ในช่วงต้นเดือนธันวาคม 2566 จะมีการประชุมระดับผู้นำระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ ได้แก่ การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 28 หรือ COP28 ซึ่งจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน – 12 ธันวาคม 2566 ณ เมืองดูไบ สาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์
การประชุมในครั้งนี้ จะมีผู้แทนจากรัฐภาคีทั่วโลกจากประเทศสมาชิกเกือบ 200 ประเทศเข้าร่วม โดยจะมีการติดตาม และเจรจาประเด็นสำคัญเปรียบเทียบกับประเด็นที่เคยเจรจาในการประชุม COP27 ดังนี้
สำหรับประเทศไทยในฐานะเป็นประเทศภาคี จะมีการนำผลการประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย ครั้งที่ 2 (TCAC 2023) ไปนำเสนอ รวมถึงมีประเด็นสำคัญที่คาดว่าจะหยิบยกมาเจรจาในที่ประชุม COP28 ได้แก่• การร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานของประเทศไทยทั้งในระดับโลก ระดับประเทศ ระดับจังหวัด และระดับพื้นที่ รวมถึงการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในประเทศไทย เพื่อบรรลุเป้าหมายตามความตกลงปารีส
• ต้นทุน และการเข้าถึงเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ประเทศกำลังพัฒนารวมถึงประเทศไทยมีข้อจำกัดและต้องการความช่วยเหลือด้านเงินทุน• กลไกการเงินด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมองว่าประเทศไทยจะนำเสนอการเพิ่มประสิทธิภาพของกองทุนสิ่งแวดล้อมและการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิต ผ่านการจัดตั้งกองทุน Thai Climate Initiative fund (ThaiCI) ที่ดำเนินการภายใต้กองทุนสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ• ตลาดคาร์บอนเครดิตของไทย โดยประเทศไทยจะนำเสนอการพัฒนากลไกคาร์บอนเครดิตภายในประเทศมาตรฐาน Premium T-VER ที่สอดคล้องกับแนวปฏิบัติสากล เพื่อสร้างความความน่าเชื่อถือในกระบวนการลดก๊าซเรือนกระจก รวมถึงเพื่อใช้ชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้มาตรการ CORSIA ของสายการบิน ซึ่งอยู่ระหว่างการประเมินโดยองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ทั้งนี้ ในด้านการดำเนินการเพื่อลดผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Action) คาดว่ารัฐบาลไทยจะนำผลการผลักดันแผนการดำเนินการ ระเบียบ และกฎหมายที่สำคัญ ที่ได้บังคับใช้แล้วและที่เตรียมดำเนินการเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ด้านการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเป็นรูปธรรม ดังนี้
ทั้งนี้ ที่ประชุม COP28 คงจะส่งผลให้ภาคธุรกิจไทยต้องปรับตัวมากขึ้น ทั้งจากกฎระเบียบ และมาตรการสากลที่จะมีความชัดเจน เข้มงวด และครอบคลุมมากขึ้น ทั้งจากมิติของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่จะเริ่มครอบคลุมถึงก๊าซมีเทน รวมถึงผลกระทบด้านสังคม ความมั่นคงทางอาหาร และสิทธิมนุษยชน เพิ่มเติมจากแค่มิติด้านสิ่งแวดล้อม โดยขยายขอบเขตความครอบคลุมการดำเนินการด้านดังกล่าวทั้ง supply chain ที่จะทำให้เกิดการส่งผ่านข้อบังคับ หรือการดำเนินการในด้านดังกล่าวจากประเทศพัฒนาแล้วไปยังประเทศกำลังพัฒนา และจากบริษัทขนาดใหญ่ไปสู่บริษัทขนาดเล็ก รวมถึง SMEs ได้ ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะยังไม่มีกฎระเบียบ หรือมาตรการภายในประเทศที่บังคับใช้ หรือกำหนดบทลงโทษก็ตาม ซึ่งคงจะเป็นความเสี่ยงแก่ภาคธุรกิจในทุกระดับให้ต้องเร่งปรับตัวต่อบริบทโลกให้ทัน
1ค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุด ณ ปี ค.ศ. 2025 ของไทย = 368 MtCO2eq และกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกที่ร้อยละ 40 จาก BAU ในปี ค.ศ. 2030 คิดเป็น 222 MtCO2eq โดยเป็นการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศร้อยละ 30 จาก BAU และได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกจากต่างประเทศ (Conditional NDC) ร้อยละ 10 จาก BAU,ที่มา: เป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (2nd Update NDC), กองประสานการจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
2 The Joint Statement of COP28UAE, https://prod-cd-cdn.azureedge.net/-/media/Project/COP28/files/COP28-Letter-JointStatement.pdf?rev=a8f770b65b5b40b1a5061eaddca52b54
3ปัจจุบันมีการจัดตั้งความร่วมมือที่เกี่ยวข้องกับการลดการปล่อยก๊าซมีเทนจากบริษัทผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซธรรมชาติ เช่น The Oil and Gas Climate Initiative (OGCI), The Aiming for Zero Methane Emissions Initiative, The Oil & Gas Methane Partnership 2.0, Global Methane Pledge, Methane Guiding Principles
4ทั่วโลกขาดเงินลงทุนเพื่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่ปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050 อย่างน้อยจำนวน 1.9-3.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี, ที่มา: Adaptation Fund, https://www.adaptation-fund.org/cop28/
5ได้รับเงินสนับสนุน 6.5 ล้านยูโร จากแผนงานปกป้องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับสากล (IKI) โดยกระทรวงเศรษฐกิจและการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ (BMWK) สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี, ที่มา: องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน ประจำประเทศไทย (GIZ)
6ที่มา: องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
Scan QR Code
หมายเหตุ
รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น