Display mode (Doesn't show in master page preview)

6 มิถุนายน 2562

Econ Digest

เปลี่ยนเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้กลายเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ

คะแนนเฉลี่ย

ความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuels) เติบโตอย่างรวดเร็ว คาดว่าในปี 2579 ความต้องการ ในประเทศจะเพิ่มขึ้นถึง 25.30 ล้านลิตร/วัน แต่หากมองไปยังวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตซึ่งมาจากพืช อาหาร เช่น ปาล์มน้ำมัน อ้อย มันสาปะหลัง จะเห็นถึงผลกระทบตามมาในเรื่องกลไกตลาดสินค้าเกษตร กล่าวคือ ในสถานการณ์ที่น้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพมีความต้องการสูง ย่อมส่งผลกระทบต่อราคาหรือปริมาณ ของพืชอาหาร จนบางครั้งต้องพึ่งพามาตรการสนับสนุนหรือช่วยเหลือจากภาครัฐ

การเพิ่มพื้นที่การเพาะปลูกพืชอาหารเพื่อใช้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพตามความต้องการที่เพิ่มขึ้น อาจไม่ใช่ทางออกที่เหมาะสมในระยะยาว กลับเป็นส่งเสริมให้บุกรุกป่า นอกจากทำลายพื้นที่ป่าแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารของประเทศด้วย การแสวงหาวัตถุดิบทางเลือกอื่นที่ไม่ใช่พืชอาหาร จึงเป็นคำตอบให้กับปัญหานี้

ชีวมวล (Biomass) คือ วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร หรือ กากจากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมการ เกษตร ได้แก่ เศษไม้ยางพารา ทะลายปาล์ม กาบหรือกะลามะพร้าว แกลบ ฟางข้าว กากอ้อย ซังข้าวโพด เหง้ามันสำปะหลัง ฯลฯ ล้วนสามารถผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพได้ โดยมีมูลค่าทางทฤษฎีเฉลี่ยสูงถึง แสนกว่าล้านบาทต่อปี หรือผลิตได้ถึง 33 ล้านลิตร/วัน ครอบคลุมความต้องการใช้ ภายใต้เงื่อนไขคือสามารถจัดเก็บชีวมวลที่มีอยู่ในประเทศได้ทั้งหมดโดยไม่มีต้นทุนค่าขนส่ง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรได้กระจายอยู่ในหลายแห่งทั่วประเทศ และยังไม่มี ระบบการรวบรวมที่มีประสิทธิภาพพอ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการนำมาผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ ในระยะ เริ่มแรก ภาครัฐจึงควรให้การสนับสนุนเพื่อให้เกิดระบบการรวบรวมและเกิดการลุงทุนในอุตสาหกรรมผลิต น้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพขึ้น ซึ่งนอกจากจะเปลี่ยนสิ่งเหลือใช้ให้กลายเป็นสินค้ามูลค่าสูงแล้ว ยังเกิดประโยชน์ต่อหลายฝ่ายในห่วงโซ่คุณค่า เช่น ช่วยลดภาระในการกำจัดของเสียโรงงานอุตสาหกรรม เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน สร้างรายได้และอาชีพในท้องถิ่น เกิดจ้างงานขนส่ง เป็นต้น

https://bit.ly/2Za6Iq4

#Biofuels #เชื้อเพลิงชีวภาพ #Biomass

Scan QR Code


QR Code

หมายเหตุ

รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น

Econ Digest