ้นในระยะข้างหน้า อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงติดลบลงบางส่วนในช่วงปลายสัปดาห์ ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงขายทำกำไร หลังตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ... อ่านต่อ