Display mode (Doesn't show in master page preview)

6 กันยายน 2564

Econ Digest

ตลาดรถในไทย อาจ...หดเหลือ 7.5 แสนคัน ขึ้นกับโควิดยืดเยื้อหรือไม่?

คะแนนเฉลี่ย

การระบาดของโควิด19 รอบใหม่ซึ่งมีสายพันธุ์เดลตาเป็นภัยคุกคามหลัก ส่งผลให้จำนวนผู้ติดเชื้อในหลายประเทศรวมทั้งไทยพุ่งขึ้นอีกครั้ง และมีแนวโน้มว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระยะยาว ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงได้ปรับประมาณการทิศทางอุตสาหกรรมรถยนต์ไทยปี 64 ใหม่ โดยแบ่งเป็นกรณีดีและกรณีเลวร้าย  ในกรณีดี การแพร่ระบาดทั้งในและต่างประเทศโดยเฉพาะอาเซียน คลี่คลายสู่ระดับใกล้เคียงกับช่วงเดือน มิ.ย ได้ภายในไตรมาสที่ 3 คาดว่าปี 64 ยอดขายรถยนต์ในประเทศอาจมีจำนวน 750,000 คัน (-5.3%YoY)  ในขณะที่ปริมาณการส่งออกมีโอกาสทำได้ถึง 950,000 คัน (+29.0%YoY) โดยสามารถผลิตรถยนต์เป็นจำนวน 1,680,000 คัน (+17.5%YoY) ส่วนในกรณีเลวร้าย การแพร่ระบาดยืดเยื้อ ปริมาณผู้ติดเชื้อใหม่ในไทยและประเทศในอาเซียนลดลงไปสู่ระดับเดือน มิ.ย. ได้ในช่วงปลายปี  คาดว่าปี 64 ยอดขายรถยนต์อาจมีจำนวนเพียง 720,000 คัน (-9.0%YoY)  ปริมาณการส่งออกทำได้เพียง 890,000 คัน (+21.0%YoY) โดยสามารถผลิตรถยนต์เป็นจำนวนเพียง 1,600,000 คัน (+12.0%YoY) 

จากสถานการณ์โควิดที่แพร่ระบาดมากขึ้นในปัจจุบัน  ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมจึงเริ่มปรับตัว โดยใช้แนวทางการสต๊อกชิ้นส่วนเพิ่มขึ้น เพื่อให้สายพานการผลิตยังดำเนินต่อได้ และลดความเสี่ยงจากการปิดโรงงานที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าประเด็นสำคัญอีกด้านที่ควรต้องดำเนินการควบคู่กันคือ การร่วมมือกันเพื่อเร่งจำกัดวงของการแพร่ระบาดให้เร็วที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการเร่งตรวจหาเชื้อระหว่างมาตรการล็อกดาวน์ในกลุ่มโรงงานที่มีความเสี่ยงสูงของภาครัฐ ขณะที่ฝั่งของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม ก็จำเป็นต้องดำเนินมาตรการควบคุมดูแลการแพร่ระบาดในโรงงานอย่างเข้มข้น  โดยเฉพาะการแยกบุคคลที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงออกมาอย่างรวดเร็ว ส่วนในอนาคต มีโอกาสอย่างมากที่ค่ายรถและผู้ผลิตชิ้นส่วนจะนำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาใช้เพิ่มขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสต่างๆ รวมถึงลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ​

Scan QR Code


QR Code

หมายเหตุ

รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น

Econ Digest